รูปแบบการบริหารโรงเรียนสะเต็มศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุรเดช น้อยจันทร์ นักศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหาร, สะเต็มศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนสะเต็มศึกษา สร้างรูปแบบการ และประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนสะเต็มศึกษา การวิจัยมี 3ขั้นตอน คือ
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนสะเต็มศึกษา โดยการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน และเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยง 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
ตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบของการบริหารโรงเรียนสะเต็มศึกษา โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ ร่างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสะเต็มศึกษา และเอกสารประกอบการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา
ตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนสะเต็มศึกษา เก็บข้อมูลจากผู้บริหารโรงเรียนสะเต็มศึกษา จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนสะเต็มศึกษา พบว่ามี 6 องค์ประกอบ 57 ตัวแปร ได้แก่ 1) การจัดการเรียนการสอน 14 ตัวแปร 2) การวางแผนยุทธศาสตร์ 12 ตัวแปร 3) การตรวจสอบและประเมินงาน 11 ตัวแปร 4) การกำหนดคุณภาพผู้เรียน 10 ตัวแปร 5) การปรับปรุงพัฒนางาน 6ตัวแปร 6) การจัดการทรัพยากร 4 ตัวแปร ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐาน และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 เนื้อหาประกอบด้วยองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโรงเรียนสะเต็มศึกษา และกระบวนการบริหารโรงเรียนสะเต็มศึกษา และส่วนที่ 3 เงื่อนไขสู่ความสำเร็จ ผลการตรวจสอบรูปแบบได้รับการยืนยันว่ารูปแบบมีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนสะเต็มศึกษา พบว่ามีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

References

References

Ampai Nongyao, Chonchakorn Worain, and Anucha Kanpong. (2017). Model of School Administration for Developing Students’ Learning Skill in the 21st Century. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 10 (1), 132-143.

Chamras Intalapaporn, Marut Patphol, Wichai Wongyai, and Srisamorn Pumsa-ard. (2015). “The study guidelines for learning management of the STEM Education for elementary students” Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8 (1): 62-74.

Comin,M.C. (2004). Continuous improvement in New York state school district: A case study. Development, and Retention of Teachers. [Online], http: //www.nber.org/papers/w17177. [20 April 2017].

Eisner, E. (1976). “Education connoisseurship and criticism: Their form and functions in. Educational evaluation,” Journal of Aesthetic Education. 192-193.

Hair, J., et al. (2010). Multivariate data analysis. 7th edition. Upper saddle River, New Jersey: Pearson Education International

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.

Nittaya Phuphabang. (2016). THE USE OF A STEM ACTIVITY ON BIOPLASTICS FROM CASSAVA TO DEVELOP INTEGRATED SCIENCE PROCESS SKILLS FOR MATHAYOMSUKSA 2 STUDENTS. Master of Science Thesis (Chemistry Education): Burapha University.

Niwat Nakawech. (2011) Development of a Model for Lab School Administration. EAU Heritage Journal Social Science and Humanities, 1 (2), 77-87.

Nongluk Ruenthong. (2007). The Model of School Administration Effectiveness. Doctor of Philosophy (Educational Administration): Silpakorn University.

Nutnapha Ratniyom (2015). A STUDY OF CONDITIONS, PROBLEMS AND READINESSES OF STEM INSTRUCTIONAL MANAGEMENT AT THE ELEMENTARY SCHOOL LEVEL IN BANGKOK METROPOLITAN. Bangkok: Chulalongkorn University.

Paravee Sukrojana, Samran Meejang, Vithaya Jansila, and Sombat Nopparat (2013). “The Model of Change Management for Private Schools to Excellence” JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 15 (4): 76-84.

Preeyaporn Wonganutrohd. (2001). Psychology of Personnel Management. Bangkok: fine print

Quang, L. T., Hoang, L. H., Chaun, V. D., Nam, N. H., Anh, N. T., & Nhung, V. T. (2015). Integrated Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) education through active experience of designing technical toys in vietnamese schools. doi: 10.9734/BJESBS/2015/19429.

Rawan Thilanan. (2015). EFFECT OF LEARNING STEM EDUCATION PROJECT APPROACH ON THE ACHIEVEMENT AND THE SCIENTIFIC CREATIVE THINKING SKILL OF MATHAYOMSUKSA 6 STUDENTS. Master of Science Thesis (Science Education Graduate School: Nakhon Sawan Rajabhat University.

Rekha Srivichai. (2012). AN ADMINISTRATIVE MODEL FOR AN EFFECTIVE EARLY CHILDHOOD PRIVATE SCHOOL IN NONTHABURI PROVINCE. Doctor of Education Thesis (Educational Administration): Sripatum University.

Somsri Nanjatee and Watcharee Chuchart. (2017). “A Model of the 21st Century Desired Characteristics For student Quality Development” SWU educational administration journal. 14 (27): 10-19.

Suriya Howhan, Thatchai Chittranan, and Weerapon Sarabun (2016). “The Administration Model Towards Excellence of School Under the secondary Education Service Area office” Education Journal Mahasarakham University, 10 (4): 133-164.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-15

How to Cite

น้อยจันทร์ ส. . . (2020). รูปแบบการบริหารโรงเรียนสะเต็มศึกษา. Journal for Developing the Social and Community, 7(2), 381–400. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/243569