สาราณียธรรม : หลักธรรมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย

Authors

  • พระมหาประเสริฐ สุเมโธ (เพชรศรี) นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, นักจัดการ งานทั่วไป วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นายปิยวัฒน์ คงทรัพย์ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Abstract

ความแตกแยกในทางสังคมและการเมืองเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของมนุษย์ชาติที่มีมาอย่างยาวนาน คู่กับประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ผลจากความแตกแยกขัดแย้งก็มักจะลงเอยคล้าย ๆ กันทุกครั้ง คือต้อง เสียเลือดเสียเนื้อของผู้ที่ขัดแย้งกันโดยตรงหรือผู้ที่เข้าไปร่วมวงขัดแย้งกับคู่กรณีนั้น สงครามระหวางเผ่าพันธุ์ หรือสงครามโลก หรือแม้แต่สงครามระหวางผู้เคร่งศาสนาก็ล้วนมีสาเหตุมาจากความแตกแยกขัดแย้ง สาเหตุ สำคัญของความขัดแย้งที่มนุษย์สามารถจับอาวุธเข้าทำลายล้างกันได้อย่างหนึ่งคือความขัดแย้งทางความคิด จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งทั้งหลายที่ลุกลามไปสู่สงครามระหวางท้องถิ่น หรือสงครามกลางเมืองล้วนมีสาเหตุ มาจากความขัดแย้งทางความคิดทั้งสิ้น ซึ่งสอดคล้องกับทัศนะของพระครูปลัดไพฑูรย์ เมธิโก (2557 : 56) ได้ กล่าวถึง ในปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤติการณ์ความขัดแย้งที่มีความซับซ้อน และมีความเป็น พลวัตรสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ อันเกิดจากการสะสมของความรุนแรงเชิงโครงสร้างทางสังคม (Structural Violence) ที่กีดขและทำให้ผู้คนรู้สึกแปลกแยกและแบ่งแยกคนในสังคมออกจากกัน ผสานกับความรุนแรงทางวัฒนธรรม (Cultural Conflict) ที่ให้ความชอบธรรมกับความรุนแรงเชิงโครงสร้างและความรุนแรงทางตรง นอกจากนั้น ชั้นต่อไปของปัญหายังถูกกดทับด้วยปัญหาพัฒนาการและการขยายตัวของความขัดแย้งที่เจริญเติบโตควบคู่ไป กับยุทธศาสตร์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ ซึ่งเกิดจากการที่รัฐใช้กลไกทางเศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อน สถาบันต่าง ๆ ของประเทศเพียงกลไกเดี่ยว จนทำให้ประชาชนในชนบท คนด้อยโอกาส และคนยากจนถูกยัด เยียดสถานะของการเป็นคนชายขอบของสังคม โดยที่พวกเขาเหล่านั้นไม่มีสิทธิ์เลือก ผนวกกับปัญหาการบริหารงานของรัฐแบบรวมศูนย์แต่กระจัดกระจายปัญหาประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่ไม่มีประสิทธิภาพ และปัญหาทางด้านโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่ไม่เท่าเทียม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ผสานรวมตัวกันจนกลายเป็น วิกฤติการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทย ที่ไม่สามารถหาทางออกได้และเมื่อประชาชนไม่ได้รับความยุติธรรมใน สังคมอย่างที่ควรจะเป็น และรัฐไม่สามารถแก้ปัญหาและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง จึงก่อให้เกิดการประท้วงดื้อแพ่งหรือกี่ี่ารขัดขืนอย่างสงบ (Civil Disobedience) จนถึงขั้นใช้กำลังและความรุนแรงในการเรียกร้อง และคัดค้านอำนาจรัฐดังที่ปรากฏอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ส่วนพระครูนิภาสธรรมาธิมุต (อำพร ปริมุตฺโต) (2553 : 1) ได้กล่าวถึง สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวิถีชีวิต ผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนำมาเป็นเวลาช้านาน การดำเนินชีวิตจะควบคู่ไปกับศาสนาโดยการนำเอาหลักธรรม มาเป็นครรลองชีวิตเสมอมาโดยรวมคือว่า สังคมไทยกับพระพุทธศาสนาเอื้อเฟื้อเกื้อหนุนและส่งเสริมกันมา ตลอด ในแง่ของจริยธรรม พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของสังคมไทยมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังจริยธรรม จนทำให้สังคมมีความสงบร่มเย็นมีความสุขมาโดยตลอด กล่าวคือมีความผู้กพันกับวิถีชีวิตคนไทยตั้งแต่เกิดจน กระทั้งตาย การดำเนินชีวิตด้วยการนำหลักธรรมทางศาสนำมาปฏิบัติเป็นการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ จริยธรรมที่ต้องมีศาสนาเป็นแกนหลัก ผู้เขียนจึงสรุปได้ว่า ท่ามกลางความขัดแย้ง ยังมีผู้คนจำนวนมากที่ว่างตัวเป็นกลางหรือที่มักเรียกกัน ว่า พลังเงียบ ซึ่งคนเหล่านี้จะเฝ้ามองอย่างมีความหวังว่า ปัญหาดังกล่าวจะยุติลงด้วยดีโดยมีบุคคลหรือกี่ลุ่ม บุคคลผู้หวังดีต่อประเทศชาติอย่างจริงใจมาช่วยประนีประนอมให้เรื่องร้ายกลายเป็นดีในที่สุด เพราะเชื่อว่า ” อยุธยาไม่สิ้นคนดี “ ดังนั้น ผู้หวังดีต่อประเทศชาติอย่างจริงใจโดยไม่มีผลประโยชน์ส่วนตนแอบแฝง นั้นมีอยู่ เป็นจำนวนมาก ถ้าได้รับแรงบันดาลใจที่ดีและมั่นใจได้ ท่านเหล่านั้นจะรวมพลังกันทำเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้ ตามที่หวัง เพราะประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถี ชีวิตของประชาชนชาวไทยมายาวนาน ชาวไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ นับถือพระ พุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งเป็นสรณะ และดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว ถานำพุทธวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ทรงแสดงแก่พระภิกษุสงฆ์มาประยุกต์ใช้กับปัญหาดังกล่าว น่าจะ ทำให้สังคมไทยยอมรับได้ และช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้หวังดีทั้งหลายได้ทำเรื่องร้ายให้กลายเป็นดี สมตาม ความหวังของสังคม และเพื่อให้เกิดความสงบสุขของสังคมไทย จึงขอเสนอหลักธรรมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในกันติสูตร คัมภีร์มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกิเลม 14 เพื่อเป็นแนวพิจารณาของผู้หวังดีต่อประเทศชาติดังนี้  

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูนิภาสธรรมาธิมุต (อ าพร ปริมุตฺโต). (2553). การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวตามหลักธรรม ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดไพฑูรย์ เมธิโก (มหาบุญ). (2557). พรหมวิหาร : ธรรมแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งของ สังคมไทย วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปี ที่ 1 (ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2557) หน้า 56.

Downloads

Published

2016-01-31

How to Cite

สุเมโธ (เพชรศรี) พ., & คงทรัพย์ น. (2016). สาราณียธรรม : หลักธรรมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย. Journal of Research and Development Institute Rajabhat Maha Sarakham University, 3(1), 21–29. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/210922

Issue

Section

Research Articles