Performance Efficiency Development of Policeman in Provincial Police Region 4
Keywords:
effectiveness, the performance of police officers, Region 4Abstract
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 (3) สร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 (4) เพื่อยืนยันรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 ระยะที่ 2 เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 ระยะที่ 3 เพื่อยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ ข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธร ภาค 4 จำนวน 420 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ไม่น้อยกว่า 20 เท่าของตัวแปร (Hair, et al., 2006,p.112) บุคคลที่มีบทบาทสำคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 จำนวน 15 คน และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 จำนวนทั้งสิ้น 5 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเชิงปริมาณ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.988 แบบบันทึกการสัมภาษณ์และแบบสอบถามยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 สามารถสรุปได้ว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.60) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงาน ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานและปัจจัยความผูกพันต่อองค์กร ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัย สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 โดยพยากรณ์ ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 75.00 (R2 = 0.750)และพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี ( = 168.263, = 101, /=1.666,CFI = 0.986,TLI = 0.982, RMSEA = 0.040, SRMR = 0.031) (3) รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 ประกอบด้วย ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงาน ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานและปัจจัยความผูกพันต่อองค์กร (4) การยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค4 พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าความสอดคล้องระหว่างควอไทล์ น้อยกว่า 1.5 ทุกแนวทาง แสดงว่าสอดคล้องมาก ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรทำการศึกษาตัวแปรด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในครั้งนี้
References
Chalermpolyothin, L. (2011). Factors influencing the work effectiveness of hotel staff in Pattaya. Phitsanulok: Naresuan University.
Chuaplakit, T. (2007). Police investigative officers' perspectives on factors affecting the success of police investigations. Investigation and arrest of offenders in criminal cases : a case study of the Metropolitan Police Headquarters National Police Agency. Bangkok : Thammasat University.
Eisner, E. (1976). Educational connoisseur and criticism: Their form and function in educational evaluation. Journal of Aesthetic Education, 39(2), 192-193.
Hair, J. F. Jr. Black, W. C., Babin, B. J. Anderson, R. E. and Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis. 6th ed. New Jersey: Prentice Hall.
Saengchan, T. (2013). The Influence of Quality of Life Affecting Work Productivity through Corporate engagement of insurance company employees. Pathum Thani : Pathum Thani University.
Saksriphayak, A. (2015). Factors related to the productivity of Thai employees in the service industry working in Singapore. Bangkok : Bangkok University.
Tairuekham, S. (2008). Research Methods for Humanities and Social Sciences. Kalasin: Prasan printing
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2022 Journal of Research and Development Institute Rajabhat Maha Sarakham University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Articles that are published are copyrighted by the authors of the articles