รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1

Authors

  • Suchat Wangsothorn มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • Chayakan Ruangsuwan Rajabhat Maha Sarakham university
  • Chumnian Poollaharn Rajabhat Maha Sarakham university

Keywords:

Teacher Development Model, Learning Management, Academic Achievement

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบหลักและตัวบ่งชี้ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ในการพัฒนาครู 3)  เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาครู และ 4)  เพื่อศึกษาประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ที่พัฒนาขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบหลัก ตัวบ่งชี้ ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ ระยะที่ 3 สร้างรูปแบบการพัฒนาครู และระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบการพัฒนาครู โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน กลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มศึกษานิเทศก์ กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มครูวิชาการ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์องคประกอบเชิงสำรวจ

           ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบหลักและตัวบ่งชี้การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 27 ตัวบ่งชี้  2) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับมาก ค่าดัชนีของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยรวมมีค่า PNImodified อยู่ระหว่าง 280.26-0.32 เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านการสร้างระบบพี่เลี้ยง (PNImodified = 0.32) ลำดับที่ 2 ด้านการฝึกอบรม (PNImodified = 0.28) และ ลำดับที่ 3 คือ ด้านการนิเทศแบบคลินิก (PNImodified = 0.26) 3) การยกร่างรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  พบว่า มีองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กิจกรรมการพัฒนา และ 4) การประเมินผลและวัดผล การประเมินคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการพัฒนาครู และเอกสารประกอบการพัฒนามีความสอดคล้อง ความเหมาะสมและความเป็นได้อยู่ ในระดับมากถึงมากที่สุด และ 4) ครูที่ได้รับการพัฒนาสามารถจัดการเรียนการรู้ได้อยู่ในระดับดี โดยการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครูที่ได้รับการพัฒนา โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า  ครูสามารถจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ในระดับดีมาก

References

Abdulghani, B. A. (2004). An Inquiry Into the Effects of Cooperative Learning on Critical Thinking and Achievement in the Arabic Language by Female High School Students in the United Arab Emirates, Dissertation Abstracts International. 64(12) : 4331 - A.

Chaichakaj, W. (2017). Teacher Development Strategies for Teaching Critical Thinking in Secondary Schools Secondary Education Service Area Office, Region 8. Bangkok: Chulalongkorn University.

Kendricks, Kimberly D.; Nedunuri, K. V.; Arment, Anthony R. (2013). Minority Student Perceptions of the Impact of Mentoring to Enhance Academic Performance in STEM Disciplines. Journal of STEM Education: Innovations and Research, 14(2):38-46.

Krejcie & Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.

Maneeruang, M. et al. (2016). Development model for good teachers, good teachers of basic education institutions. Journal of MCU Peace studies, 4(2), 260-278.

Nernthong, S. (2015). Teacher Development Strategies in Teaching Thinking Critical in Secondary Schools. Secondary Education Service Area Office 8. Bangkok : Chulalongkorn University.

Office of the Secretariat of the Council of Education. (2018). Teacher Competencies and Guidelines for Teacher Development in a Changing Society. Bangkok: Ministry of Education.

Samaya, M. (2011). Teacher development in learning management emphasizing students' thinking process skills. Ban Sam Khua School Under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area. Journal of Graduate School Sakon Nakhon Rajabhat University, 9 (39): 65-75.

Sornnuchat, S. (2016). Teacher development model for learning management. Mathematics learning subject group in schools under the Office of Secondary Education Service Area 23. Journal of Srivanalai Vijai, 7(2): 23-38.

Watcharasok, T. (2018). A Supervision Model for Developing Learning Achievement in Basic Educational Institutions under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area 1. Journal of Education, Rajabhat Maha Sarakham University, 16(2), 168-279.

Yukalang, P. (2015). A model for developing English speaking competency of teachers with non-specialization qualifications. Elementary school in the Northeast. Buabandit journal of educational adminisitration, 15 (2015 special), 45-56 .

Downloads

Published

2023-04-21

How to Cite

Wangsothorn, S. ., Ruangsuwan, C. ., & Poollaharn, C. . (2023). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. Journal of Research and Development Institute Rajabhat Maha Sarakham University, 10(1), 355–376. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/261883

Issue

Section

Research Articles