Identity Asean and Gender: Competing for Expression Spaces of Women in Thailand

Authors

  • ทัศนีวัลย์ ศรีมันตะ Journal of Research for Social and Community Development, Rajabhat Maha Sarakham University

Abstract

สังคมแบบชายเป็นใหญ่คือสังคมที่มีโครงสร้างทางเพศที่กำหนดให้สถานภาพและตำแหน่งของเพศชาย เหนือเพศหญิงและให้คุณคำความเป็นชายมากกว่าความเป็นหญิง (Eisler and Loy,1998 อ้างถึงใน อวยพร เขื่อนแก้ว) เครื่องมือสำคัญของการดำรงและถ่ายทอดวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่คือระบบความเป็นเพศ (gender systems) ที่กำหนดและหล่อหลอมบทบาทหน้าที่อำนาจ สถานภาพ คุณคำและความสัมพันธ 1 ทางเพศที่แตกต่าง และไม่เทาเทียมกันระหวางเพศหญิงและเพศชาย รวมถึงร่างกายของผู้หญิงและร่างกายผู้ชาย ผ่านสถาบันต่าง ๆ ใน สังคม เช่น ครอบครัว วัฒนธรรมประเพณี ศาสนา ระบบการศึกษา สื่อมวลชนและสื่อพื้นบ้าน ศิลปะงานับนเทิง ฯลฯ ที่ทำหน้าที่ฝึกฝนและกล่อมเกลาประชากรหญิงชายอย่างสอดคล้องไปในแนวทางเดี่ยวกัน ระบบเพศนี้ทำการผลิตซ้ำและหนุนเสริมให้วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่มีความมั่นคงแข็งแกร่ง จนทำให้คนทั่วไปมองเห็นวาเป็นเรื่องปกติ ธรรมดาและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และแม้วาในทศวรรษนี้ที่สภาพเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม จะทำให้ผู้หญิงบางคนบางกลุ่มในสังคมไทยสามารถเลื่อนสถานะไปสู่ตำแหน่งหน้าที่ผู้นำมีสถานภาพสูงขึ้นและสามารถเข้าสู่อำนาจในระบบต่าง ๆ ของสังคม ความเป็นเพศหรือเพศภาวะเกิดจากระบบการกำหนดบทบาทหน้าที่สถานภาพ ภาพลักษณ 1 คุณคำ ความคาดหวัง และความคิดความเชื่อเกี่ยวกับการเป็นผู้หญิงและการเป็นผู้ชาย และสรีระของคนทั้งสองเพศที่ต่างกันไปตามบริบทของแต่ละสังคม ความเป็นเพศเป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้ ฝึกฝน ขัดเกลา และหล่อหลอมผ่าน สถาบันต่าง ๆ ในสังคม (socialization) ตั้งแต่สถาบันครอบครัว ชุมชน ศาสนา โรงเรียน สื่อ วรรณกรรม ศิลปะ การบันเทิง วัฒนธรรมประเพณี ระบบการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ และระบบสาธารณสุข เป็นต้น ความเป็นเพศจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ถูกผลิตซ้ำ และได้รับการสืบทอด ต่อ ๆ กันมาโดยผ่านสถาบันต่าง ๆ ที่กลำวมาข้างต้น ความเป็นเพศจึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและเงื่อนไขของแต่ละสังคม กรอบการสร้างความเป็นชายของสังคมมักเน้นเรื่องภาวะผู้นำและการมีความสามารถด้าน ต่าง ๆ และมีพื้นที่ในสังคม ในขณะที่กรอบความเป็นหญิงมักเน้นไปีที่บทบาทหน้าที่ในบ้าน เช่น บทบาทหน้าที่ใน การให้บริการผู้อื่น และการเลี้ยงดูลูก เป็นต้น ดังนั้น การสร้างความเป็นเพศจึงส่งผลกับผู้หญิงและผู้ชายต่างกัน

References

ภาษาไทย กชกรณ เสรีฉันทฤกษ . (2551).วาทกรรมความงามของผู้หญิงในสังคมไทย : มุมมองพหุมิติ. วิทยานพินธ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสตรีศึกษา. วิทยาลัยสหวิทยาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .

ทัธนา รุ่งรุจจินดา. (2553). เพศสภาวะกับการเลือกอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 : ศึกษากรณี : โรงเรียนวัดดอนตูม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยสหวิทยาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .

บังอร ปิยะพันธุ 1. (2538). ประวัติศาสตร์ไทย การปกครอังสังคม เศรษฐกิจและความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ก่อนสมัยสุโขทัย จนถึง พ.ศ. (2547). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร .

บุญเดิม ไพเราะ. สถานภาพและบทบาทของสตรีไทยในสังคมไทย. วิทยานิพันธม 1 หาบณัฑติจุฬาลงกรณ 1 มหาวิทยาลัย.

ปิยะฉัตร ปิตะวรรณ. (2526). ระบบไพร่ในสังคมไทย พ.ศ. (2411-2453). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ .

พัชนี อัยราวงศ์ . (2521). จริยศึกษาของสตรีไทย ในสุภาษิตสอนหญิงคำกลอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (2541). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .

มาลี พฤกษ พงศาวลี. (2551). ย้อนรอยสิทธิความเป็นคนของผู้หญิง. กรุงเทพฯ : สำนักงาน. รัตนา ปูระยรรักษ . (2545). การประกอบสร้างความเป็นจริง และการตัดสินผู้ตกเป็นข่าวด้วยการเล่าเรื่องใน หนังสือพิมพ์ . กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย.

วาลี ขันธุวาร. (2547). วาทกรรมผู้หญิงไทยกับความแปรเปลี่ยน. มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ปีที่ 21, ฉบับที่ 2 ( ม.ค-มี.ค. 2547), หน้า 24-40.

วิระดา สมสวัสดีุ . (2548). เพศภาวะและเอดส์ : นโยบาย มาตรการและกฎหมาย. เชียงใหม่ : วนิดาเพรส. สุโขทัยธรรมาธิราช,มหาวิทยาลัย. (2545).ประมวลสาระชุดวิชาการศึกษาบทบาทชายหญิง. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุชาดา รัชชุกูล. (2541). การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาและตัดสินใจทำแท้ง. ปริญญานิพันธุ์ 1 ดุษฎีบัณฑิต สาขา พัฒนศึกษาศาสตร์. มหาศรีนครินทรวิโรฒ.

สุชีลา ตันชัยนันท 1. (2540). ผู้หญิงในทัศนะจิตร ภูมิศักดิ์ และแนวคิดสตรีศึกษา. นนทบุรี : ผลึก.

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2511). สังคมวิทยาของหมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุวรรณี ลัคนวณิช. (2554). รูปแบบความสัมพันธ์ระหวางบุคคล พฤติกรรมการใช้ชีวิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาที่ใช้ชีวิตในที่พักอาศัยเอกชน ย่านรังสีิต จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ 1. (2534). ความขัดแย้ง : การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์ . กรุงเทพฯ : ตะเกียง. อวยชัย สังสนา. (2544). วาทกรรมการสื่อความหมายของนิวัติ กองเพียร นู้ดคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์รายวันและนิตยสารรายสัปดาห์ ""มติชน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ม หาวิทยาลัย.

อวยพร เขื่อนแก้ว. (2556). วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่. [ออนไลน 1 ]. แหลงที่มา : https://muslimchiangmai.net/index. [30 มีนาคม 2556].

ภาษาอังกฤษ Dahrendorf, R. (1968). Essays in the theory of society. Stanford University Press Stanford, Calif. Sills,D.(Ed). (1968). International encyclopedia of the social sciences (Vol. 5). New York : Macmillan.

Downloads

Published

2013-01-31

How to Cite

ศรีมันตะ ท. (2013). Identity Asean and Gender: Competing for Expression Spaces of Women in Thailand. Journal of Research and Development Institute Rajabhat Maha Sarakham University, 1(1), 47–57. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/211341

Issue

Section

Research Articles