การพัฒนาสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง
คำสำคัญ:
ระดับสมรรถนะชุมชน, พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน, ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ซึ่งมีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง (2) สร้างตัวแบบการพัฒนาสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง (3) ยืนยันตัวแบบ การพัฒนา สมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง มีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคเหนือตอนล่าง ระยะที่ 2 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อสร้างตัวแบบการพัฒนา สมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ในศตวรรษที่ 21 ของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ ตอนล่าง ระยะที่ 3 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อยืนยันตัวแบบการพัฒนาสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน ในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ ตอนล่าง ประกอบด้วย พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ พนักงาน มหาวิทยาลัย สายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏนคสวรรค์ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร และพนักงาน มหาวิทยาลัยสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 400 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้เกณฑ์ไม่น้อยกว่า 20 เท่าของตัวแปร (Hair, et al., 2006, p. 122) มีเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 เป็นผู้มีบทบาทและเกี่ยวข้องสำหรับการให้ข้อมูลสำคัญในการร่วมประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 17 คน ใช้วิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง (Structure Interviews) และกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 3 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในการยืนยันความเหมาะสมของตัวแบบการพัฒนาสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 5 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้วิธีการเชิงปริมาณสำหรับการวิเคราะห์และยืนยันตัวแบบการพัฒนา สมรรถนะ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัย ราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ ตอนล่าง ด้วยวิธีสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) โดยมีเครื่องมือเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire)
ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง อย่างมีนัยสำคัญคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership) ปัจจัยด้านการจัดการผลการปฏิบัติงาน (Performance Indicator Management) และปัจจัยด้านองค์การแห่งการเรียนรู้ (Organization Learning) ทั้งสามปัจจัยนี้ สามารถอธิบายความผันแปรของสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง โดยพยากรณ์ ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 75.30 (R2 = 0.753) และโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x2 = 147.689, df = 88, x2/df=1.678, CFI = 0.984, TLI = 0.978, RMSEA = 0.041, SRMR = 0.033) (2) ตัวแบบการพัฒนาสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน ในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง โดยสามารถสร้างเป็น โครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริมปัจจัยด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership) ปัจจัยการจัดการผลการปฏิบัติงาน (Performance Indicator Management) และปัจจัยด้านองค์การแห่งการเรียนรู้ (Organization Learning) ให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ ตอนล่าง ได้ทั้งหมด 5 โครงการหลัก 11 กิจกรรมย่อย ซึ่งโครงการ กิจกรรม ดังกล่าวนำไปสู่การสร้างเป็นตัวแบบการพัฒนาสมรรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัย ราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ต่อไป และ (3) การยืนยันความเหมาะสมของตัวแบบการพัฒนาสมรรถนะ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าความสอดคล้องระหว่างควอไทล์ น้อยกว่า 1.5 ทุกแนวทาง จึงแสดงถึงความสอดคล้องกันสูง และมีข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ข้อ ได้แก่ (3.1) ภาระงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ควรจะมีภารกิจในการช่วยบุคลากรสายวิชาการในการปฏิบัติหน้าที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (3.2) การทำวิจัยเชิงสถาบันของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ควรมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้นวัตกรรมเข้ามาปรุงวิธีการปฏิบัติงานและระบบกลไกลในแผนงาน (3.3) การทำผลงานเพื่อการขึ้นสู่ระดับตำแหน่งชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ ควรมีผลงานวิจัย ในเชิงสถาบันประกอบการพิจารณา (3.4) กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาภาวะผู้นำควรจะมีกิจกรรมส่งเสริม คุณธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
References
Donphanat, P. (2019). Competency of the support work group and effectiveness of Rajabhat Rajanagarindra University. Journal of Rajanagarindra, 16(35), 75–86.
Eisner, E. (1976). Education connoisseurship and criticism: Their form and function in education evaluation. Journal of Aesthetic Education, 10 (3/4), 135.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). Pearson : New York.
Kheawdee, L., Robchanachai Poolsuk, P. & Prapassorn, P. (2019). Model of capacity building. Performance of support personnel in the Lower Northern Rajabhat University. The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal, 25(4), 138–150.
Lortrakul, A. (2017). Developing the competency of government university employees. Journal of MCU Social Science Review, 6(1), 183–195.
Naiyapat, O. (2015). Development of a system for evaluating the performance of Faculty of Education personnel. Srinakharinwirot University (SWU) using individual key indicators. Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences), 7(14), 182-197.
Sathonghuam, P. (2017). Self-development of university employees in academic support, Silpakorn University. Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Rajabhat University.
Srisa-at, S. (2016). Model for developing support competencies of Maha Sarakham Rajabhat University. Maha Sarakham : Maha Sarakham Rajabhat University.
Wongphantha, B. (2017). Guidelines for developing support personnel. and research results of. Journal of Information, 16(2), 115-121.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ณัฐพล น้อยเอี่ยม, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร, สัญญา เคณาภูมิ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ