การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของร้านปิ้งย่างเกาหลี ในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน, ร้านอาหารปิ้งย่างเกาหลี, อำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของร้านปิ้งย่างเกาหลี และ(2)เพื่อวิเคราะห์แนวทางการบริหารต้นทุนของร้านปิ้งย่างเกาหลีในอำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการเก็บข้อมูลจากเจ้าของธุรกิจ และพนักงานโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างกับร้านอาหารปิ้งย่างเกาหลีในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 3 ร้าน ซึ่งมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนพบว่า โครงสร้างต้นทุนเกี่ยวกับร้านปิ้งย่าง เกาหลีในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการลงทุนเริ่มแรกเท่ากับ515,183 บาท มีรายได้เฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 3,487,426 บาท มีระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ยเท่ากับ 8 เดือน โดยต้นทุนราคาวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่สูงที่สุดของต้นทุนทั้งหมด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 79.20 และค่าใช้จ่ายในการผลิตมีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด คือ ร้อยละ3.64 โดยร้านอาหารปิ้งย่างเกาหลี มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่เหมาะสมในการลงทุน รวมไปถึงอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการจากการลงทุนเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 298 และมีอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนเฉลี่ยเท่ากับ 1.42 เท่าตามลำดับ
ผลการวิเคราะห์ SWOT Analysis พบว่าร้านอาหารปิ้งย่างเกาหลี ในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จุดแข็ง คือ สถานที่มีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นที่จอดรถหรือความสวยงามบรรยากาศรวมถึงรสชาติอาหาร จุดอ่อน คือ พนักงานยังไม่เพียงพอต่อการให้บริการ โอกาส คือ เศรษฐกิจช่วงเริ่มเปิดร้านจากโควิด-19 เป็นเศรษฐกิจที่ถูกเริ่มกระตุ้นการใช้จ่ายจากผู้คนสูง อุปสรรค คือ ร้านพบปัญหาทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น อากาศ หน้าฝนหนักร้านไม่สามารถเปิดให้บริการได้ และฤดูแมลงมีแมลงมาบินตอมไฟมากจนไม่สามารถนั่งรับประทานอาหารได้ โดยใช้ TOWS Matrix พบว่า กลยุทธ์เชิงรุก คือ ร้านปิ้งย่างเกาหลี ในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ต้องใช้จุดแข็งที่มีวัตถุดิบมากมายและอาหารสะอาดรสชาติดี ใช้กระตุ้นการรับรู้ด้วยการ โปรโมททางออนไลน์ที่กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ เข้าถึงการรับรู้ผ่านช่องทางนี้กลยุทธ์เชิงรับ คือ เมื่อวัตถุดิบราคาสูงมากขึ้นรวมไปถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ร้านปิ้งย่างเกาหลี ในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ต้องมองหาซัพพลายเออร์ที่สามารถให้ราคาและคุณภาพที่คุ้มค่าหรือดีกว่าเกินราคา มองหาวัตถุดิบทดแทน แทนการลดคุณภาพของวัตถุดิบลง เพื่อรักษาระดับราคาที่เหมาะสม
References
Boonprad, P. & Krommueang, A. (2015). The decision to use food truck service in Bangkok. Journal of Administration and Management , 7(1), 1-12.
Department of Commercial Economics. (2011). Trade Statistics and Economic Indicators of Thailand 2000. Bangkok : Department of Commercial Economics.
Natnua, J. (2021). Cost-benefit analysis of Japanese restaurants in Khon Kaen University. Khon Kaen : Khon Kaen University.
Sertsanit, C. (2013). Marketing Factors Influencing Choice of Restaurant Service in Muang District, Roi Et Province. Khon Kaen : Khon Kaen University.
Wattanaprinya, R. & Kongsawatkiat, K. (2013). The decision to choose the restaurant service of Consumers in Bangkok. Journal of Marketing. And Communication,1(2).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 การุณย์ บัวพันธ์, ธนภณ วิมูลอาจ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ