โครงการนำร่องธุรกิจที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ธุรกิจที่พัก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โปรแกรมนำร่องบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้คู่มือแนวทางปฏิบัติด้านธุรกิจที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการฝึกอบรมให้กับธุรกิจที่พักในจังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อนำเสนอรูปแบบการดำเนินการที่เหมาะสมต่อธุรกิจที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกับธุรกิจที่พักในจังหวัดอุบลราชธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ 1) โรงแรมจำนวน 219 แห่ง ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 30 แห่ง ที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ และ 2) ประชากรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมโรงแรมที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 1 แห่งเพื่อใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ข้อมูลการวิจัยเก็บจากการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) การดำเนินการธุรกิจโรงแรมให้สามารถได้รับมาตรฐานธุรกิจที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้น จะต้องมีรูปแบการดำเนินการที่เหมาะสม ประกอบด้วย การบริหารจัดการ การบริหารจัดการเงินทุน และการพัฒนาบุคลากร 2) ผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมโครงการส่งเสริมโรงแรมที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความเห็นว่ามีปัจจัยอยู่ 4 ประการด้วยกันที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาธุรกิจ คือ ปัจจัยที่ 1 นโยบายองค์กร โครงสร้างองค์กร และวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยที่ 2 บุคลากร ปัจจัยที่ 3 งบประมาณ และปัจจัยที่ 4 คือกฎหมาย ข้อบังคับ 3) ผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายที่มีความประสงค์เข้ารับเกณฑ์มาตรฐานที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อผ่านการอบรมโครงการส่งเสริมโรงแรมที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาแล้ว 2 เดือนมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาตนเองในระดับพฤติกรรมเพื่อเตรียมตัวเข้ารับเกณฑ์ อยู่ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 มีการวางแผน กระบวนการทำงาน ด้านที่ 2 ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน ด้านที่ 3 มีความคิดสร้างสรรค์ ด้านที่ 4 จัดสรรงานให้เหมาะกับ ความสามารถของลูกทีม และ ด้านที่ 5 รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
References
References
Chanyaphak Lalaeng et al (2015). Environmentally friendly business operations of hotel business that affect the satisfaction of tourists in Trang Province. Maejo University, Chumphon Campus.
Chutikarn Sriwiboon. (2014). Principles of human resource development management. Bangkok: Dr. Petch Publishing House.
Kannikar Chakesaengrat. (2010). Human Resource Management. Bangkok : Ramkhamhaeng University Press.
Ministry of Tourism and Sports. (2014). Summary of tourist situation in August 2014. Bangkok: Department of Tourism, Ministry of Tourism and Sports.
National Statistical Office. (2016). Summary of domestic tourism situation 2009-2011. [Online] http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries23.html. [1 August 2016].
Permsakul Leksansern. (2015). 7 factors for success in organizing training/seminars. [Online] http://www.trainingdesign.net/. [9 เมษายน 2561].
Piyada Wachirawongsakorna and Ussanee Timsungnern. (2015). “Assessment of Environmentally-Friendly Services of Hotels in the Lower Northern Part of Thailand”, Journal of Environmental Management, 11 (1) : 98 – 113.
Pornchai Jedaman. (2015). Sufficiency Economy : Dimensions and dynamics of sustainable human resource management in the new millennium. Mahasarakham: Khum printing.
Rattanaporn Boonnuch. (2012). Development and training affecting the employee’s efficiency : case study Provincial Electricity Authority, Area 1 (Central Region) Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Independent research, Faculty of Business Administration :Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
Sirapatsorn Wongthongdee. (2013). Human Resource Management. Bangkok: Printing House of Chulalongkorn University.
Supanee Saridvanich. (2010). Strategic Management. Bangkok : Thammasat University Printing House.
Suthinee Rurkkhum. (2014). Human resource development: principles and applications. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Tourism Authority of Thailand. (1998). Amazing Thailand 1998-1999. Bangkok: Tourism Authority of Thailand.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ