การจัดการศึกษาโดยครอบครัว

Authors

  • อุรสา พรหมทา Journal of Research for Social and Community Development, Rajabhat Maha Sarakham University
  • จําเนียร พลหาญ Journal of Research for Social and Community Development, Rajabhat Maha Sarakham University

Keywords:

อาจารยป์ระจําสาขา การบรหิารจัดการการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภฏัมหาสารคาม, รองอธกิารบดีฝุายวิจยัวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลยัราชภฏัมหาสารคาม

Abstract

การศึกษามีบทบาทและความสําคัญอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตของคนและสังคม โดยเฉพาะการเตรียมคนเข้าสู่ ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นภารกิจหลักของการศึกษาโดยตรง ขณะเดียวกันความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของโลกทําให้มี ความจําเป็นต้องกลับมาทบทวนและออกแบบการศึกษากันใหม่ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ทางด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคโนโลยี (รุ่ง แก้วแดง. 2543 : 1-2) การศึกษาของไทยมีการ ปฏิรูปการศึกษาของไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2542 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในระบบการศึกษา ได้มีการ ตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเน้นหลักการบริหารจัดการในสองส่วนที่สําคัญ คือ การ กระจายอํานาจทางการศึกษาและการให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดศึกษา (ALL For Education) (ไพรัช อรรถกามานนท์ และ มัณฑนา โชควรวัฒนกร. 2545 : 3) ซึ่งหลักสําคัญในการปฏิรูปการศึกษา คือ การ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมเป็นผู้จัดการศึกษานอกเหนือจากรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดําเนินการอยู่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความหลากหลาย ยืดหยุ่น สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียนตรงตามธรรมชาติการเรียนรู้ที่มุ่งสู่ ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มากขึ้น (สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2550:29-30) โดยพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติได้บัญญัติไว้ในมาตรา 12 โดยได้กล่าวถึงในเรื่องสิทธิของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่นใน สังคมได้มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 จึงถือเป็นการคืนสิทธิ์การจัดการศึกษาที่แต่เดิมรัฐผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวให้กับครอบครัวการ จัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองเป็นผู้รับผิดชอบจัด การศึกษาให้กับบุตรหลานโดยเป็นผู้สอนด้วยตนเอง หรือเป็นผู้อํานวยการให้ผู้เรยีนได้เกิดกระบวนการเรยีนรู้ มีการ วางแผนการจัดการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบุคคลในครอบครัว โดยผู้เรียนสามารถกําหนดวิถีการเรียนรู้ได้ ด้วยตนเอง โดยใช้วิถีการดําเนินชีวิตประจําวันบูรณาการเข้ากับหน่วยการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน โดยยึดหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญและพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ ซึ่งรูปแบบของ การจัดการศึกษามีความหลากหลายในเรื่องปรัชญา ความคิด ทัศนะ ความเชื่อของแต่ละครอบครัว โดยจะต้องจัด ตามหลักการและแนวการจัดการศึกษาที่กําหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545

References

ไพรัช อรรถกามานนท์ และมัทนา โชควรวัฒนกร. (2545). การส่งเสริมชุมชมและท้องถิ่นในการปฏิรูป การศึกษา. กรุงเทพฯ : สํานักงานปฏิรูปการศึกษา.

ยุทธชัย อุทัยวรรณ เฉลมิชัย. (2543). รูปแบบและพัฒนาการการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

รุ่ง แก้วแดง. (2543). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : มติชน.

วิศิษฐ์ วังวิญํู. (2548). โรงเรียนท าเอง Home Made School. กรุงเทพฯ : ศยาม.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. คู่มือครอบครัวก้าวแรกสู่บ้านเรียน : หลักการคิดและกระบวนการเข้าสู่ การศึกษาโดยครอบครัว. (2549). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

. (2550). รายงานการวิจัยภาคีบ้านเรียนการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างครอบครัวส านักงาน เขตพื้นที่การศึกษาและเครือข่าย. กรุงเทพฯ : สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Downloads

Published

2014-07-31

How to Cite

พรหมทา อ., & พลหาญ จ. (2014). การจัดการศึกษาโดยครอบครัว. Journal for Developing the Social and Community, 1(2), 26–32. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/211139

Issue

Section

Research Articles