ผลกระทบของรายงานความยั่งยืนต่อผลการดำเนินงานขององค์กร สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน
คำสำคัญ:
รายงานความยั่งยืน, ผลการดำเนินงานขององค์กร, Dow Jones Sustainability Indexบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
(1) ศึกษาผลกระทบของรายงานความยั่งยืนที่มีต่อผลการดำเนินงานขององค์กร สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน
(2) เปรียบเทียบ ผลการดำเนินงานของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มว่ามีความแตกต่างกัน หรือไม่ และ
(3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วยรายได้สุทธิ ขนาดขององค์กรและโครงสร้างหนี้สินโดย ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานคืออัตราผลกำไรสุทธิต่อรายได้รวม อัตราผลต่อบแทนต่อสู้นทรัพย์รวม และอัตรา ผลต่อบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น การรายงานความยั่งยืนใช้ดัชนีชี้วัดโดย Dow Jones Sustainability Index กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่ใน Dow Jones Sustainability Index (DJSI) และกลุ่มบริษัทที่ไม่ได้อยู่ใน Dow Jones Sustainability Index (Non-DJSI) กลุ่มละ 50 บริษัท รวมทั้งสิ้น 100 บริษัท โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงิน รายงานประจำปีของปี 2557 เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ Student T - test วิเคราะห์การรายงานความยั่งยืนต่อผลการดำเนินงานโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย และการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อผลการดำเนินงาน โดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า อัตราผลกำไรสุทธิต่อรายได้รวม (Net Profit Margin) อัตราผลต่อบแทนต่อสู้นทรัพย์ (ROA) และอัตราผลต่อบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ของกลุ่ม DJSI และกลุ่ม Non-DJSI ไม่มีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความยั่งยืนไม่มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงาน และปัจจัยที่ศึกษามีเพียงปัจจัยเดี่ยวคือโครงสร้างหนี้สินมีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลการดำเนินงาน ส่วนรายได้สุทธิและขนาดขององค์กรไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่ม DJSI และNon-DJSI
References
บูรณภูพ สมเศรษฐี์ . (2554).ความสัมพันธ์ระหวางความรู้รับผิดชอบทางสังคมขององค์กรและขนาดของ องค์กรกับผลการดำเนินงานทางการเงิน. วิทยานิพันธบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .
บูรณภูพ สมเศรษฐี์ , ภิรายุ แสนบดุดา และมนวิกา ผดุงสิทธิ์ . (2556). ความสัมพันธ์ระหวางขนาดของ องค์กรความรู้รับผิดชอบทางสังคมและผลการดำเนินงานด้านการเงิน.
วารสารวิชาชีพบัญชี, 9 (24), 37-58. สิรินทร์ ศรีมงคลพิทักษ์ และมนวิภา ผดุงสิทธิ์ . (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลพนักงานตามความสมัครใจ. วารสารวิชาชีพบัญชี, 8 (21), 41-57.
Cheng, B., Loannou, L. and Serafeim, G. (2014). “Corporate social responsibility and access to finance”. Strategic Management Journal, 35 (1), 1-23.
Chiong, P. T. N. (2010). Examination Of Corporate Sustainability Disclosure Level And Its Impact On Financial Performance. Doctoral dissertation. University of Multimedia.
Craig, R. and Diga, J. (1998). Corporate Accounting Disclosure in ASEAN .Journal of International Financial Management and Accounting, 9 (3), 246-274.
Eccles, R. G., Loannou, L. and Serafeim, G. (2014).“The Impact of Corporate Sustainability on Organizational Processes and Performance”. Management Science, 60 (11), 28352857.
Etzion, D., Ferraro, F. (2010). The role of Analogy in the Institutionalization of Sustainability Reporting. Organization Science, 21 (5), 1092-1207.
Doupnik, T. andPerera, H. (2015). International Accounting.4th ed. Boston : McGraw-Hill.
Graham, Hubbard. (2009). Sustainable Business: OUTSIDE INSIGHTS BEYOND ACCOUNTING England: The Institute of Chartered Accountants in England and Wales.
GRI. (2016). What is sustainability reporting?. Retrieved April 4,2016, from https://www.globalreporting.org/information/sustainabilityreporting/Pages/default.a spx.
Lopez, M. V., Garcia, A. and Rodriguez, L. (2007). “Sustainable Development and Corporate Performance: A Study Based on the Dow Jones Sustainability ndex”.Journal of Business Ethics, 75, 285-300.
Makni, R., Francoeur, C., Bellavance, F. (2009). Causality between corporate social performance and financial performance: Evidence from Canadian firms. Journal of Business Ethics, 89 (3), 409-422.
Mullen, J. (1997). Performance-based corporate philanthropy: How" giving smart" can further corporate goals. Public Relations Quarterly, 42 (2), 42-48.
Murcia, F. D.R., Santos, A.D. (2010). Determinants of Corporate Voluntary Disclosure in Brazil. Retrieved May, 2016, from file:///C:/Users/Admin/Downloads/SSRNid1531767.pdf
PRICEWATERHOUSECOOPERS. (2013) Going beyond philanthropy?. Retrieved November 20, 2015, from https://www.pwc.com/.../pulse-check-on-sustainability.pdf.
ROBECOSAM.(2016). DJSI Family. Retrieved May, 2016, from http://www.sustainabilityindices.com/index-family-overview/djsi-family-overview/index.jsp.
Seleh, M., Zulkifli, N., Muhamad, R. (2011). Looking for Evidence of the Relationship Between Corporate Social Responsibility and Corporate Financial Performance in an Emerging Market .Asia-Pacific Journal of Business Administration. 3(2), 165-190.
Setyorini, C. T., Ishak, Z. (2012). Corporate social and environmental disclosure: A positive accounting theory view point. International Journal of Business and Social Science, 3(9), 152-164.
Suttipun, M., Stanton, P. (2012). Making or Not Making Environmental Disclosures in Thailand. International Journal of Business and Social Science, 3 (9), 73-81.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ