แนวทางเสริมสร้างการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กรุณา เชิดจิระพงษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • พิมพ์พจี บรรจงปรุ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การจัดการ, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

           การศึกษาแนวทางเสริมสร้างการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและสถานการณ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน  เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และเพื่อศึกษาแนวทางเสริมสร้างการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า

            การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโพนสูง ได้มีการวางแผนผลิตสินค้าชุมชน โดยการนำผลผลิตที่มีจำนวนมากในชุมชนและมีความโดดเด่นมาแปรรูป และนำมาทำเป็นกลุ่มอาชีพ จัดให้มีคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านโพนสูง มีการจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบงาน ประธานกลุ่มเป็นผู้นำที่มีภาวะผู้นำสูง มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการจูงใจสมาชิกกลุ่มให้มีส่วนร่วม และสามารถประสานกับหน่วยงานภายนอกในการจัดหาทุนสนับสนุนกลุ่ม ทุกกลุ่มต้องมีบัญชีคุมรายรับ รายจ่าย มีหลักฐานการจ่ายเพื่อความถูกต้อง และต้องรายงานในที่ประชุมประจำเดือน

            ปัญหาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโพนสูงยังไม่มีการจัดทำแผนการพัฒนากลุ่มอย่างเป็นทางการ กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ยังไม่ได้กำหนดโครงสร้างการบริหาร อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร การจัดการกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ยังไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบที่มีกฎ กติกาอย่างชัดเจน และขาดการควบคุมผลผลิตและต้นทุน

            แนวทางเสริมสร้างการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  1) ควรมีแผนพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และสร้างความตระหนักของการพัฒนาตามแผนที่กำหนดร่วมกัน 2) ผู้นำกลุ่ม มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความเสียสละ และมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนวิสาหกิจของชุมชน 3) หน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาให้การสนับสนุนกิจกรรมเสริมสร้างวิสาหกิจชุมชนอย่างจริงจัง 4) มีศูนย์เรียนรู้ของชุมชนทำให้เกิดการพัฒนา สะสมและถ่ายทอดองค์ความรู้

References

References

Community Enterprise Promotion Division, Department of Agricultural Extension. (2017). Nakhon Ratchasima Provincial Community Enterprise Information. Bangkok : Community Enterprise Registration and Information Group, Department of Agricultural Extension.

Community Enterprise Promotion Division, Department of Agricultural Extension. (2018). Intent of Community Enterprise Promotion Act 2005. [Online] https://smce.doae.go.th/faq/show.php?faq_id=11 [27 April 2018].

Community Enterprise Promotion Division, Department of Agricultural Extension. (2018). Intent of Community Enterprise Promotion Act 2005. [Online] https://smce.doae.go.th/faq/show.php?faq_id=96 [27 April 2018].

Louis Allan, (1973). Successful Sport Management. United Sates: Michie

Office of the Secretariat of the Community Enterprise Promotion Board, Department of Agricultural Extension. (2013). Removing lessons from outstanding community enterprises. Bangkok: Office of the Secretariat of the Community Enterprise Promotion Board.

Pornnapha Rakrab, Ploynapha Khamwittayachotiphan, and Jarita Hinthao. (2015). “The development of community enterprise gaba rice Nongbuasang group, Sakon Nakhon province”. Journal of Liberal Arts and Management Science Kasetsart University. 2(1) : 1-24.

Pornphan Khummun. (2007). Factors Affecting Success of Local Weaving Group: A Case Study of Nam Sai Tai Farming Maid Group, Chai Chumphon Sub-district, Laplae District, Uttaradit Province. Master of Arts Thesis (Local Research and Development) : Uttaradit Rajabhat University.

Pornsiri Kongnuan. (2009). “Research and development of community enterprise management for self-reliance and conducive to solving poverty in an integrated way - study of processed food products, Phra Samut Chedi District, Samut Prakan Province”. Thonburi Rajabhat Research Journal. 16 (1) : 40-53.

Sanya kenaphoom. (2015). “The Approach for Developing the Effectiveness of the Small and Miro of Community Enterprise (SMCE) in Maha Sara Kham Province”. Phrae Wa Kalasin Journal of Kalasin Rajabhat University. 2 (3) : 68-85.

Stuart Crainer. (2008). Key Management idea: Combining the best of modern management concepts. Translated by Chatjanan Thamchinda. Bangkok: SE-EDUCATION.

Sukanya Duanguppama. (2014). “The Development of Good Management Practices of the Community Enterprises in Kalasin Province”. Journal of Community Development and Life Quality. 2 (2) : 133-139.

Thanan Tangrujikun, Russamon kumsri, Phafan Rattana, and Irine Sakulsak. (2016). Management Potential of Community Enterprise Nameunsri Cloth Weaving Group, Trang Province. The 7th National and International Hat Yai Academic Conference on June 23, 2016 at Hat Yai University. Songkhla: Hat Yai University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-15

How to Cite

เชิดจิระพงษ์ ก., & บรรจงปรุ พ. (2020). แนวทางเสริมสร้างการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. Journal for Developing the Social and Community, 7(2), 473–492. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/247137