เด็กควรเรียนรู้คูณติศาสตร์อย่างไร ? ให้สนุก
Abstract
จากประสบการณ์ทางการสอนคณิตศาสตร์โรงเรียนราชวินิตมา 37 ปีพบปัญหามากมาย เช่น เด็กไม่ชอบเรียน
คณิตศาสตร์เด็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่าเรียนโจทย์ปัญหาและแก้โจทย์ปัญหาไม่ได้จึงได้คิดค้นหาแนวทางในการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการศึกษาหาความรู้จากท่านผู้รู้หลายท่าน อาทิศาสตราจารย์ นายแพทยประเวศ วะสี
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2543) ท่านได้ให้ความหมายการเรียนรู้ที่ควรจัดให้แก่ผู้เรียนคือเรียนรู้ใน
สถานการณ์จริง ซึ่งประสบการณ์จริงในแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงต้องเอาผู้เรียนแต่ละคนเป็นตัวตั้ง ผู้สอนต้องเลือกจัดให้
ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์กิจกรรมและการทำงาน อันนำไปสููู่่่การพัฒนาครบทุกด้าน ทั้งกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและ
สติปัญญา รวมถึงพัฒนาการทางด้านจิตวิญญาณด้วย นอกจากนั้นยังได้แนวคิดจากการจัดกิจกรรมการสอนแบบ 4 MAT
แมกคาชี (McCarthy, Bernice. 1990) ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่ตอบสนองการเรียนรู้ของนักเรียน 4 แบบ (4 Type of
students ) ซึ่งลักษณะการเรียนรู้ของนักเรียน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับโครงสร้างทางสมองและระบบการทำงานของสมอง
ซีกซ้ายและซีกขวา ส่งผลต่อความแตกต่างทั้งทางด้านสติปัญญา การรับรู้และการเรียนรู้สิ่งสำคัญอกประการหีนึ่งคือการที่
ผู้สอนคำนึงถึงคอความรู้ืู้พื้นฐานของผู้เรียนและการใช้คำถามเชื่อมโยงเนื้อหา เพื่อนำไปสููู่่่เนื้อหาใหม่หรือใช้ยุทธวิธีต่าง ๆ
ทบทวนความรู้ในขั้นปฏิบัติกิจกรรม อาจใช้ปัญหาซึ่งมีความเชื่อมโยงในขั้นเตรียมความพร้อม และใช้ยุทธวิธีต่าง ๆ ให้ผู้เรียน
สามารถสรุปหรือเข้าใจหลักการแนวคิด กฎ สูตร หรือนิยามด้วยตนเอง
ผู้เขียนจึงได้หลอมแนวคิดจากประสบการณ์ท่านผู้รู้และทฤษฎีดังกล่าวมาผสมผสานเป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดการ
เรียนการสอนคณิตศาสตร์คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นควาจากสื้อและเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างอิสระ ครูมีส่วนช่วยในการ
จัดเนื้อหาสาระและจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหวางบุคคล
ผู้สอนให้คำปรึกษาและคำแนะนำ ชี้แนะในข้อบกพร่องของผู้เรียน พยายามพัฒนาผู้เรียนให้มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบ รู้จัก
คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเองอย่างมีความสุข โดยผู้สอนจะดำเนินการสอน เน้นการจัดกิจกรรมเป็นกลุ่ม กลุ่มละ
ประมาณ 3-6 คน มีการแบ่งหน้าที่การทำงาน เลือกประธานกลุ่ม เลขากลุ่ม และผู้สังเกตการณ์โดยมีกระบวนการเรียนในแต่
ละคาบเวลา ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ปัญหาชวนคิด ใช้เวลาในการฝึกทักษะ 10 นาที่เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้สนุกกับการคิดที่หลากหลายกล้าคิด
กล้าวิเคราะห์ฝึกการเขียนอธิบายวิธีคิด ช่วยกันตั้งชื่อเรื่องซึ่งเป็นการสรุปความคิดรวบยอดจากปัญหาชวนคิดแต่ละข้อ ซึ่งเป็น
โจทย์ที่ต้องเขียนขั้นตอนการคิด จากนั้นให้ส่งตัวแทนกลุ่มเสนอผลงาน ครูและนักเรียนช่วยกันสรุป
2. คิดเลขเร็ว ใช้เวลา 5 นาที่การฝึกคิดเลขเร็วจะใช้เกมต่าง ๆ เช่น เกม 24 ใช้แบบฝึกหัด ใช้บัตรประโยคสัญลักษณ์
ที่ครูสร้างขึ้น หรือใช้แบบฝึกแบบ mastery learning คือแบบฝึกการบวก ลบ คูณ หาร ที่ทำซ้ำ ๆ ซึ่งผู้เขียนจัดทำขึ้น
3. สรุปความคิดรวบยอด ในการสอนเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดนั้น ได้จัดกิจกรรมเป็นกลุ่มโดย
3.1 ศึกษาจากสื่อที่เป็นของจริง → ภาพ → สัญลักษณ์
3.2 ศึกษาหาความรู้จากใบงาน จากเกม
3.3 ส่งตัวแทนกลุ่มน้ำเสนอแนวคิด3.4 นักเรียนที่ีุ่กคนช่วยกันสรุปความคิดรวบยอดจากการปฏิบัติการร่วมกับครูเป็น Mind mapping
4. ทำแบบฝึกหัด เพื่อให้เกิดทักษะในการเรียนมากยิ่งขึ้น
5. ประยุกต์ใช้เป็นขั้นตอนที่นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้เนื้อหา สร้างชิ้นงานอิสระ ทำเกม ทำโครงงานในเรื่องที่
ตนเองสนใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
การทำโครงงานคณิตศาสตร์ช่วยให้นักเรียนได้คิดเป็นระบบ รู้จักวิเคราะห์หาเหตุผล รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
และมีโอกาสเลือกทำในสิ่งที่นักเรียนพอใจ โดยจัดลำดับ 5 ขั้นตอนการสอนโครงงาน
References
ทัศนา แขมมณี. (2545).ศาสตร์การสอน :องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2543). วัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุรุลักษณะ.กรุงเทพฯ : บริษัทราไทยเพรสจำกัด.
McCarthy, Bernice. (1990). 4 MAT in Action II : Sample Lesson Plans for with the 4 MAT System, Excel.State of America.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Articles that are published are copyrighted by the authors of the articles