คุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมที่เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลของเกษตรกร 2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจของเกษตรกร 3) ปัจจัยที่เกษตรกรได้รับการสนับสนุนจากการเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ 4) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ 5) คุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม และ 6) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยที่เกษตรกรได้รับการสนับสนุนจากการเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่กับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมที่เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมที่เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จำนวน 190 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 127 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูลสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด และสถิติอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 63.8 อายุเฉลี่ย 59.17 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 62.2 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.96 คน ประสบการณ์ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเฉลี่ย 11.17 ปี การเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร 1 กลุ่ม ร้อยละ 48.8 และระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมเฉลี่ย 2.25 ปี 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเฉลี่ย 15.24 ไร่ ลักษณะการถือครองที่ดินในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเป็นของตนเอง ร้อยละ 73.2 รายได้จากการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเฉลี่ย 261,251.97 บาท/ไร่ รายจ่ายเฉลี่ย 90,282.68 บาท/ปี จำนวนแรงงานเฉลี่ย 2.5 คน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน 1 แหล่ง ร้อยละ 97.6 และช่องทางการจำหน่ายมะพร้าวน้ำหอม 1 ช่องทาง ร้อยละ 92.9 3)เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม 4 เรื่อง ได้แก่ การปลูกและวิธีการดูแลรักษามะพร้าวน้ำหอม การลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต การปฏิบัติทางการ เกษตรที่ดี (GAP) และการทำแผนผลิตรายบุคคล (IFPP) ร้อยละ 96.9 เกษตรกรได้รับปัจจัยการผลิตทางการเกษตรในด้านการสนับสนุนปุ๋ยเคมี ร้อยละ 90.6 และได้รับการสนับสนุนด้านการตลาดโดยจำหน่ายงานแสดงสินค้า ร้อยละ 2.4 4) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 85.8 5) เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตเฉลี่ยสูงสุดด้านความสัมพันธ์ทางสังคม รองลงมา คือด้านการทำงาน ด้านการพัฒนาตนเอง และด้านเศรษฐกิจ ( = 2.74, = 2.52, = 2.45 และ = 2.18 ตามลำดับ) 6) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม ลักษณะการถือครองที่ดิน รายได้ รายจ่าย และ ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
Damnoen Saduak District Agriculture Office Ratchaburi Province. (2020). Farmer database of large-scale agricultural extension system project. Ratchaburi : Ministry of Agriculture and Cooperatives.
Ekakul, T. (2000). Research Methods in Behavioral Sciences and Social Sciences. Ubon Ratchathani : Ubon Ratchathani Rajabhat Institute.
Flanagan, J. C. 1978. A research approach to improving our quality of life. American Psychologist.
Janpan, P. (1997). Working with people. Bangkok. Ministry of Labor and Social Welfare : Political Science Association of Thammasat University under the Royal Patronage of His Majesty the King.
Kosol, K. (2012). Quality of Life of Rubber Farmers in the Recession Era. : A case study of Surat Thani Province and Nakhon Si Thammarat. Bangkok : National Institute of Development Administration.
LaLaeng, P. (2013). Quality of life education and factors influencing the quality of life of oil palm farmers in the southern region. Chiang Mai : Maejo University.
Nilarak, S. (2015) Quality of life of rubber farmers in Trat Province. Chonburi : Burapha University.
Thaikham, A. (2010). Quality of Life of Farmers: A Case Study of Farmers. Plant eucalyptus trees in the eastern region. Bangkok : Thammasat University.
Walton, Richard E. (1973) . Quality of Working Life: What is it?. Sloan Management Review.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ