พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • ชาญชลักษณ์ เยี่ยมมิตร อาจารย์ประจำสาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ชิดชนก ศรีราช อาจารย์ประจำสาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ, การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และ (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 394 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกายมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบหลายทาง

            ผลการวิจัย (1) การออกกำลังกายที่เป็นการทำกิจวัตรประจำวัน พบว่า ส่วนใหญ่นิยมออกกำลังกายด้วยการเดินด้วยความเร็วในระดับปกติ คิดเป็นร้อยละ 92.89 รองลงมา คือ การทำความสะอาดภายในบ้าน การทำความสะอาดบริเวณภายนอกบ้าน การตกแต่งบริเวณภายนอกบ้าน และการบริหารร่างกาย คิดเป็นร้อยละ 90.36, 90.86, 86.04 และ 83.25 ตามลำดับ ส่วนการออกกำลังกายที่เป็นกิจจะลักษณะ พบว่า ส่วนใหญ่ออกกำลังกายด้วยการเดินเร็วมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 61.93 รองลงมาคือ กิจกรรมเข้าจังหวะ และการปั่นจักรยาน คิดเป็นร้อยละ 43.91 และ 42.13 ตามลำดับ (2) จำแนกตามเพศ พบว่า เพศหญิงมีการทำความสะอาดภายในและภายนอกบ้านมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศชายมีการตกแต่งบริเวณภายนอกบ้าน การเดินด้วยความเร็วในระดับปกติ การบริหารร่างกาย การเดินเร็ว กิจกรรมเข้าจังหวะ และปั่นจักรยานมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามอาชีพ พบว่า ทั้ง 5 อาชีพออกกำลังกายทั้ง 7 กิจกรรมไม่แตกต่างกันยกเว้นการทำความสะอาดภายในบ้าน และจำแนกตามโรคประจำตัว พบว่า ผู้มีโรคประจำตัวแต่ไม่มีผลต่อการออกกำลังกายมีการตกแต่งบริเวณภายนอกบ้านมากกว่าผู้มีโรคประจำตัวและมีผลต่อการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ไม่มีโรคประจำตัวมีการเดินเร็ว กิจกรรมเข้าจังหวะ และปั่นจักรยานมากกว่าผู้มีโรคประจำตัวและมีผลต่อการออกกกำลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน สำหรับการทำความสะอาดภายในบ้านที่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาชีพกับโรคประจำตัว พบว่า อาชีพข้าราชการบำนาญที่ไม่มีโรคประจำตัวมีการทำความสะอาดภายในบ้านมากกว่าผู้มีโรคประจำตัวและมีผลต่อการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และอาชีพธุรกิจส่วนตัวที่ไม่มีโรคประจำตัวมีการทำความสะอาดภายในบ้านมากกว่าผู้มีโรคประจำตัวแต่ไม่มีผลต่อการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคู่อื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน

References

References

Chanthaburi Provincial Statistical Office. (2017). Statistical Information of Chanthaburi. Chanthaburi: Statistical Office Chanthaburi Province.

Chollada Bootwicha. (2018). Factors Associated with Exercise Behaviors of Elderly in The Health and Environment Promotion Club, Sai Mai District, Bangkok Metropolitan. Bangkok: Master of Public Health Thesis: Krirk University.

Department of Provincial Administration. (2018). Statistical data of the number of the elderly in Thailand in 2018. [Online] http://www.dop.go.th/[1 March 2018].

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.

National Statistical Office. (2015). Physical activity of the population 2015. [Online] http://www.nso.go.th/[7 April 2019].

Rudeemas Jaidee. (2016). Factors associated with exercise behavior of the elderly in the elderly club, Public Health Center 61, Sai Mai District, Bangkok. Master of Public Health Thesis : Krirk University.

Songsak Phusi-on. (2013). Application of SPSS research data analysis. 6th edition. Mahasarakham: Taksila Printing.

Suphat Sukamonson. (2010). “Result size: practical significance in the research.”. Journal of Review Language, 25, 26-38.

The Office of Health Promotion Foundation. (2014). Exercise in the elderly. Krung Phet: Health Center 6, Department of Health, Ministry of Public Health.

The World Bank. (2016). Aging society in Thailand: identifies the real health needs of the poor elderly. [Online] https://www.worldbank.org/th/ [9 เมษายน 2562].

Vilai Kuptniratsaikul. (2000). “Exercise for the Elderly”. ASEAN J Rehabil Med, 10 (2), 44-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

How to Cite

เยี่ยมมิตร ช., & ศรีราช ช. (2020). พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จังหวัดจันทบุรี. Journal for Developing the Social and Community, 7(1), 513–534. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/234282