การปฏิรูปการศึกษาด้วยการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้การคิดแก้ปัญหา

Authors

  • อุบลวรรณ กิจคณะ Journal of Research for Social and Community Development, Rajabhat Maha Sarakham University
  • ประสพสุข ฤทธิเดช Journal of Research for Social and Community Development, Rajabhat Maha Sarakham University

Abstract

” การศึกษาเป็นรากฐานของสังคม “ สำนวนนี้ยังใช้ได้ดีกับทุกยุคทุกสมัย การศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคนในทุก ๆ สาขาอาชีพ ให้เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการต่าง ๆ และนำความรู้นั้นมาใช้ในการดำรงชีวิตการได้รับการศึกษาที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้ทุ่มเทการลงทุน เพื่อพัฒนาคนใน ประเทศให้เป็นผู้มีความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาหรือปฏิรูปการศึกษา ซึ่ง การปฏิรูปการศึกษา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการและระบบสนับสนุนต่าง ๆ ไมวาด้านงบประมาณ อุปกรณ์ 1 เครื่องมือหรือเทคโนโลยี ที่สำคัญคือการเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ให้สอดรับกับสังคมใหม่ (คณะกรรมการการปฏิรูปการศึกษา, 2543) แนวทางการปฏิรูปการศึกษา ที่ได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พุทธศักราช 2542 วา ” การปฏิรูปการศึกษา คือการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียน “ การปฏิรูปการศึกษาจึง เป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทั้งระบบ และต้องทำอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้มีมาตรฐาน มากขึ้น ในปัจจุบันสภาพปัญหาการศึกษาที่ต้องมีการปฏิรูปมีหลายประการซึ่งมีประเด็นที่สำคัญดังนี้ (ยาเบ็น เรื่องจรูญศรี, 2552) 1. ปัญหาด้านคุณภาพ เมื่อกลำวถึงคุณภาพทางการศึกษาก็อาจหมายถึงคุณภาพและมาตรฐานการเรียน การสอน วิชาการต่าง ๆ ทุกระดับ และจะมีการอ้างอิงผลของการประเมินระดับนานาชาติวามาตรฐานการเรียนการสอนของไทยอยู่ในอันดับใด เช่น ผลของการประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านคณิตศาสตร์ 1 ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของ ไทยในโครงการทิมส 1 (TIMSS) ของสมาคมนานาชาติว่าด้วยการประเมินผลทางการศึกษา กลำววาไทยอยู่ในอันดับที่ 28 ( เด็กไทยอ่อนวิทย 1-คณิต, 2555) ในขณะที่เกาหลีใต้ สิงคโปร 1 และไต้หัวน อยู่ที่อันดับ 1 , 2 และ3 ตามลำดับ ซึ่งพบจุดบกพร่องอยู่ที่การสอนที่ไม่เน้นการคิดแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน คือสอนในกรอบของความรู้ที่ปรากฏ ตามตัวอักษรของตำรายึดติดกับวิธีการสอนแบบเดิมคือใช้วิธีการสอนเป็นแบบการบรรยาย จึงทำให้เกิดข้อจำกัดใน การพัฒนาทักษะทางการคิด ไม่ได้สอนให้เข้าใจถึงที่มาที่ไปของสูตรสำเร็จเหลำนั้น ส่วนใหญ่เป็นการเรียนการสอน ในรูปแบบการท่องจำมากกว่าการใช้ความเข้าใจ (คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2543) 2. ปัญหาของการกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา โดยส่วนมากความชอบธรรมทาง สังคมที่เกิดจากกลไกของระบบเศรษฐกิจมักจะมีแนวโน้มช่วยเหลือให้ผู้เข้มแข็ง ได้เปรียบผู้ที่อ่อนแอกวาช่วยให้คน ที่มีฐานะดีทางเศรษฐกิจและสังคมได้เปรียบด้านกิจการการศึกษา และด้านอื่น ๆ มากกว่าผู้ยากไร้และขาดปัจจัยด้าน การเงิน สังคมของผู้มีฐานะดีจะเกิดขึ้นกับคนบางกลุ่มจึงทำให้เกิดช่องวางระหว่างคนรวยกับคนจนมากเกินไป (วิทยากร เชียงกูล, 2552) ดังนั้นการได้รับโอกาสทางการศึกษาจึงเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่มีฐานะลำบากทาง เศรษฐกิจ เพราะแม้วามีการกระจายโอกาสทางการศึกษาแต่คนจนก็ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้ 3. ปัญหาของการจัดการศึกษาตลอดชีวิต เป็นประเด็นของการใช้โอกาสให้เกิดประโยชน์ 1 สูงสุดทาง การศึกษาแก่ประชาชน ในบริบทของสังคมข้าวสาร และการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีของการสื่อสาร ควรจะปรับให้เกิดระบบการศึกษาตลอดชีวิตได้ และประกอบกับความจำเป็นของสังคมแบบใหม่ที่จะต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์ ทาง เศรษฐกิจและสังคม ในอนาคตจำเป็นต้องใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือปรับความสามารถและทักษะ ของมนุษย์ ให้สามารถเผชิญกับปัญหาใหม่ ๆ และแก้ไขปัญหาใหม่ ๆ ได้ เช่น ปัญหาของวิกฤติการณ์ การเงินการคลัง การเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน และผลกระทบ โดยเฉพาะด้านอาชีพการงาน เป็นต้น ๔. ปัญหาของการระดมกำลังเพื่อการศึกษา ปัญหานี้สัมพันธ์ กับการศึกษาตลอดชีวิต หากจะให้เกิด การศึกษาตลอดชีวิตก็จำเป็นที่ทุก ๆ ส่วนของสังคมต้องตระหนี่กในภาระหน้าที่ทางการศึกษาของตน ตั้งแต่สถาบัน ครอบครัว ชุมชน องค์ กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สำนักงาน บริษัทห้างร้านและเอกชน สื่อสารมวลชน สถาบัน การเมืองทุก ๆ ส่วนในสังคมล้วนแล้วแต่เป็นทรัพยากรทางการศึกษา สามารถมีส่วนร่วมได้ทั้งนั้น

References

กนิษฐา ทองเลิศ. (2552). คิดอย่างไรให้แตกฉาน. วารสารศึกษาศาสตร์ ปริทัศน์. 24(3), 195 - 204. คณะกรรมการการปฏิรูปีการศึกษา. (2544). การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ : องค์ การค้าคุรุสภา.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ดารารัตน มากมีทรัพย . (2553). การศึกษาผลการคิดอย่างมีวิจารณ์ญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาวชา การเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอนของ นักศึกษาระดับปริญญา. (วิทยานิพันธ ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

ทัศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณ์ญาณ : การบูร ณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 188-204.

ปกรณ สปุินานนท . (2552). จับกลุ่มเด็กเสี่ยงมา นั่งร้าน. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2556. จาก https://www.okanation.net/blog/learning/2009/11/21/entry-1.

ยาเบ็น เรื่องจรญูศรี. (2552). การปฏิรูปีการศึกษาไทย, สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2556. จาก https://www.kroobannok.com/24213.

วิทยากร เชียงกูล. (2552). ปัญหาความไม่เสมอภาคในการได้รับบริการทางการศึกษา, สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2556. จาก https://witayakornclub.wordpress.com/.

สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. (2555). เด็กไทยอ่อนวิทย์ -คณิต, สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2556. จาก https://www.dailynews.co.th/education/172025.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปีการศึกษาในทศวรรษที่สอง ( พ.ศ. 2552 -2561). กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สนิท ตีเมืองซ้าย. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีการเสริมศักยภาพ ทางการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ . วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 4(3), 77-93.

สุคนธ 1 สินธพานนท . (2550). สุดยอดวิธีการสอนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นำไปสู่...การจัดการเรียนรู้ ของครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน .

สุปรีย บูรณะกนิษฐ และปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2554). กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีเสริมศักยภาพที่แตกต่างกัน ในการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการคิดวิเคราะห์ในการโปรแกรมหุ่นยนต์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร นนิง. 309-313.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2551). เทคโนโลยีการศึกษาหลักการทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแกํน : คลังนานาวิทยา.

สุวิทย๑ มูลค า. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ๑

แสงเดือน เจริญฉิม. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่สร้างเสริมมโนทัศน์และการแก้ปัญหาในวิชา ฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพันธ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Vygotsky, L. (1978). Mind in society: the developmental of higher psychological process. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Way, Jenni and Rowe, Leanne., (2009). The Role of Scaffolding in the Design of Multimedia Learning Objects. ICME TSG 22 New Technologies in the Teaching and Learning of Mathematics Broad Theme 3. 263-269.

Tomus Galguera. (2003). Scaffolding for English Learners : What’s a Science Teacher to Do?. Archived FOSS Newsleter #21, Californaia. 6-10.

ชุดบทเรียนเพื่อพัฒนาตนเอง ตอนที่ 5 การกระตุ้นทางปัญญา เรื่องการคิดแก้ปัญหา. สืบค๎นเมื่อ 18 มีนาคม 2556. จาก https://www.br.ac.th/E-learning/lesson5_2.html.

Downloads

Published

2013-01-31

How to Cite

กิจคณะ อ., & ฤทธิเดช ป. (2013). การปฏิรูปการศึกษาด้วยการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้การคิดแก้ปัญหา. Journal of Research and Development Institute Rajabhat Maha Sarakham University, 1(1), 65–73. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/211346

Issue

Section

Research Articles