การพัฒนาแบบสอบถามและแบบวัดทางจิตวิทยา

Authors

  • สมบัติ ท้ายเรือคำ รองศาสตราจารย ์ดร.ภาควิชาวิจยัและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ คมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

แบบสอบถาม (Questionnaires) และแบบวัดทางจิตวิทยา (Psychological Test) เป็น เครื่องมือที่เหมาะสมในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงสำรวจ ในกรณีที่กลุ่มตัวอย่างหรือกี่ลุ่มประชากรที่จะ รวบรวมข้อมูลนั้นอยู่ในลักษณะที่กระจัดกระจายกันมาก ๆ ประกอบกับผู้วิจัยมีงบประมาณและเวลาในการวิจัย ค่อนข้างจำกัด ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวจะประกอบด้วยชุดของคำถามที่ต้องการให้กลุ่มตัวอย่างตอบ โดยกา เครื่องหมายหรือเขียนตอบุหรี่อกรณีที่กลุ่มตัวอย่างอ่านหนังสือไม่ได้หรืออ่านได้ยากอาจใช้วิธีสัมภาษณ์ตาม แบบสอบถาม แบบสอบถามนิยมถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่ไม่ซับซ้อนของบุคคล แต่กรณีที่เป็น แบบวัดทางจิตวิทยาใช้วัดเกี่ยวกับคุณลักษณะทางจิต (Psychology Trail) ของบุคคล โครงสร้างของแบบสอบถามและแบบวัด โดยทั่วไปจะมีโครงสร้างหรือส่วนประกอบ 3 ส่วน ดังนี้ 1. คำชี้แจงในการตอบ ที่ปกของแบบสอบถามและแบบวัดจะเป็นคำชี้แจง ซึ่งมักจะระบุถึง จุดประสงค์ในการให้ตอบุหรี่อจุดมุ่งหมายของการทำวิจัย โดยจะอธิบายลักษณะของเครื่องมือวิธีการตอบ พร้อมตัวอย่าง2. สถานภาพส่วนตัวผู้ตอบ ส่วนที่ 2 ของแบบสอบถามหรือแบบวัดมักจะให้ตอบเกี่ยวกับ รายละเอียดส่วนตัว เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ แล้วแต่กรณี 3. ข้อคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความคิดเห็นที่ต้องการถามหรือคุณลักษณะที่ต้องการวัด ซึ่งเป็น ส่วนที่สำคัญที่สุดซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลหรือรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษา

References

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ ท้ายเรือค า. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยส าหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5 มหาสารคาม : ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Aiken, Lewis R. (1991). Psychological Testing and Assessment. 7th ed. Boston : Allyn and Bacon.

Kerlinger, Fred N. (1986). Foundations of Behavioral Research. 3rd ed. Winston, Inc.

Downloads

Published

2016-01-31

How to Cite

ท้ายเรือคำ ส. (2016). การพัฒนาแบบสอบถามและแบบวัดทางจิตวิทยา. Journal of Research and Development Institute Rajabhat Maha Sarakham University, 3(1), 35–48. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/210928

Issue

Section

Research Articles