(Theory U)

Authors

  • วนิดา ผาระนัด อาจารย์ดร. สาขาวิชาฟิสิกส์คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Abstract

การจัดการศึกษาเพิ่ิื่อพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ต้องยึดหลักว่านักเรียนที่ีุ่กคนมี
ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาตาม
ธรรมชาติและเต็มศักยภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2543) การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับยุคที่
มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลานั้น จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รู้จักค้นหา ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม มี
ความแตกต่างจากปัญหาในอดีตมากขึ้น จนวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมที่เคยนำมาใช้แล้วประสบความสำเร็จ ไม่
สามารถนำมาใช้ได้อีก ชาร์เมอร์ (Scharmer. 2007) ได้เสนอทฤษฎีที่จะช่วยแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่
เขียนจากการสัมภาษณ์นักปฏิบัติที่มีชื่อชั้นนำของโลกกว่า 150 คน พบว่า มนุษย์ได้ใช้ประสบการณ์และความรู้
แบบเดิม ๆ มาแก้ปัญหา ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ความเชื่อและยังเป็นตัวปิดกั้นความคิด
ใหม่ ๆ เรียกสิ่งนี้ว่า ” จุดบอด “ ที่เป็นอุปนิสัยที่แสดงออกตามความเคยชิน แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบทันที่ใช้การ
ตอบสนองจากความเคยชิน ความรู้และประสบการณ์แบบเก่า ความรู้ที่นำมาใช้ก็มีลักษณะเป็นการหยิบฉวย
จดจำเป็นความรู้แบบลอกเลียนกันไปมา ถูกนำมาใช้โดยไม่ต้องคิดทำให้ปิดกั้นการรับรู้การพัฒนาความรู้จาก
ภายใน ที่เป็นจุดเกิดของจิตสำนึก และปัญญา ที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทางเลือกใหม่ ๆ ที่หลากหลาย ไม่ให้เจริญ
งอกงาม
ชาร์เมอร์ได้เสนอสมการขึ้นมาใหม่โดยยืดเส้นตรงของสมการโต้ตอบทันที่ให้ยาวขึ้นเพื่อให้มีพื้นที่
สำหรับระงับการใช้ความรู้แบบลอกเลยนไว้ที่เส้นสมการใหม่ซึ่งเอนตัวกลายเป็นรูปตัวยูช่วยในการชะลอระงับ
ปฏิกิริยาตอบโต้ทันทีทันใด ทำให้มีเวลาคิด พิจารณา ใคร่ครวญนานยิ่งขึ้นยิ่งเส้นสมการใหม่ยาวมากเท่าไรก็มี
พื้นที่สำหรับการคิดพิจารณา ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ มีสติสามารถมองหาทางเลือกอื่น ๆ ได้มากขึ้น ทางออก
ตามทฤษฎีตัวยูคือเปิดจิต (open mind) เปิดใจ (open heart) และเปิดเจตน์จำนง (open will) ซึ่งมี
รายละเอียดมากมายจะได้นำเสนอในส่วนถัดไป

References

เกรียงศักดิ์เจริญวงศ์ศักดิ์ . (2558). ” ทักษะการฟัง “ ทักษะสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม.

http://www.kriengsak.com/node/244>9 กรกฎาคม 2558.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). สร้างสรรค์นักคิด : คู่มือการจัดการศึกษา สำหรับผู้ที่มี
ความสามารถพิเศษด้านทักษะความคิดระดับสูง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Scharmer, C. O. (2007). Theory U : Leading form the future as it emerges. Cambridge,
Massachusetts.

Downloads

Published

2015-07-31

How to Cite

ผาระนัด ว. (2015). (Theory U). Journal of Research and Development Institute Rajabhat Maha Sarakham University, 2(2), 29–35. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/211701

Issue

Section

Research Articles