การนิเทศแบบสนับสนุนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์ โควิด 19 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2

ผู้แต่ง

  • อารยา ช่ออังชัญ

คำสำคัญ:

การนิเทศแบบสนับสนุน, ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, สถานการณ์โควิด 19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  1. เพื่อประเมินสมรรถภาพในการนิเทศแบบสนับสนุนเพื่อยกระดับ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์โควิด 19 2. ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนิเทศแบบสนับสนุนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์โควิด 19 3. ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์โควิด 19 4. ประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารและครูที่มีต่อนิเทศแบบสนับสนุนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์โควิด 19 5. ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์โควิด 19  6.ประเมินผล  การเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์โควิด 19

          ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง  ประเภทการทดลองกึ่งทดลอง (Pre Experimental Design) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยแบบ One  Group Pretest Posttest Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ผู้บริหารจำนวน 7 คน  2) ครู 7 โรงเรียน 1 สาขา จำนวน 12 คน ในกลุ่มตะนาวศรี โดยใช้การสุ่มแบบอาสาสมัคร (volunteer sampling) 3) นักเรียนจำนวน 328 คน และ4) ผู้ปกครอง จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ 3) แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยและคณิตศาสตร์ 4) แบบสอบถามความพึง

พอใจเกี่ยวกับการนิเทศการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  5) คู่มือการนิเทศการสอน 6) แบบประเมินสมรรถภาพครู 7) แบบสัมภาษณ์ 8) แบบประเมินทักษะการนิเทศการสอน 9) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับการนิเทศการสอน 10) แบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณสถิติวิเคราะห์ โดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนที่เป็นคำถามมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

ผลการวิจัยพบว่า  ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศแบบสนับสนุนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง  ครูผู้รับการนิเทศมีสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง   นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครองพึงพอใจเกี่ยวกับการนิเทศแบบสนับสนุนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด

References

Board of Basic Education. (2017). Curriculum for early childhood education, 2017. Page 1. Bangkok : Printing House, National Agricultural Cooperative Association.

Chomphukham, W. (2016). Development of Educational Supervision Competencies to Become Professional Educational Supervisors. FEU Academic Review. 10(4), 161-174.

Namwan, P. (2018). The development of teaching supervision system in educational institutions. under the office Secondary Education Area Area 24. Journal of Graduate School Sakon Nakhon Rajabhat University. 15(69), 52-61.

Srisaard, B. (2011). Preliminary research. (9thed). Bangkok: Suweeriyasan Co., Ltd.

Tuereandee, W. (2013). Teaching supervision and coaching. Professional Development: Strategic Theory to Practice. Nakhon Pathom: Silpakorn University Printing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-22

How to Cite

ช่ออังชัญ อ. . (2023). การนิเทศแบบสนับสนุนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์ โควิด 19 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. Journal for Developing the Social and Community, 10(2), 259–274. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/263094