การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิค 5W1H
คำสำคัญ:
การอ่านจับใจความ, กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค 5W1Hบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิค 5W1H ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิค 5W1H และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้เทคนิค 5W1H กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 28 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านหนองโนอีดำ จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยโดยใช้แบบแผนกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผนบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความชนิดเลือกตอบจำนวน 20 ข้อ และแบความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ t - test (Dependent Sample)
ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค 5W1H ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.78/85.45 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความหลังเรียนโดยใช้เทคนิค 5W1H สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค 5W1H กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.53 , S.D. = 0.10)
References
Fuengfu, D. (2017). Development of a series of reading comprehension activities using the 5W1H technique to promote reading Thai language learning group of Prathom Suksa 6 students. Bangkok: Dhurakij Pundit University.
Kerdsomkan, T. (2012). A Study of Reading Comprehension, Importance and Attitude towards Thai Language. of Prathomsuksa 6 students receiving cooperative learning management using STAD technique. Nakhon Si Thammarat : Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.
Kalkhwao, C. (2016). Development of learning activities Collaborative model based on the STAD method for reading development. Comprehension of grade 2 students Maha Sarakham : Maha Sarakham Rajabhat University.
Kongtham, N.. (2013). The Development of Analytical Reading Competence Using STAD Techniques for Collaborative Learning Activities. Graduate School. Maha Sarakham : Rajabhat Maha Sarakham University.
Mansetthawit, S. (2002). Principles and methods for teaching Thai reading. (7th ed). Bangkok: Thai Wattana Panich.
Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum. 2551 B.E. Bangkok : Agricultural Cooperative Assembly of Thailand Limited.
Neelapong, S. (2006). Teaching documents for Thai language courses for communication 1. Phetchaburi : Phetchaburi Rajabhat University.
Paso, P. (2015). In developing the ability to read and think critically. with learning management STAD Technical Collaborative Group, Thai language learning subject group, grade 4 - 6. Mahasakham : Rajabhat Maha Sarakham University.
Rangsiyakul, P. (1998). Reading in English. Bangkok : Ramkhamhaeng University.
Suratako, K. (2016). The effect of using analytical thinking process with 5W1H technique and graphical layout on analytical reading ability. Subject group learning Thai language of Prathomsuksa 5 students. Journal of Education Thaksin University, 16(1), 51-59.
Suriyo, C. (2019). The development of analytical reading abilities of Prathom Suksa 6 students by using the 5W1H technique in conjunction with exercises. Group learning Thai language. Maha Sarakham : Maha Sarakham Rajabhat University.
Thitaree Kerdsomkan. (2012). A Study of Reading Comprehension, Importance and Attitude towards Thai Language. of Prathomsuksa 6 students receiving cooperative learning management using STAD technique. Nakhon Si Thammarat : Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.
Worakam, P. (2018). Educational research. (9th ed). Maha Sarakham : Taxila Printing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สิรินาถ เม่นเผือก, ประสพสุข ฤทธิเดช, ชัยวัฒน์ สุภควรกุล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ