รูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยชุมชนในจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ,, การส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยชุมชน, Elderly’s Quality of life,, Quality of life promotion by Communityบทคัดย่อ
การวิจัยรูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยชุมชนในจังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่น และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยชุมชนในจังหวัดขอนแก่น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ ประชาชนในเขตจังหวัดขอนแก่น ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แล้วจึงวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่นประกอบด้วยปัจจัยด้านร่างการ (Body) ปัจจัยด้านจิตใจ (Mind) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Relationship) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (Environment) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับสังคม (Connection) ปัจจัยด้านเจตจำนงเสรี (Agency) และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economic) สามารถสร้างเป็นรูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยชุมชนในจังหวัดขอนแก่น “EMBRACE MODEL” ซึ่งประกอบไปด้วยแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยชุมชนที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่น
References
References
Department of Older Persons. (2018). Statistics of Thai Elderly. [Online] http://www.dop.go.th/download/knowledge/ th1533055363-125_1.pdf. [1 October 2018]. [In Thai]
Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2013). The situation of the Thai Elderly 2013. [Online] http://www.dop.go.th/download/knowledge/Knowledge _th_20160203150428_1.pdf. [1 October 2018]. [In Thai]
Khon Kaen Statistical Office (2018). The situation of the Thai Elderly 2018: Khon Kaen Province. [Online] http://khonkaen.nso.go.th/images/plan_cwt/older.pdf [2 October 2018]. [In Thai]
Knipscheer et al. (2001). “Institutionalization of demented elderly: The role of caregiver characteristics”. International journal of geriatric psychiatry. 16. 273-80. 10.1002/gps.331.abs.
Knodel et al. (2015). The Situation of Thailand's Older Population: An Update based on the 2014 Survey of Older Persons in Thailand. Help Age International.
National Statistical Office. (2014). The 2014 Survey of the Older Person in Thailand. Bangkok: Text and Journal Publication. [In Thai]
Pairat Decharind. (1984). Policy and Tactics of Community Participation Strategy: People Participation in Development. Bangkok: Saksopha Printing. [In Thai].
Sasipat Yodphet et al. (2009). Good models on the elderly care by family and community in rural areas in Thailand. Bangkok: Health Systems Research Institute (HSRI). [In Thai].
Wiersma, W. (1995). Research Methods in Education: An Introduction. America: A Simon and Schuster Company.
Yamane, Taro. (1973). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ