ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์, ความสามารถในการแก้ปัญหาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภายหลังการทดลองระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานกับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภายหลังการทดลองระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานกับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 2 ห้อง จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 77 คน ซึ่งได้มาแบบสุมอยางงาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างโลก ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 มีค่ามีอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.21-0.97 ค่าความยากง่ายรายข้ออยู่ระหว่าง 0.2-0.76 (3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 มีค่ามีอำนาจจำแนก รายข้อระหว่าง 0.21-0.79 มีค่าความยากง่ายรายข้อระหว่าง 0.22-0.77 ทั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีความสามารถในการแก้ปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
References
References
Anchali Thongaime (2018). “PROJECT-BASED LEARNING FOR DEVELOPING STUDENT IN THE 21st CENTURY”. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 8 (3): 185-199. [In Thai].
Choosri Wongratana and Ong-art Naiyapatana. (2008). Experimental research design and statistics: basic concepts and methods. Bangkok: Chulalongkorn University. [In Thai].
Howard (2018). “Twenty-First Century Learning as a Radical Re-Thinking of Education in the Service of Life”. Education Science Sydney, 8 (189): 2018
Lutfee Dawloh (2016). Effect of Project-Based Learning on Biology Achievement, Scientific Process Skills, and Attitude towards Science of Grade 11 Students. Thesis of Master of Education in Teaching Science and Mathematics Prince of Songkla University. [In Thai].
Maythawee Soranet (2017). “PROJECT-BASED LEARNING MANAGEMENT TO DEVELOP COMPUTER LEARNING ACHIEVEMENT AND PROJECT WORK ABILITIES FOR MATTHAYOMSUKSA III STUDENTS”. Journal of Education and Social Development, 13 (1): July - December 2017. [In Thai].
OECD. (2012). PISA 2012 Results in Focus. (2016, November 1). Retrieved from.
Pellengrio and Hilton (2009). Education for Life and Work: Developing Transferable Knowledge and Skills in the 21st Century. The National Academies Press. Washington.
Pimpan Dachakupt and Payao Yindeesuk (2016). Teaching children to do project work: teach teachers to do operational research in the classroom. Bangkok: Chulalongkorn University. [In Thai].
Rosnapa Rasu (2016). The Development of Instructional Package by Using Project-Based Learning on Biomolecules for Mathayomsuksa 4 Students. Master of Education Independent Study (Educational Management): Naresuan University. [In Thai].
Supamas Tientong (2010). The Development of Problem Solving Abilities of Fifth Grade Student Taught by Problem-based Learning Approach. Master's thesis (Curriculum and Supervision): Silpakorn University. [In Thai].
Tamba, Motlan, and Turnip (2017). “The Effect of Project-Based Learning Model for Students’ Creative Thinking Skills and Problem Solving”. IOSR Journal of Research & Method in Education, 7 (5): September–October, p 67-70.
Trop, L., & Stage. (2002). Problems as possibilities: Problem-based learning for K-12 education. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development.
Wathna Soonthorndhai. (2004). Study statistics with SPSS: Research Tools Sector Analysis and Test analysis. Bangkok: June Publishing. [In Thai].
Wattana Makkasman. (1996). The development of a project-based instructional model for enhancing the self-esteem of kindergarteners. Master of Education Thesis (Early Childhood Education): Chulalongkorn University. [In Thai].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ