การพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนสะกดคำด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
การอ่านและการเขียนสะกดคำ, การจัดการเรียนรู้, สมองเป็นฐาน, เกมการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนสะกดคำ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ร่วมกับเกมการศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 17คน โรงเรียนบ้านหวาย(หวายวิทยานุกูล) อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ระยะเวลาในการทดลอง 6สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านสะกดคำ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการเขียนสะกดคำ 4) แบบสังเกตพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 17 คน ที่ได้รับการสอนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา ได้ผลจากการทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านสะกดคำ จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ ผ่านเกณฑ์ประเมิน โดยได้คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 17 คน ที่ได้รับการสอนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเกมการศึกษา ได้ผลจากการทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสะกดคำ จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ ผ่านเกณฑ์ประเมิน โดยได้คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป
References
Chanphen, N. (2014). Principles of Thai language usage. Bangkok: Genesis Media Com.
Kantip, J. (2011). "The development of learning abilities in Spelling Writing Using Jigsaw 2 Technique with Educational Games for Prathom Suksa 1 Students ". Bangkok : Silpakorn University.
Khaemmanee, T. (2017). Science of teaching. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Kotosi, K. (2007). Development of learning management plans and spelling skill exercises. Group learning Thai language, grade 3. Mahasarakham : Mahasarakham University.
Lertwicha, P. (2007). Teaching Thai language requires understanding children's brains. Bangkok: Sala Daeng.
Ministry of Education. (2008). Core Curriculum of the Ministry of Basic Education B.E. 2008. Bangkok : Ministry of Education.
Sangchanpetch, P. (2007). The Development of Teaching Spelling Skill Enhancement Package. Thai words do not match the spelling standard. For students in grade 1. Uttaradit : Uttaradit Rajabhat University.
Sitthichot, R. (2009). The Development of a Thai Language Learning Plan on Reading and Spelling According to the Spelling Scale of Grade 1 by Activities Conforming to the Brain Development and Learning (BBL) Principles. . Mahasarakham : Mahasarakham University.
Soonthornroj, W. (2008). Innovation based on the concept of Backward Design. Mahasarakham: Mahasarakham University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สิริกร หอมกระโทก, กัญญาวดี แสงงาม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ