Changes Consonant letter Enclosed in Thai ancient Text less.

Authors

  • ศรัญญา คำจวนจันทร นักวิชาการสถาบันวิจัยศิลปะวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ราชันย์ นิลวรรณาภา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รองผู้อานวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

การนำเสนอเรื่องการเปลี่ยนแปลงรูปพยัญชะควบในเอกสารโบราณอักษรไทยน้อย ให้ตั้ง
วัตถุประสงค์ของการเขียนคือเพื่อศึกษารูปพยัญชนะควบในเอกสารโบราณที่บันทึกด้วยอักษรไทยน้อย และ
ศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปพยัญชนะควบในเอกสารโบราณอักษรไทยน้อย โดยศึกษาข้อมูลจากจารึก
อีสานที่จารึกด้วยอักษรไทยน้อย ที่ระบุบปีพุทธศักราชที่จารึกอย่างชัดเจน จำนวนทั้งสิ้น 31 หลัก โดยใช้
แนวคิดการเปลี่ยนแปลงอักษรโบราณ (Paleographic Change) และการศึกษาด้านอักขรวิธีอักษรไทยน้อย
เนื่องจากรูปพยัญชนะควบที่ปรากฏในจารึกอักษรไทยน้อย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มประกอบด้วย 1. กลุ่ม
พยัญชนะควบอักษรรลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปพยัญชนะควบ อักษรตัว (ร) ในจารึกอักษรไทยน้อย
ผลปรากฏว่า พบรูปพยัญชนะควบตัว ร ตั้งแต่ช่วง 100 ปีแรก และยังปรากฏในทุกช่วงเวลาจนมาถึงช่วง
สุดท้าย ช่วงที่ 6 โดยพยัญชนะควบที่พบคือพร และเป็นพยัญชนะควบที่พบมากที่สุดอีกด้วย พยัญชนะ
ควบตัว ร ที่ไม่ปรากฏคือขร และผรลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปพยัญชนะควบตัว ร มีอยู่ 3 ลักษณะ
คือ 1) เขียนพยัญชนะตัวเต็มต่อจากพยัญชนะต้น 2) เขียนพยัญชนะตัวเชิงไว้ใต้พยัญชนะต้น โดยลากเส้น
ลงด้านล่างแล้วโค้งมาด้านหน้า 3) เขียนพยัญชนะตัวเชิงไว้ใต้พยัญชนะต้น โดยลากเส้นลงด้านล่างแล้วโค้ง
มาด้านหน้างอเข้าเล็กน้อย 2. กลุ่มพยัญชนะควบอักษรลลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปพยัญชนะควบ อักษร
ตัว (ล) ในจารึกอักษรไทยน้อย ผลปรากฏคือพบรูปพยัญชนะควบตัว ล ตั้งแต่ช่วง 100 ปีแรก
พยัญชนะควบที่พบตัวแรกคือกล ในจารึกวัดหลวง (หนองคาย) ปีพุทธศักราช 1957 พยัญชนะควบตัว
ล ที่พบมากที่สุดคือปล จำนวนทั้งสิ้น 7 รูป และที่ไม่พบเลย คือตัว ขล และตล ลักษณะ
เปลี่ยนแปลงรูปพยัญชนะควบตัว ล ที่พบมี 4 ลักษณะ ดังนี้ 1) เขียนพยัญชนะตัวเต็มต่อจากพยัญชนะ
ต้น 2) เขียนพยัญชนะตัวเชิงไว้ใต้พยัญชนะต้น หางตัวเชิง ล เชื่อมต่อกับเส้นหลังด้านล่างของพยัญชนะต้น
3) เขียนพยัญชนะตัวเชิงไว้ใต้พยัญชนะต้น โดยตัวเชิง ล หางสั้นอยู่ด้านล่างพยัญชนะต้น ไม่เชื่อมต่อกัน
4) เขียนพยัญชนะตัวเชิงไว้ใต้พยัญชนะต้น โดยตัวเชิง ล หางยาวเลยขึ้นมาถึงเส้นบนพยัญชนะต้น แต่ไม่
เชื่อมต่อกัน 3. กลุ่มพยัญชนะควบอักษรวลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปพยัญชนะควบ อักษรตัว (ว) ใน
จารึกอักษรไทยน้อย ผลปรากฏคือพบรูปพยัญชนะควบตัว ล ตั้งแต่ช่วง 100 ปี ช่วงที่ 2 พยัญชนะ
ควบที่พบตัวแรกคือกว และคว ในจารึกวัดแดนเมือง1 ( จารึกวัดปัจจันตบุรี) ปีพุทธศักราช 2073

พยัญชนะควบตัว ล ที่พบ คือ กว ขว และ คว พบมากที่สุดคือ ขว จ านวนทั้งสิ้น 6 รูป และที่ไม่พบ
เลย คือ ตัว ตว ปว ผว และ พว ลักษณะรูปพยัญชนะควบตัว ล ที่พบมี 1 ลักษณะ คือ เขียน
พยัญชนะตัวเต็มต่อจากพยัญชนะต้นเท่านั้นปรากฏรายละเอียดดังนี้

References

พระมหาสุเทพ พรมเลิศ. (2542). คำยืมในจารึกไทยอีสาน.วิทยานิพันธปริญญาศิลปศาสตร์ มหาบัณฑิต
สาขาจารึกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภานุพันธุ์ สยังกูล. (2548). คำไวยากรณ์ในจารึกอีสานระหวางพุทธศักราช 1957 ถึง 2466. การศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาศิลปากร.

มนัส สุขสาย. (2537). ตำราเรียนอักษรโบราณอีสาน.อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

รัตนา จันทร์เทาว์ . (2555). คำซ้อนและคำสองพยางค์ภาษาไทย : การสืบหาความหมายในภาษาลาว.

รายงานวิจัยคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น : อัดสำเนา.

วิภาวรรณ อยู่เย็น. (2551).วิวัฒนาการการใช้รูปวรรณยุกต์ตรีและจัตวาในภาษาไทย.วิทยานิพันธ
ปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิไลวรรณ ขนิษฐานนท์ . (2521). ภาษาและภาษาศาสตร์ . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .

วิไลวรรณ ขนิษฐานนท์ . (2526). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ : วิวัฒนาการภาษาไทยและภาษาอังกฤษ.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .

ศรีจรุง บุญเจือ. (2543). นิรุกติศาสตร์ . ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร. (ม.ป.ป.).ฐานข้อมูลจารึก ในประเทศไท ย. สามารถเข้าถึงได้ที่
http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/, สืบค้นวันที่ 7 เมษายน 2557.

สมชาย ลำดวน. (2554). พัฒนาการด้านรูปลักษณ์อักษรและอักขรวิธีในศิลาจารึกภาคอีสานประเทศ ไทย.วิทยานิพันธปริญญาปรัชษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.

สมทรง บุรุษพัฒน์ . (2543). ภูมิศาสตร์ภาษาถิ่น. กรุงเทพฯ : เอกพิมพ์ไทจำกัด.
สมัย วรรณอุดร. (ม.ป.ป.) แบบเรียนอักษรไทยน้อย. มหาสารคาม : โครงการอนุรักษ์ใบลาน ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรีย์รัตน์ เมธสุทธิ์ . (2544). การเปลี่ยนแปลงของคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรนำ.วิทยานิพันธ ปริญญา
อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุธินี สุขตระกูล. (2526). วิธีวิเคราะห์และเปรียบเทียบภาษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2545). เสียงและระบบเสียงภาษาไทย. นครปฐม : ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษร
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสนีย์ วิลาวรรณ. (2532). ภาษาจารึก. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อดุลย์ ตะพัง. (2543). ภาษาและอักษรอีสาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อนุมานราชธน, พระยา. (2532). ความรู้เกี่ยงกับภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อนุมานราชธน, พระยา. (2532). นิรุกติศาสตร์ . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์

อภิชญา แก้วอุทัย. (2551). การศึกษาการแปรเสียง (mr) และ (ml) ในภาษาไทยถิ่นสงขลาตามปัจจัย
ทางสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย : ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนา.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ิงอร สุพันธุ์วณิช. (2550). วิวัฒนาการอักษรและอักขรวิธีไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัครา บุญทิพย์. (2535). ภาษาถิ่นใต้. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บางเขน.

Brown, J. Marvin. From Ancient Thai to Modern Dialects. ( Bangkok : White Lotus Co,
Ltd, 2528. ) ,pp. 82 – 254

Brown, J. Marvin. From Ancient Thai to Modern Dialects. Bangkok : White Lotus, 1985.
Li, Fang Kuei. “Classification by Vocabulary : Tai Dialects”. Anthropoligical linguistics 1.2
(1959) : 15 – 21.

Li, Fang Kuei. A Handbook of Comparative Tai. Hawaii : University Press of Hawaii, 1977.

Downloads

Published

2016-07-31

How to Cite

คำจวนจันทร ศ., & นิลวรรณาภา ร. (2016). Changes Consonant letter Enclosed in Thai ancient Text less. Journal for Developing the Social and Community, 3(2), 49–72. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/211362

Issue

Section

Research Articles