สภาพการและแนวทางการพัฒนาการจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26

ผู้แต่ง

  • สุวิทย์ อาจวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สมเจตน์ ภูศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ปองภพ ภูจอมจิตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สภาพ, แนวทางการพัฒนา, การจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 307 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 78 คน และครู จำนวน 229 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า

  1. ผลศึกษาสภาพการจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดถึงต่ำสุด ดังนี้ 1) การจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา 2) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ 3) การมีส่วนร่วมและ 4) การพัฒนาครูและบุคลากร ตามลำดับ
  2. แนวทางการจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ประกอบด้วย 1) สถานศึกษาควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากรได้พัฒนาด้านการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทการจัดการศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 2) ควรปรับระบบใหม่ให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในโครงการหรือกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน 3) ควรมีการบริหารจัดการโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในการตัดสินใจ การมีประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนการประเมินผลการดำเนินงานร่วมกันกับสถานศึกษา และ 4) ควรมีการจัดทำแผนหรือโครงการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องและมีการประเมินอย่างเป็นระบบ

 

 

References

Chatakan, W. (2008). Management Techniques for Professional Education Administrators. Bangkok: Chulalongkorn University.

Duangkaew, R. (2016). Educational quality development in the collection of policies, plans, and educational quality development. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Education Council Secretariat. (2009). Problem conditions and solutions for teaching and learning management that affect quality development affecting learner quality development at the basic education level. Bangkok: V.T.C.Communication.

Education Council Secretariat. (2011). Second Decade Education Reform Proposal (2009-2018). Bangkok: Prik Wan Graphic Co., Ltd.

Kangpeng, S and Choosorn, P. (2014). Globalization Leadership. Khon Kaen: Nana Wittaya Archives.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. Vol. 30(3), P. 607–610.

Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum.2008. Bangkok: Chumphon Printing House Agricultural Cooperatives of Thailand. Ltd.

Ministry of Education. (2010). Ministerial Regulation on Criteria System and Educational Quality Assurance 2010. Bangkok: Siam Sport Syndicate.

Namsiri, S. (2009). Developing academic work with the principle of integration in small schools: Participative Action Research. Khon Kaen: Khon Kaen University.

Office of the Basic Education Commission. (2018). Guidelines for quality assessment according to early childhood education standards Basic education level and basic education level, special education center. Bangkok: Bureau of Educational Standards Office of the Basic Education Commission.

Phoojomjit, P. (2012). Development of service-oriented leadership indicators of basic education administrators. Master’s Thesis: Maha Sarakham: Maha Sarakham Rajabhat University.

Polkul, K. (2017). Development of educational quality management model for small schools Under the Office of Buriram Primary Education Area 1 by applying the philosophy of sufficiency economy. Master’s thesis: Maha Sarakham Rajabhat University.

Pornrungroj, C. (2012). Transcending the Limits to the Millennium of Quality. Bangkok: Chino Publishing and Packaging.

Siriphan, A. (2017). Development of Educational Quality Management Models for Operational Excellence, Faculty of Industrial Technology Rajabhat University. Journal of Industrial Education King Mongkut, North Bangkok. Vol. 8(2) July – December 2017.

Teeasana, S. (2014). New Quality Management Techniques: Concepts and Principles for Educational Quality Management. Maha Sarakham: Maha Sarakham Rajabhat University.

Wesarat, P. (2011). Principles of Educational Management. Bangkok: Office of Education Reform.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-28

How to Cite

อาจวิชัย ส. ., ภูศรี ส. ., & ภูจอมจิตร ป. . (2021). สภาพการและแนวทางการพัฒนาการจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. Journal for Developing the Social and Community, 8(1), 347–364. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/242436