ทุนทางสังคมกับมิติของการพัฒนา
คำสำคัญ:
ทุนทางสังคม, การพัฒนาชุมชน, มิติของการพัฒนาบทคัดย่อ
ทุนทางสังคมเป็นแนวคิดที่ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในยุคหลังความทันสมัย โดยที่การพัฒนาในระยะที่ผ่านมานั้นได้สร้างความเจริญในแง่ของเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและระบบตลาด แต่ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างผลกระทบให้กับเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมของประเทศขนาดเล็ก ซึ่งส่งผลต่อการรูปแบบในการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ก้าวตามการพัฒนาไม่ทัน ทำให้ในยุคหลังการพัฒนาพัฒนาได้มีการนำแนวคิดทางสังคมมาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา และหนึ่งในแนวคิดนั้นก็คือแนวคิดทุนทางสังคม
ทุนทางสังคม คือ รูปแบบของความสัมพันธ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี การสร้างมิตรภาพ การปฏิสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของปัจเจกบุคคลและก่อเกิดเป็นกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ซึ่งทุนทางสังคม หมายถึง ความไว้วางใจเป็นกลไกที่ทำให้เกิดเครือข่ายทางสังคม โดยเชื่อมโยงเข้ากับการเป็นสมาชิกในเครือข่ายเชิงสถาบัน ซึ่งภายในจะประกอบไปด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ และ บรรทัดฐานของการแลกเปลี่ยนทางสังคม กล่าวคือ เครือข่ายทางสังคมที่เข้มเข้ม และนำไปสู่การเชื่อมโยงไปสู่แนวคิดอื่น เช่น แนวคิดทุนทางวัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนอาจเรียกได้ว่าเป็นเศรษฐกิจวัฒนธรรม เพราะโดย ส่วนมากแล้ว กิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชนมักอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรม วัฒนธรรมชุมชน หรือวัฒนธรรมพื้นบ้านไทย เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจมักมิได้ แยกออกไปจากวัฒนธรรม โดยเฉพาะเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านไทย ซึ่งถ้าจะมองทุนทางสังคมในมิติของการพัฒนาก็ต้องอธิบายว่าทุนทางสังคมมีพื้นฐานมาจากแนวคิดเรื่องทุน ที่เป็นคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่ครอบคลุมทรัพยากรธรรมชาติ ความสัมพันธ์ทางสังคม ตั้งแต่ครอบครัวขยายไปสู่กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพและกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชนและสังคม ตลอดจนการสามารถระดมทุนได้ในทางเศรษฐกิจโดยผ่านมิติของกลุ่มและเครือข่าย ความไว้วางใจและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และกิจกรรมและความร่วมมือ
References
Coleman, J. S. (2000). Social capital in the creation of human capital, LESSER, ERICL, Knowledge and social capital. Boston: Butterworth Heinemann.
Hanifan, L. J. (1920). Cited in Woolcock, M. and Narayan, D. Social Capital: Implications for Development Theory, Research, and Policy. World Bank Research Obserer, 15 (2) : 225-249.
Havanon, N. and Rattanarotsakul, P. (2005). Research results on strengthening social capital for strong communities. Bangkok: Office of the National Economic and Social Committee.
Havanon, N. and Rattanarotsakul, P. (2007). Foundational theory on community strength. Bangkok: Thailand Research Fund.
Natsupa, C. (2003). Foreword by the head of the community economic research project. In Suwit Teerasasawat, (Editor). Economic History of Isan Village Community. Bangkok : Creative Publishing.
Prompakping, B. (2013). Concepts and theories of development: from material wealth to national well-being. Khon Kaen : Khon Kaen University Printing House.
Putnam, R. (2000). Bowling alone : The collapse and revival of American Community. New York : Simon and Schuster.
Romratanaphan, W. (2005). Social Capital. Bangkok : Duan October Printing House.
Rostow, W. W. (1960). The stages of economic growth: A non-communist Manifesto. Cambridge : Cambridge University Press.
Ruangudom, N. (2011). The relationship between self-reliance and social capital of the Khlong Lat Mayom Floating Market Community, Bang Ramat Subdistrict, Taling Chan District, Bangkok. Nakhon Pathom : Silpakorn University.
Soonthornmeesathien, N. (2009). Social Capital and Community Enterprise Management: A Case Study of Bang Son Sub-district Community Enterprise, Hua Non Village, Bang Son Sub-district, Pathio District, Chumphon Province. Bangkok: Thammasat University.
Srisuphan, P. (2004). Social capital discourse: concept formation and action process. in the Thai development context (1997 - 2003). Bangkok: Chulalongkorn University.
Wasi, P. (1998). National strategy. for economic strength Society and morality. Bangkok: Mo Ban Publishing House.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วรพจน์ พรหมจักร, ณมน ธนินธญางกูร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ