การศึกษารูปแบบการนิเทศโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. 3 ดาว เขตตรวจราชการที่ 5
คำสำคัญ:
รูปแบบการนิเทศ, โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. 3 ดาว, เขตตรวจราชการที่ 5บทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบการนิเทศโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. 3 ดาว เขตตรวจราชการที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการนิเทศโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.3 ดาว เขตตรวจราชการที่ 5 2) ศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. 3 ดาว เขตตรวจราชการที่ 5 3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารมีต่อรูปแบบการนิเทศโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.3 ดาว เขตตรวจราชการที่ 5 4) ศึกษารูปแบบการนิเทศโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. 3 ดาว เขตตรวจราชการที่ 5 กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียน ครู ผู้บริหารในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. 3 ดาว เขตตรวจราชการที่ 5 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 12 โรงเรียน ที่ผ่านการประเมินในรอบแรก จากการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.3 ดาว เขตตรวจราชการที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด รูปแบบการนิเทศโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ในปัจจุบัน พบว่าโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ที่ผ่านการประเมิน อยู่ในระดับ 3 ดาว ร้อยละ 100 มีรูปแบบการนิเทศในปัจจุบันการนิเทศภายใน ประกอบด้วยการนิเทศอย่างเป็นทางการ โดยการเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการสอน นิเทศ ติดตาม ห้องเรียน และการนิเทศอย่างไม่เป็นทางการโดยผู้อำนวยการโรงเรียนลงนิเทศเอง รูปแบบการนิเทศโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.เป็นแบบอย่าง พบว่า รูปแบบการนิเทศโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ส่วนใหญ่ ร้อยละ 95 สามารถเป็นแบบอย่างได้ ร้อยละ 5 ยังไม่สามารถเป็นแบบอย่างได้ รูปแบบการนิเทศโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ควรมีแนวทางการพัฒนา โดยควรนิเทศอย่างต่อเนื่องทำตามกระบวนการ ควรมีหลักฐานการนิเทศมีรูปเล่ม ฝึกนักเรียนเรื่องคุณธรรมทุกวัน บูรณาการทุกวิชา พัฒนาระบบการนิเทศคณะทำงาน จัดทำแบบรายงานการนิเทศอย่างเป็นรูปธรรม
References
Boonpirom, S. (2010). Academic administration. Bangkok: Book Point.
Boonswasdi, W. (1995). Principles of Educational Supervision. Bangkok: Art Graphic Printing.
Diskul, P. (2015). Moral school policy. [Online]. http://www.kroobannok.com/81394.
April 2019]
Jiradechakul, K. (2007). School Supervision Manual. Bangkok: Tharn Aksorn publisher co.ltd.
Kitdej, S. (2001). Relationship between supervisory performance of administrators and teaching efficiency in large primary schools in Nakhon Pathom Province. Bangkok: Silpakorn University.
Laowreandee, W. (2007). Supervision of Instruction. (5nded). Nakhon Pathom: Silpakorn University.
Ministry of Education. (2011). Guidelines for Supervision of Educational Institutions. Bangkok: Ministry of Education.
Nuengpho, P. (2010). Development of teaching and learning management that focuses on learners as a teacherin Ban Kho School with participative internal supervision process. Independent study: Khon Kaen University.
Puahengsub, S. (2003). Factors Associated with Teacher Satisfaction in Internal Supervision on Student-Centered Teaching Management in Private Catholic Schools in Surat Thani Diocese. Master of Thesis: Srinakharinwirot University.
Sangchai, K. (2009). Development of a model of supervision for teaching science teachers to develop potential of students with promising scientific talents. Master’s Thesis: Silpakorn University.
Srisaat, B. (2011). Preliminary research (9nded). Bangkok: Suree Wittayasan.
Tharasrisudti, P. (2007). Organization and administration of academic affairs. Bangkok: Ramkhamhaeng University.
Yuwasathirakun Foundation. (2015). Moral School Practice Manual. Bangkok: Sahamit Machinery Public Company Limited.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ