ข้อเสนอการยกระดับคุณภาพครูไทย ในศตวรรษที่ 21

Authors

  • พิณสุดา สิริธรังศร Journal of Research for Social and Community Development, Rajabhat Maha Sarakham University

Abstract

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสารป๎จจุบัน บนโลกไร้พรมแดนที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวดเร็วและรุนแรง การศึกษายังคง เป็นกลไกสําคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์และการพัฒนาประเทศที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ให้สามารถดํารงชีวิต ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างยั่งยืน ทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย รวมทั้ง การศึกษาตลอดชีวิต การจัดระบบการศึกษาที่สนองตอบความต้องการของบุคคล สังคม และประเทศชาติมากเท่าไร หมายถึงการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นเพียงนั้น บุคคลสําคัญที่สุดใน กระบวนการพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ ก็คือ “ครู” ครูยังคงเป็นผู้ที่มีความหมายและป๎จจัยสําคัญ มากที่สุดในห้องเรียน และเป็นผู้ที่มีความสําคัญต่อคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้เพราะคุณภาพของผู้เรียนขึ้นอยู่กับ คุณภาพของครู (McKinsey, 2007; วรากรณ์ สามโกเศศ, 2553; ดิเรก พรสีมา, 2554) ครูเป็นป๎จจัยสําคัญใน ระดับโรงเรียนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนมากที่สุด จากการทดสอบระดับนานาชาติ ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรู้สูง จะมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่า ขณะเดียวกันประเทศที่มีประชากรมีการศึกษาดีมี คุณภาพจะมีความเป็นประชาธิปไตยและเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมสูงกว่า (Hanushek และ Rivkin, 2010) ทําอย่างไร ที่จะให้ครูได้รับการพัฒนาคุณภาพ มีศักยภาพ เป็น “ครูเพื่อศิษย์” อย่างสมบูรณ์ มีทักษะการเรียนรู้ และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง ระหว่างเป็นครูเป็นการเรียนรู้ และมีศักดิ์ศรี สําหรับการเป็นครูเพื่อศิษย์และเพื่อการดํารงชีวิตของตนเอง (วิจารณ์ พานิช, 2553) มีสมรรถนะและความ เชี่ยวชาญในการทํางานที่ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการทํางานที่เน้นทักษะมากกว่าความรู้ (กฤษณพงศ์ กีรติกร, 2557) เปลี่ยนวิธีการสอนที่เน้น “วิชาเป็นตัวตั้ง”เป็น “เน้นชีวิตผู้เรียนเป็นตัวตั้ง” (ประเวศ วะสี, 2552) หรือมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (ราชกิจจานุเบกษา, 2542) อย่างจริงจัง มีการพัฒนาวิชาชีพเป็นที่ยอมรับ ของสังคม (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2555) เป็นครูที่มีค่า คือเป็นครูที่ทํางานแต่ไม่ทําเงิน คิดถึงส่วนรวมมากกว่าส่วน ตน ค้นคว้าเพิ่มพูนป๎ญญา และเปี่ยมไปด้วยเมตตากรุณา (สุมน อมรวิวัฒน์, 2555)

References

กฤษพงษ์ กีรติกร. (2557). “การยกระดับคุณภาพครู” ใน การประชุมคณะกรรมการปฏิรูประบบผลิตและ พัฒนาครู ครั้งที่ 2/2557วันที่ 24 มกราคม 2557.

ดิเรก พรสีมา. (2554). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพครู.(เอกสารอัดสําเนา).

พิมพันธ์ เดชะคุปต์และคณะ. (2555). “สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลยี่นแปลง.” ในไพฑูรย์ สินลารัตน์. (บรรณาธิการ). เพื่อความเป็นเลิศของการครุศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลยัธุรกิจ บัณฑิตย์.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2549). รายงานการวิจัยเรื่อง การกระจายอำนาจทางการศึกษาของประเทศนวิซีแลนด์. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
_______(2556). “การจัดการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ ญปีุุ่นและนิวซีแลนด์” ใน รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพนื้ฐาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกจิบัณฑติย์.

_______ (2556).(บรรณาธิการ). การจัดการศึกษาในประชาคมอาเซียนและคู่เจรจา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑติย์.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต ิพ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก วันที่ 19 สิงหาคม 2452.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). (บรรณาธิการ). เพื่อความเป็นเลิศของการครุศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑติย์.

ประเวศ วะสี. (2552). คําบรรยายเรื่อง การศึกษาที่พาชาติออกจากวิกฤติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์.

มหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์. (2556).รายงานการวิจัยรูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาครูสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการคุรสุภา.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรืองและอธิป จติตฤกษ์. (ผู้แปล). (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: Openworlds.

วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553). ข้อเสนอระบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2553). ครูเพื่อศิษย์. กรุงเทพ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.

สุมน อมรวิวัฒน์.(2554). ครุศึกษากับความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพืพัชรินทร์ พี.พี.

________ (2555). “ครุวาที มองครู มีใคร ที่ใช่ครู.” ใน ไพฑูรย์ สนิลารัตน.์ (บรรณาธิการ). เพื่อความเป็นเลิศ ของการครุศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรุกิจบณัฑิตย.์

สํานักงานกรรมาธิการ 3, สํานักงานเลขาธิการวุฒสิภา. รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง แนวทางการปฏิรูป การศึกษาในทศวรรษที่สองของคณะกรรมาธิการวุฒิสภา. กรุงเทพฯ : สํานักการพิมพ์ สํานักงาน เลขาธิการวุฒสิภา.

สํานักงาน ก.ค.ศ. (2556). จ านวนครูเกษียณ ปี 2556 – 2560.(เอกสารอัดสําเนา).

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สภาวะการขาดแคลนครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาและ ข้อเสนอแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค

________ (2555). “รูปแบบการส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษาของต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ เกาหลี ใต้ และญี่ปุุน” ใน รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบกลไกการส่งเสรมิการกระจายอ านาจการบริหารจัด การศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

________ (2556). นโยบายด้านครู. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

________ (2557). สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2556-2557. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

สํานักงานสรา้งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคณุภาพเยาวชน.(2557). สรุปผลการสัมมนาการยกระดับครูไทย ในศตวรรษที่ 21 วันที่ 18 มีนาคม 2557.(เอกสารอัดสําเนา).

สํานักทดสอบทางการศึกษา สํานกังานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (2554-2558) ของสถานศึกษา สังกัดส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2554.

สํานักนโยบายและแผน สาํนักงานเลขาธิการครุุสภา. (2557). เอกสารประกอบการประชุมคณะอนกุรรมการวิจัย และพัฒนาการประกอบวิชาชีพ ครั้งที่ 1/2557 วันที่ 28 กุมภาพนัธ์ 2557.

Center on International Education Benchmarking. School-to-Work Transition. (2014, March 1).Retrieved from https://www.ncee.org/programs-affiliates/center-on-internationaleducation-benchmarking/top-performing-countries/finland-overview/finland-schoolto-work-transition/

Center on International Education Benchmarking. Teacher and Principal Quality. (2014, March 1).Retrieved from https://www.ncee.org/programs-affiliates/center-on-internationaleducation-benchmarking/top-performing-countries/finland-overview/finlandteacher-and-principal-quality/

Center on International Education Benchmarking. Teacher and Principal Quality. (2014,March 1). Retrieved from https://www.ncee.org/programs-affiliates/center-on-internationaleducation-benchmarking/top-performing-countries/japan-overview/japan-teacherand-principal-quality/

Center on International Education Benchmarking. Education For All Student Support Systems. (2014,March 1). Retrievedfrom https://www.ncee.org/programs-affiliates/center-oninternational-education-benchmarking/top-performing-countries/new-zealandoverview/new-zealand-education-for-all/

Center on International Education Benchmarking. Instructional Systems. (2014, March 1). Retrieved from https://www.ncee.org/programs-affiliates/center-on-internationaleducation-benchmarking/top-performing-countries/new-zealand-overview/newzealand-instructional-systems/

Center on International Education Benchmarking. School-to-Work Transition. (2014,March 1). Retrievedfrom https://www.ncee.org/programs-affiliates/center-on-internationaleducation-benchmarking/top-performing-countries/new-zealand-overview/newzealand-school-to-work-transition/

Center on International Education Benchmarking. Teacher and Principal Quality. (2014, March 1). Retrieved from https://www.ncee.org/programs-affiliates/center-on-internationaleducation-benchmarking/top-performing-countries/south-korea-overview/southkorea-teacher-and-principal-quality/

Hanushek และ Rivkin. (2010). The Distribution of Teacher Quality and Implications for Policy. (2014, March 1). Retrievedfrom

https://www.jstor.org/discover/10.2307/27805002?uid=2&uid=4&sid=21103699433723 Hattie., John A.C., (2009). Visible Learning. New York: Routledge.

McKinsey. (2007). McKinsey Report on Education. (2014, March 1). Retrieved from
http//www.mckinsey.com.

Ministry of Education. New Zealand -overview. (2014,March 1). Retrievedfrom
https://www.ncee.org/programs-affiliates/center-on-international-educationbenchmarking/top-performing-countries/new-zealand-overview/

OECD. (2012). PISA 2012 Results in Focus. (2014, March 1). Retrievedfrom

https://www.oecd.org/pisa/keyfindings/pisa-2012-results.htm The Wisdom and Teaching of Stephen R .Covey. (2012).
London: Simon&Schuster.

UNESCO. Educational Development in Japan. (2014, March 1). Retrievedfrom
https://www.unesco.org/education/wef/countryreports/japan/rapport_1.html United Nations Development Group. (2013). A Million Voices: The World We Want. (2014, March 20). Retrievedfrom https://www. worldwewant 2015

Downloads

Published

2014-07-31

How to Cite

สิริธรังศร พ. (2014). ข้อเสนอการยกระดับคุณภาพครูไทย ในศตวรรษที่ 21. Journal of Research and Development Institute Rajabhat Maha Sarakham University, 1(2), 2–14. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/211125

Issue

Section

Research Articles