อิทธิพลของการพัฒนาจิตพฤติกรรมที่มีต่อจิตสาธารณะ การอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วีรชัย คําธร รองผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ผศ.ดร.ภักดี โพธิ์สิงห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. คณะรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

อิทธิพลของการพัฒนาจิตพฤติกรรมที่มีต่อจิตสาธารณะ, การอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏในกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรอธิบายของจิตสาธารณะการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏ 6 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร โดยตัวแปรอธิบายได้แก่ ปัจจัยสาเหตุสมทบจิตเดิม ปัจจัยเชิงเหตุสมทบด้าน
สถานการณ์และปัจจัยการจัดกระทำในโครงการพัฒนาเสริมสร้างจิตพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย
ราชภัฏ 6 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1.4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
แบบมาตรประมาณค่า จำนวน 13 ชุด ซึ่งแต่ละชุดมีค่าความเชื่อมั่น ระหวาง .56-.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ทำทั้งแบบรวม (Total) และแบบเป็นขั้น (Stepwise)
วิเคราะห์ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย ผลการวิจัย พบว่า
ประการที่ 1 จิตสาธารณะด้านความตั้งใจที่จะอนุรักษ์มรดกศิลปกรรม พบว่า มีตัวทำนายชุดที่ 1 คือทัศนคติต่อ
มรดกศิลปกรรม สุขภาพจิต มีน้ำหนักทำนาย (ß) .42,-.29 ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนายเป็น 21.6 ตัวทำนายชุดที่ 2 คือ
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ความเชื่อทางพุทธ มีน้ำหนักทำนาย (ß) .52, -.26 ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนายเป็น 25.8 ตัวทำนายชุด
ที่ 3 คือเหตุผลเชิงจริยธรรมลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนการรับรู้สภาวะสังคม (ประสบการณ์ ) มีน้ำหนักทำนาย (ß) .26,-.21,
.11 ตามลำดับ คาร้อยละการทำนายเป็น 11.7
ประการที่ 2 จิตสาธารณะด้านการถือเป็นหน้าที่ในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมพบว่า มีตัวทำนายชุดที่ 1 คือ
ทัศนคติต่อมรดกศิลปกรรม การเปิดรับสื่อมรดกศิลปกรรม สุขภาพจิต มีน้ำหนักทำนาย (ß) .48, .23 -.09 ตามลำดับ
ค่าร้อยละการทำนายเป็น 36.3 ตัวทำนายชุดที่ 2 คือแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์การเห็นแบบอย่างการรักษ์มรดกศิลปกรรม ความเชื่อ
ทางพุทธ มีน้ำหนักทำนาย (ß) .55, .16, -.10 ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนายเป็น 35.8 ตัวทำนายชุดที่ 3 คือเหตุผลเชิง
จริยธรรมการรับรู้สภาวะสังคม มีน้ำหนักทำนาย (ß) .26, .01 ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนายเป็น 6.8
ประการที่ 3 จิตสาธารณะด้านเคารพสิทธิผู้อื่นร่วมอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมพบว่ามีตัวทำนายชุดที่ 1 คือทัศนคติต่อ
มรดกศิลปกรรม การเปิดรับสื่อมรดกศิลปกรรม สุขภาพจิต มีน้ำหนักทำนาย (ß) .47, .25 -.17 ตามลำดับ ค่าร้อยละการ
ทำนายเป็น 36.5 ตัวทำนายชุดที่ 2 คือแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ความเชื่อทางพุทธ มีน้ำหนักทำนาย (ß) .58, -.13 ตามลำดับ ค่า
ร้อยละการทำนายเป็น 31.9 ตัวทำนายชุดที่ 3 คือเหตุผลเชิงจริยธรรมการรับรู้สภาวะสังคม มีน้ำหนักทำนาย (ß) .25, .09
ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนายเป็น 6.7
ประการที่ 4 การศึกษาตัวแปรที่อิทธิพลเส้นทางต่อจิตสาธารณะการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรม พบว่า แรงจงใจใฝ่
สัมฤทธิ์มีอิทธิพลเส้นทางต่อจิตสาธารณะด้านความตั้งใจที่จะอนุรักษ์มรดกศิลปกรรม ด้านการถือเป็นหน้าที่ในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรม และด้านเคารพสิทธิผู้อื่นในการร่วมอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมอีกทั้งพบผลดีของการฝึกอบรมตามกิจกรรมการ
พัฒนาเสริมสร้างจิตพฤติกรรม 3 กิจกรรม ได้แก่
(1) การพัฒนาทัศนคติต่อมรดกทางศิลปกรรม
(2) การพัฒนาแรงจูงใจ
ใฝ่สัมฤทธิ์
(3) การพัฒนาความเชื่ออำนาจในตน ซึ่งผลปรากฏอย่างเด่นชัดในกลุ่มทดลอง 80 %

References

กมลวรรณ สุวรรณโชติ. (2548). ปัจจัยเชิงเหตุแบบบูรณาการของ บ้าน สถานศึกษาและจิตลักษณะ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเป็นกลยาณมัิตรของนักศึกษาปริญญาตรี. สถาบันับัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ .

กรมศิลปากร. (2533). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติการอนุรักษ์อนุสรณ์สถานและแหลงโบราณคดี. กองโบราณคดีกรมศิลปากร.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัทหิรัญพัฒน์ .

โกศล มีคุณ และณรงค์ เทียมเมฆ. (2545). ผลของการฝึกใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่มีต่อจิตลักษณะและพฤติกรรม
จริยธรรมของครู. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

จิรวัฒนา มั่นยืน และรุ่งทิพย์ สมานรักษ์ . (2546). ปัจจัยเชิงเหตุที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการหลบหนีการเรียนของ
นักเรียนมัธยมศึกษา. ทุนอุดหนุนการวิจัยประเภทการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย สำนักงาน
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2539). การใช้ผลผลิตจากการวิจัยทางจิตพฤติกรรมเพื่อพัฒนาคนไทย.วารสารของสมาคม
จิตวิทยาแห่งประเทศไทย.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน และอัมพร ม้าค้น้อง. (2552). การฝึกอบรมจิตลักษณะและทักษะแบบบูรณาการที่มีผลต่อ
พฤติกรรมการพัฒนานักเรียนของครูคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. รายงานการวิจัย ทุนอุดหนุน
การวิจัยประเภทการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ธนะรัตน์ เก่งสกุล. (2548). อิทธิพลชองการเขียนชักจูงตนเอง และการได้รับสารชักจูงที่มีต่อความตั้งใจ
ใฝ่รู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ภาคนิพันธ สถาบันับัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ .

บุญรับ ศักดิ์มณี. (2532). การเสริมสร้างจิตลักษณะเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการทำงานราชการ. ปริญญานิพันธดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พระมหาไชยา กาละปักษ์ . (2550). ปัจจัยเชิงเหตุแบบบูรณาการของบ้าน สถานศึกษา สื่อ และจิตลักษณะที่เกี่ยวข้อง
กับพฤติกรรมสุภาพบุรุษของนักเรียนอาชีวศึกษา. ภาคนิพันธ สถาบันับัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ .

เรวดี สกุลพาณิชย์ . (2548). คู่มือพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
พ.ศ. 2504 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 พรอมด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ :
สำนักงานเลขานการกรมุ .

วรวรรณ อัศวกุล และคณะ. (2546). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทันตสุขภาพแก่บุตร
ก่อนวัยเรียน. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

วรรณี วรรณชาติ. (2541). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการคบเพื่อนแบบเสี่ยงเอดสของนักศึกษาชายใน
มหาวิทยาลัย. ภาคนิพันธ สถาบันับัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ .

วีรชัย คำธร. (2552). อิทธิพลของการฝึกสมาธิและการได้รับสารชักจูงที่มีต่อความตั้งใจที่จะปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน
ของนักเรียนอาชีวศึกษา.

โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพหุดัชนีทางจิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่
เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยงานวิจัยสาขาจิตพฤติกรรมศาสตร์ ;
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (2554). ปัจจัยเชิงบูรณาการตามประสบการณ์และลักษณะทางจิตที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

(2556). อิทธิพลของโครงการพัฒนาเสริมสร้างจิตพฤติกรรมที่มีต่อจิตสาธารณะการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สุรัตน์ วรางค์รัตน์ . (2539). สาระความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

สุภาสิณี นุ่มเนียม. (2546). ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม และจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ของ
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. ภาคนิพันธ ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันับัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ .

AJzen.I.,&Fishbein, (1991). Attutue towards objects as predictors of single and Multiple Behavioral
Criteria. Psychological Review, 59-74.

Magnusson, D.&Endler, N.S. (1977). Personality at the crossroads: Current issues in interactionism
psychology. New Jersey: LEA Publishers: 18-21

Richard, E.; Petty, D.T.; Wegener, L.R., Fabrigar. (1977). Attitudes and Attitude Change.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-01-31

How to Cite

คําธร ว., & โพธิ์สิงห์ ผ. (2015). อิทธิพลของการพัฒนาจิตพฤติกรรมที่มีต่อจิตสาธารณะ การอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรงเทพมหานคร. Journal for Developing the Social and Community, 2(1), 62–71. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/211416