นโยบายการก าหนดราคาข้าวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวนาไทย
Keywords:
1 รองคณบดีฝุายวางแผนและประกันคณุภาพประจาํสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจคณะการบัญชแีละการจัดการ มหาวทิยาลัยมหาสารคามAbstract
การกําหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับราคาข้าวของรัฐบาลไทยที่ผ่านมาจนถึงป๎จจุบัน ถือได้ว่าเป็นหัวใจสําคัญ ในการใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการทํางานของรัฐบาล เพื่อแก้ไขป๎ญหารายได้ต่ําและความยากจนของเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชาวนาซึ่งถือว่าเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศและเป็นกลุ่มที่มีผลต่อการแพ้ชนะในการ เลือกตั้งของพรรคการเมือง ขณะเดียวกันข้าวเป็นสินค้าทางการเกษตรสําคัญที่ประเทศไทยส่งออกเพื่อจําหน่ายใน ตลาดโลกที่ผ่านมารัฐบาลได้กําหนดนโยบายข้าวหลักๆ อยู่ 2 มาตรการคือ มาตรการในการแทรกแซงราคาข้าว ภายใต้นโยบายรับจํานําข้าว และมาตรการประกันรายได้ให้กับชาวนา ซึ่งจะเห็นว่าในแต่ละมาตรการหรือนโยบาย ดังกล่าวล้วนแต่มีเปูาหมายเหมือนกัน คือ การยกระดับรายได้ให้กับชาวนา ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม แม้ชาวนาไทยจะมีศักยภาพและความสามารถในการทํานาให้ได้ผลผลิตสูงแต่ป๎ญหาต่างๆยังคงดํารงอยู่ ชาวนาคือ ฐานเสียงสําคัญทางการเมืองที่รัฐบาลและพรรคการเมืองต้องมีนโยบายเฉพาะในการช่วยเหลือเพื่อการยกระดับราคา ผลผลิต อันเป็นภาระทางการคลังที่หนักอึ้งของประเทศ ซึ่งแนวทางการพัฒนาที่ควรจะเป็นก็คือ การลดจํานวน ชาวนาลงโดยเฉพาะการหาทางให้ชาวนายากจนได้มีโอกาสออกจากภาคเกษตร ชาวนายากจนเหล่านี้มีที่ดินน้อยหรือ มีที่ดินทํากินไม่เหมาะสม จึงไม่สามารถให้ผลผลิตที่ดีได้ การเกษตรจึงไม่สามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนกลุ่มนี้ ได้ (ชลิตา บัณฑุวงศ์, 2556 : เว็บไซต์) อย่างไรก็ตามการดําเนินการลดจํานวนชาวนาลงในระยะเวลาสั้นไม่สามารถทําได้ อีกทั้งภาครัฐยังไม่มี นโยบายรองรับเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่ชัดเจน การแก้ป๎ญหาที่ควรจะเป็นก็คือการที่รัฐบาลจะต้องพัฒนานโยบายการ กําหนดราคาข้าวให้มีความเหมาะสมและมีผลกระทบเชิงบวกต่อการทําให้คุณภาพชีวิตของชาวนาไทยดียิ่งขึ้น อันจะ ส่งผลต่อเนื่องไปยังการลดความเหลอื่มลา้ํในการกระจายรายได้ ดังนั้นในบทความนี้จึงขอนําเสนอนโยบายการกําหนด ราคาข้าวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวนาไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการพัฒนานโยบายการกําหนดราคา ข้าวให้มีความเหมาะสมกับชาวนาไทยและสังคมไทยต่อไป บทความมีเนื้อหาประกอบด้วย ความหมายของนโยบาย เกษตร นโยบายเกษตรกับสวัสดิการของสังคม นโยบายเกษตรเกี่ยวกับข้าวทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่นํามาใช้ในการ กําหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับราคาข้าวของไทย
References
กรมการข้าว. (2556).สถานการณก์ารผลิตและการตลาดข้าวของโลกปีการปลิต 2556/2557.วันที่ค้นข้อมูล 3 มีนาคม 2556.เข้าถึงได้จากhttp://www.ricethailand.go.th/home/images/rice-situ.
จงกลณี เกิดพิบลูย์ . (2556) หลักเกณฑ์สำหรับการมีประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้ทรัพยากร.เอกสาร ประกอบการสอนวิชานโยบายเกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดลอม.เชียงใหม่ : คระเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ.้
ชลิตา บัณฑุวงศ์ . (2556).ข้าวและชาวนาไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง.วันที่ค้นข้อมูล 13 ธันวาคม 2556 .เข้าถึงได้จาก http://www.prachatai.com/journal/2013/09/48683.
ชัยวุฒิ ชัยพันธุ์.(2546).หลักและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ไชยยงค์ ชูชาติ. (2554). นโยบายเกษตร. กรุงเทพฯ : สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.
ธีระ วงศ์สมุทร. นโยบายรัฐกับชาวนา.วันที่ค้นหาข้อมูล 1 มีนาคม 2557. เข้าถึงได้จาก http://ww.brrd.in.th /main/index.php?option=com_content & view=articleid=799:2013- 01-1.
ป๎ทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิและประชา คุณธรรมดี.(2553). “นโยบายฐานราก : นโยบายแทรกแซงราคาข้าว.” เอกสารแถลงข่าวครั้งที่ 11 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(7 มิถุนายน 2553).
ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์. พัฒนาการเกษตรประเทศไทยอย่างไรให้เกษตรกรมีความสุข. วันที่ค้น ข้อมูล 28 พฤศจิกายน 2556. เข้าถึงได้จาก http://www.sites.google.com/site/banriainaraol/ column/agriculture_farmer.
มูลนิธิชีววิกี. (2554).ประมวลนโยบายกรจัดการผลผลิตทางการเกษตร การรับจ าน าข้าว VS. การประกัน รายได้เกษตรกร.วันที่ค้นหาข้อมูล 3 มีนาคม 2557. เข้าถึงได้จาก http://ww.biothai.net/sites/ default/files/Briefing-rice.
วิกานดา วรรณวิเศษ. (2554). “โครงการรับจาํนําข้าวเปลือกของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร.” ส านักวิชาการ ส านักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 2(03) : 1 – 16.
ศจินทร์ ประชาสันติ์และคณะ. (2555). ทางเลือกทางการตลาดของชาวนา : ผลกระทบเชิงโครงสร้างต่อความไม่เป็นธรรมและการกระจายผลประโยชน์ . รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลินด์ซีย์ ฟาลวยี์ . (2548). การเกษตรไทยอู่ข้าวอู่น้ำข้ามสหัสวรรษ. (แม้มาส จันลักขณาและคณะ). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .
วรรณวภิา พ่วงเจริญ. (2554). “นโยบายรัฐกับงานวิจยัข้าวไทย.”วิชาการปริทัศน์. 19(2) : 6.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน.(2553).เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น เศรษฐศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .
วีรบูรณ์ วสิารทสกลุ. โครงการรับจ าน าข้าว : การพัฒนาประชากรในเชิงมหาภาคที่ไม่เพียงพอ?. วันที่ค้นข้อมูล 2 ธันวาคม 2555. เข้าถึงได้จาก http://www.wwisartsakul.files.wordpress. com/2013/02/eob8.
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธรุกิจ มหาวิทยาลยัหอการค้าไทย. (2556). รายงานการวิจัยเรื่องทัศนะต่อนโยบาย ของรัฐ : จ าน าแนวทางแก้ไขปัญหาภาคเกษตรกรไทย. วันที่ค้นข้อมูล 28 พฤศจิกายน 2556. เข้าถึง ได้จาก http://www.cebf.utcc.ac.th/wpload/poll_file/file_th_25d24y2.
โสภณิ ทองปาน. (2536). นโยบายเกษตรกรไทย. กรุงเทพฯ : เลิศชัยการพิมพ์ 2.
สมพร อัศวิลานนท์. (2550). การน าความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์เกษตรมาวิเคราะห์ปัญหาการเกษตรไทย.
สถาบันพัฒนาความรตู้ลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.(2548).เศรษฐศาสตร์( Economics).กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สุจิตรา กุลประสิทธิ์.(2552).เศรษฐศาสตร์จุลภาค.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ออฟเซ็ท.
สุวัฒน์ หัตนิรันดร์กุลและคณะ. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับ ภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI). วันที่ค้นข้อมูล 13 ธันวาคม 2556. เข้าถึงได้จาก http://www.dmh.go.th/test/download/files/whogol.p.
อิสริยา บญุญะศริิ.(2554). “นโยบายแทรกแซงราคาข้าว : โครงการรับจํานําและประกันรายได้”.การเงินการคลัง. 23(68),27-43.
Thompron, R.L.Agricultural Price Supports.วันที่ค้นข้อมูล 19 กุมภาพันธ์ 2557. เข้าถึงได้จาก http://www.econlib.org/library/Enc1/AgriculturalPriceSupports.html.
Wikipedia.(2014).Agricultural Policy.วันที่ค้นข้อมูล 19 กุมภาพันธ์ 2557. เข้าถึงได้จาก http://www.en.wikipedia.org/wiki/Agricultural_policy.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Articles that are published are copyrighted by the authors of the articles