Management with Ubiquitous Education

Authors

  • ปัณญาพัฒน์ ขันทอง Journal of Research for Social and Community Development, Rajabhat Maha Sarakham University

Abstract

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของหลายประเทศเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับ ระบบการศึกษากลับมีบางส่วน บางพื้นที่ที่สวนกระแสกับระบบเศรษฐกิจที่นับวันเจริญเติบโตอย่างเต็มที่แต่ผล สะท้อนกลับมาของการพัฒนาระบบเครือขายไร้สาย กระจายสู่พื้นที่ทุกภาคส่วนกลับทำให้ระบบการศึกษาไทยมี ส่วนต่างของผลการเรียนรู้ที่ลดลง เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งที่รากฐานของระบบเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง มา จากพื้นฐานการศึกษาทั้งสิ้น (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542) การมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านความรู้ และทักษะทางปัญญาจะช่วยส่งเสริมรากฐานความมั่นคงของประเทศ การนำนวัตกรรมความก้าวหน้าทำง เทคโนโลยีมาบูรณาการเข้ากับระบบการจัดการศึกษา แนวคิดนี้กำลังเป็นกระแสที่หลายหน่วยงานทางด้าน การศึกษามักจะกลำวถึง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มาตราที่ 24 มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ส่วน สำคัญที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นผู้สอนเองมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการจัดสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ การนำนวัตกรรมการศึกษาแนวใหม่มาช่วยสนับสนับสนุนผู้เรียนภายใต้การเรียนรู้ในทศวรรษที่ 21 (21th Century Learning) ที่เน้นการบูรณาการการเรียนรู้แบบภควันตภาพ (Ubiquitous) ภายใต้ห้องเรียนใน อนาคต (Future Classroom) ที่ไม่จำกัดขอบเขตในการเรียนรู้ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ 1 ใช้กับการศึกษา เป็นนวัตกรรมการสร้างห้องเรียนแห่งอนาคตในทศวรรษที่ 21 เป็นหัวข้อที่หลาย ๆ สถาบันทางการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นให้ความสนใจและต้องการการพัฒนาขึ้นให้เป็นรูปธรรม ในรูปแบบการบูรณาการการเรียนการสอน (พงษ 1 ชัย ชัยมงคล, https://182.93.220.66/KM_sec5) โดยใช้ระบบเครือขายสังคมออนไลน 1 (Social Network ) มาสนับสนุนการเรียนรู้และการบริหารจัดการทั้งด้าน วิชาการบุคคลงบประมาณและการบริหารงานทั่ว ๆ ไป เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กยุคใหม่ด้วยสารสนเทศรอบด้านไร้ ขอบเขตของชนชาติ ไม่จำกัดสถานที่ในการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเทา เทียมกัน เกิดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับโลกที่แท้จริง เป็นมิติใหม่ของการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในทุกที่ทุก เวลา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ๑คุรุสภา. สุรศักดิ์ ปาเฮ. www.addkutec3.com , ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 , สืบค๎นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์
2556 เวลา 20.30 น.

พงษ๑ชัย ชัยมงคล. https://182.93.220.66/KM_sec5 , ห้องเรียนอนาคตในศตวรรษที่ 21, สืบค้นเมื่อ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 21.30 น.

โอทีพีซี. https://www.otpchelp.com ,การปรับเปลี่ยนบริบทห้องเรียนสู่ห้องเรียนภควันตภาพ, สืบค๎นเมื่อ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 21.45 น.

ผู๎จัดการออนไลน.https://www.manager.co.th , สพฐ.วิเคราะห์คะแนน O-Net ป.6 พบต่ ากว่าค่าเฉลี่ยทุกวิชา, สืบค๎นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ๑ 2556 เวลา 20.25 น.

ปิยนันท์สวัสดิ์ศฤงฆาร. https://www.oknation.net, รูปแบบและเทคโนโลยี่ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน แบบ Ubiquitous Learning, สืบค๎นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์2556 เวลา 15.45 น.

ถนอม เลาหจรสัแสง. https://www.pharmacy.cmu.ac.th , U-Learning โลกยุคใหม่กับการศึกษาเรียนรู้ ทุกสถานที่ ทุกเวลา และทกุเครื่องมือ, สืบค๎นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 21.45 น.

ธนัญชัย เดชพลกรัง. https://etc4msu.multiply.com/journal , U-Learning (Ubiquitous Learning) , สืบค๎นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 16.25 น.

อนันท๑ งามสะอาด . www.sisat.ac.th , การเตรียมสถานศึกษาเพื่อรองรับระบบเรียนแบบ U-Learning , สืบค๎นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 14.25 น.

Downloads

Published

2013-01-31

How to Cite

ขันทอง ป. (2013). Management with Ubiquitous Education. Journal of Research and Development Institute Rajabhat Maha Sarakham University, 1(1), 58–64. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/211344

Issue

Section

Research Articles