ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • นพดล กันทะวงศ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ศิรชญาน์ การะเวก มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา, การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุ, การส่งเสริมคุณค่าการท่องเที่ยว, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสำคัญของกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา กิจกรรมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา และองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยว กิจกรรมการตลาดการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อองค์ประกอบการท่องเที่ยว และนำไปสู่การส่งเสริมคุณค่าการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) สร้างรูปแบบการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

        การวิจัยนี้เป็นการผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่วัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 9 วัด จำนวน 405 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบกำหนดโควต้า และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 28 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานวิจัยใช้การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้างโดยโปรแกรม AMOS

        ผลการวิจัยพบว่า (1) นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา กิจกรรมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา และองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในระดับมาก (2) ผลการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพบว่า โมเดลตามกรอบแนวคิดการวิจัยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องดังนี้ c2=137.09, df=113, c2 / df = 1.21, p-value = 0.06, ค่า GFI = 0.98, AGFI = 0.95, CFI = 1.00, NFI = 1.00 และ TLI = 1.00, SRMR = 0.020, RMSEA = 0.020 ตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการส่งเสริมคุณค่าการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนามากที่สุดคือกิจกรรมกาท่องเที่ยว รองลงมาคือกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยว และ องค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาตามลำดับ โดยตัวแปรทั้งสามสามารถอธิบายความแปรปรวนของการส่งเสริมคุณค่าการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา (R2) ได้เท่ากับ 0.80 (80.0%) (3) ผลการวิจัยได้นำเสนอรูปแบบการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

References

Angkura, R. (2001). Research report on the readiness of temples in Bangkok regarding the propagation of Buddhism through cultural tours. Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat Open University.

Boomsma, A. (1985). Nonconvergence, Improper Solutions, and Starting Values in LISREL Maximum Likelihood Estimation. Psychometrika, 50, 229-242.

Butthipsakul, T. (2015). Buddhist Tourism Behavior of Temple Tourists in Nan Province. Bangkok : Chulalongkorn University.

Chatchawanchanchanakit, P. et al. (2021). The influence of tourism components on the image of medical tourism in Thailand. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, 10(2) : 1-8.

Dungsrikaew, K. (1999). The development of temples as tourist attractions. TAT Review Magazine, 18 (4), October-December.

Harueansong, P. (2018). Satisfaction of Thai tourists traveling to pay homage to 9 temples in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Bangkok : Bangkok University.

Ketsomboon, N. (2012). Guidelines for the development of tourist attraction management to pay homage to the nine temples in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journal of MCU Social Science Review, 1(2) May-August 2012, 70-78.

Krueasirikun, K. (2013). Guidelines for the management and development of temple-type tourist attractions that have been successful. Flooding in Phra Nakhon Si Ayutthaya District, the historic city. Khon Kaen : Khon Kaen University.

Leo, C., Bennett, R. & Cierpicki, S., (2005). A Comparison of Australian and Singaporean Donsumer Decision-Making Styles. Journal of Customer Behavior , 4(1), pp.17-45

Naipinit, A. (2013). Study of the Religious Tourism Potential of Temples in Roi Kaen Sarasin Province Group. Panyapiwat Journal, 5(1), (July-December 2013): 31-40.

Nomnamsap, W. (2018). Strategic Plan for Sustainable Buddhist Tourism Development in Nakhon Pathom Province. Phayao : University of Phayao.

Noppakhun, P. (2019). Tourism Marketing Factors (7Ps) Affecting Foreign Divers' Decision to Travel to Scuba Diving in Thailand. Bangkok : Bangkok University.

Pelham, A. M. (2000). Market orientation and other potential influences on performance of small and medium-sized manufacturing firms. Journal of Small Business Management, 38(1), 48–57.

Phramahasuriya Masantia. (2015). Strategies for increasing marketing value for Buddhist tourism of royal temples in Rattanakosin Island. Bangkok: Siam University.

PhraMahasuthit Apakaro. (2011) Model and learning network of temple tourist attractions in Thailand. Phra Nakhon Si Ayutthay : Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Pitchphandecha, P. (2018). Hong Kong Island Religious Tourism Management Influencing Thai Tourists. Bangkok : Thammasat University.

Rangsikul, M. & Ratchakulpat, T. (2018). Building Competitive Advantage of Tourism Business among the Elderly in Thailand. Report from the conference. (Proceedings) The 13th Graduate Research Research Presentation Conference, Academic Year 2018, Rangsit University, Thursday 16 August 2018, 182-191.

Sangthiamchan, P. (2019). Guidelines for developing the potential of temples to become Buddhist tourist attractions. and Pilgrimage Routes: A Case Study of Temples in Maha Sarakham Province. Mahasarakham : Mahasarakham University.

Sin LYM, Tse ACA, Yau OHM, Lee JSY, Chow R, Lau LBY. (2000). Market orientation and business performance: an empirical study in Mainland China. J Global Mark 2000;14(3):5 – 29.

Subramanian, R., Gopalakrishna, P.(2001) “The market orientation–performance relationship in the context of a developing economy: an empirical analysis” Journal of Business Research,53.pp.1–13.

White, L. P. Chang, T. J. Jone, K. Y., & Hu, G. G. (2008) The Effects Of New Product Development Teams On New Product Quality: A TaiwaneseAmerican Comparison. International Journal of Organization Theory and Behavior, Vol. 11, p. 12.

Worapol, S. (2003). Temples: artistic attractions. TAT Review Magazine. 22 (3): 46-63.

.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-20

How to Cite

กันทะวงศ์ น., & การะเวก ศ. . (2023). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Journal for Developing the Social and Community, 10(1), 211–232. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/260585