ทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย: แก่นแห่งชีวิตที่เสริมสร้างได้จากครอบครัว
Keywords:
นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยAbstract
ทักษะชีวิตนับเป็นพื้นฐานสําคัญของการพัฒนาบุคคลทุกช่วงวัย ในยุคศตวรรษที่ 21 ที่ต้องเผชิญกับ สิ่งแวดล้อม สังคม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความซับซ้อนและมีการแข่งขันสูงส่ง ผลกระทบต่อการดํารงชีวิตของผู้คนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กในช่วงปฐมวัย (0-6 ปี) ซึ่งชีวิตมีความอ่อนแอ และเปราะบางต่อสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว ซึ่งอาจนําสู่ความบกพร่องของพัฒนาการด้านต่างๆ ได้ หากเด็กได้รับ การเสริมสร้างเกี่ยวกับทักษะชีวิตโดยการปูพื้นฐานมาจากครอบครัวให้เข้มแข็งและมั่นคง เด็กจะมีต้นทุนชีวิต มีความพร้อมที่จะปรับตัว หรือเผชิญกับป๎ญหารอบตัวได้อย่างเหมาะสมกับวัย รวมทั้งมีความสามารถในการ รับผิดชอบดูแลตนเอง จัดการความต้องการและสิ่งต่างๆ ที่ตนเผชิญในชีวิตประจําวันได้อย่างมีคุณภาพ มีความ สมบูรณ์พร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ การคิด และการแสดงพฤติกรรมอย่างเหมาะสม อันเกื้อกูลให้เกิดการดําเนิน ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข จิตแพทย์ด้านเด็กชี้ว่าการส่งเสริมทักษะชีวิตเริ่มต้นจากครอบครัว ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่โอบอุ้ม เลี้ยงดูขัดเกลาชีวิตรวมทั้งอบรมบ่มเพาะนิสัยให้เด็กมีระเบียบวินัยและมีจริยธรรม การฝึกฝนและการจัด ประสบการณ์ที่ดีในช่วงปฐมวัยนับเป็นการหล่อหลอมบุคลิกภาพให้กับเด็ก ถ้าเด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูตอบสนอง ป๎จจัยในการดําเนินชีวิตอย่างเหมาะสม ก็จะทําให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีพัฒนาการเหมาะสมกับวัยการเสริมสร้าง ทักษะชีวิตในช่วงปฐมวัยนับเป็นสิ่งสําคัญมากเพราะเป็นวัยแห่งการปลูกฝ๎งฐานรากแห่งชีวิตในทุกๆ ด้านทั้งด้าน ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติป๎ญญา นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และมีคุณค่ามากเพราะจะเป็นการเตรียม ความพร้อมให้เด็กสามารถดูแล ช่วยเหลือตนเองได้ตามวัยและเป็นการพัฒนาเครื่องมือการเรียนรู้อันได้แก่ การคิด การสื่อสาร การแก้ป๎ญหา การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และการเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น อันนําไปสู่การมีชีวิตที่มี ความสุข เพราะแก่นแท้ของการพัฒนามนุษย์ คือ การส่งเสริมให้บุคคลสามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีความสุขในสภาพ ของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทันนั่นเอง เด็กปฐมวัยเรียนรู้โลกผ่านทางร่างกายหรือประสาทสัมผัสเป็นหลักการพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องเปิดโอกาสให้ เด็กเรียนรู้ผ่านการกระทําในวิถีชีวิตจริง ผ่านการทํากิจวัตรประจําวันและการเล่น เด็กวัยนี้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม รอบตัว การทํากิจวัตรประจําวันที่มีจังหวะสม่ําเสมอ การเล่นที่มุ่งเน้นการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นการซึมซับให้ เด็กได้ปลูกฝ๎งทักษะของการดํารงชีวิต การเรียนรู้ในช่วงปฐมวัยเป็นการเรียนรู้เพื่อการมีชีวิตอย่างแท้จริง การส่งเสริมและพัฒนาเด็กต้องตอบสนองธรรมชาติแห่งวัย คือ การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว เริ่มจากสายสัมพันธ์ที่ ดีระหว่างเด็กกับพ่อ แม่ ผู้เลี้ยงดู ครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน การเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมทาง ธรรมชาติ ได้สัมผัสกับสื่อรอบตัวที่พรั่งพร้อม ตลอดจนการเติมเต็มทางด้านร่างกายจิตใจและการคิดอันเป็นพื้นฐาน
References
จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2556). การพัฒนาทักษะชีวิตส าหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ชบา พันธ์ศักดิ์. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือโดย การร่วมงานอย่างร่วมรู้สึกระหว่างผู้ปกครองและครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบณัฑิต ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร ์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วนิดา ขาวมงคล เอกแสงศรี. (2546). หลักการสอนการพัฒนาทักษะชีวิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
วิชาการ, กรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2546) . หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
วิชาการ, กรมกระทรวงศึกษาธิการ. (2548). เอกสารประกอบการดำเนินงานโครงการโรงเรียนเพื่อนเด็ก. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2540). จติบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณม์หาวิทยาลัย.
Patterson, J. (2010). Ways to teach life skills to young children. Retrieved March 20, 2014 , From http ://www.livestrong.com article/123413-teach-life-skills-youngchildren/.Article reviewed by Stephanie Skernivitz
UNESCO.(2002). Focusing Resources on Effective School Health. Retrieved March 19, 2014, From
http ://portal.unesco.org/education/en/ev.phpURL_ID=36637&URL_DO UNICEF.(2004). Definition of Terms: Life skills. Retrieved January 17, 2014, from
http ://www.unicef.org/teachers/teacher/lifeskill/htm WHO. (1997) .
Life skill education for children and andolescents in school. Geneva: WHO.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Articles that are published are copyrighted by the authors of the articles