แนวทางการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลกลุ่มจังหวัดภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร)
คำสำคัญ:
แนวทางการบริหารจัดการที่ดีบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการที่ดี ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในกุลมจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและเสนอแนะแนวทาง การบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบล ในกุลมจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มี วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาระดับการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลในกุลมจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนโดยการพิสูจน์สมมติฐานการวิจัยและยืนยันสมการโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงทฤษฎี กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของยามาเน่ (Yamane. 1973) ได้ จำนวนทั้งสิ้น 128 แห่ง ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยมีค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการผู้บริหารในส่วน ราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัด
สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง การสนทนากลุ่มเพื่อวิพากษ์ แนวทางที่สร้างขึ้น และทำการยืนยันแนวทางโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เกี่ยวข้องในการบริหารงานของ องค์การบริหารส่วนตำบลกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อยืนยันแนวทางได้ และให้ข้อเสนอแนะแนวทางปรับปรุงการบริหารจัดการที่ดีให้เหมาะสมต่อไป ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลในกุลมจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทั้ง 5ด้านเรยงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือการตอบสนองความต้องการของประชาชนและการพัฒนา ความรู้และการประเมินผลการปฏิบัติราชการผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจ ความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าเชิงภารกิจ และประโยชน์สุขของประชาชน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวทางการบริหารจัดการที่ดีของ องค์การบริหารส่วนตำบลกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนได้แก่ปัจจัยด้านพันธกิจ นโยบาย และกลยุทธ์ ด้านภาวะผู้นำด้านการมีส่วนร่วม และด้านบรรยากาศการเมืองขององค์กรโดยมีค่า สัมประสิทธิ์ถดถอยู่ในรูปคะแนนดิบ เท่ากับ 0.316, 0.227, 0.230 และ0.194 ตามลำดับส่วน สัมประสิทธิ์ถดถอยู่ในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.320, 0.271, 0.262 และ0.215 ตามลำดับ โดยที่ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 4 ตัว สามารถร่วมกันพยากรณ์แนวทางการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหาร ส่วนตำบลกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร) ร้อยละ 94.70 (R2 เท่ากับ 0.9470) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) แนวทางและการยืนยันการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (จังหวัด สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร) ที่เหมาะสมจะต้องมีการพัฒนาและเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม สำหรับผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างจิตสำนึกในวิชาชีพและควรมีหลักสูตรส่งเสริม จริยธรรมสำหรับบุคลากรของท้องถิ่น ทุกระดับที่มีมาตรฐาน ปรับกลไกและวิธีการทำงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้ประชาชน หรือภาคีต่าง ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งหรือรับรรับทราบในการดำเนินงาน โดยอาจจะอยู่ในลักษณะของคณะกรรมการดำเนินงาน หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรม โครงการนั้น ๆ ควรได้มีการรับทราบข้อมูลต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ในการบริหารงานของหน่วยงานจึงจะเกิด ประโยชน์อย่างแท้จริงต่อชุมชนและพื้นที่มีการสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาตุอประชาชน เพิ่ม ประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการในการดำเนินให้มากขึ้น เช่น ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน มี การกระจายอำนาจในการบริหารงานอย่างเป็นธรรม มีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ใน หน่วยงาน สร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างคุ้มค่า พร้อมการจัดกิจกรรมรณรงค์ ลด ประหยัด การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าซึ่งจะส่งผลให้การการบริหารจัดการมีประสิทธิผล และทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพต่อไป
References
Kovit Phong-ngam. (2007). Local Governance on Participation and Transparency. Bangkok : Local Government Promotion Foundation. [In Thai]
Kovit Phong-ngam. (2007). Thai local government. Bangkok: Winyoochon. [In Thai]
Likit Teeravekin. (2010). Thai Government Politics. 8th edition. Bangkok : Thammasat University. [In Thai]
Nipon Taburan. (2017). “Factors Affecting the Management of Local Administrative Organization in Ban Tha Khun, Surat Thani”. Governance Journal, 6 (2) : JulyDecember 2017.
Sanya Kenaphoom. (2018). “Applying the Concept of Political Utility through Voting Decision and Public Service Provision”. Local Administration Journal, 11 (1) : January-March 2018.
Sudarat Yodhaboribal (2011). “The Organizational Culture and performance of Muang Nakhonpathom District Council”, Academic Service Journal, Prince of Songkla University, 22 (2), 100-125. [In Thai]
Thanes Charoenmuang. (1997). 100 Years of Thai Local Government 1857-1997. Bangkok : flambeau [In Thai]
Yamane, Taro. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. New York : Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ