การปรับตัวของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในเขตตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การปรับตัวของประชาชน, การปูองกันและบรรเทาอุทกภัยบทคัดย่อ
ภัยพิบัติจากธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละปีทั่วโลกทำให้เกิดความสูญเสียทั้งร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ทั้งที่ในปัจจุบันมีการพัฒนาวิทยาการเพื่อลดความสูญเสีย แต่มนุษย์ก็ไม่สามารถ เอาชนะธรรมชาติได้ สำหรับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และก่อให้เกิดความเสียหายมากและบ่อยครั้งที่สุด คืออุทกภัย ซึ่งการเกิดอุทกภัยนั้น นอกจากสาเหตุที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติแล้ว การกระทำ ของมนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอุทกภัย เช่น การตัดไม้ทำลายุปา การวางผังเมืองอย่างไม่ถูกหลัก โยธาธิการหรือกี่ี่ารเติบโตของชุมชนเมืองอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการให้ความรู้ในการเตรียมการป้องกัน การสร้างความตระหนี่กถึงการพิทักษ์ดูแลชีวิตและทรัพย์สินและสิ่งแวดลอมแก่ประชาชนนั้น ถือว่ามี ความสำคัญในการช่วยบรรเทาความรุนแรง ลดความสูญเสียจากอุทกภัยอย่างมาก การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษา สภาพปัญหาเกี่ยวกับการปรับตัวของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับตัวของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ในเขตตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยประชากร ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือตัวแทนประชาชนที่มีประสบการณ์ และเคยประสบอุทกภัยซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร (Content Analysis) แล้วนำเสนอเชิง พรรณนา ผลการวิจัย พบว่าผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการปรับตัวในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ด้านการยอมรับความสูญเสีย พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า สามารถยอมรับได้เนื่องจากเป็นภัยธรรมชาติ และมีส่วน ร่วมในกิจกรรมของชุมชนตามปกติ แต่ผู้ให้สัมภาษณ์บางส่วนไม่สามารถยอมรับได้ แต่ไม่มีที่จะย้ายไปอยู่ ที่อื่นได้ ในส่วนด้านการลดความสูญเสียพบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์มีความคิดเห็นว่า มีการวางแผนและเตรียม ตัวในการลดความสูญเสีย เช่น ย้ายบ้านให้ห่างจากริมน้ำ และถมดินให้สูงขึ้น เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ภาครัฐต้องช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องและจริงจัง และต้องการให้ทางรัฐบริหารจัดการน้ำได้ดีขึ้น เช่น ทำผนังกั้นน้ำลำน้ำชี เป็นต้น นอกจากนั้นด้านการแสวงหาทางเลือกใหม่เพื่อบรรเทาความรุนแรงพบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์มีความคิดเห็นว่าไม่ย้ายถิ่นฐานไปีที่ใหม่เนื่องจากอยู่อาศัยมาตั้งแต่เกิด และไม่มีเงินทุน เพียงพออีกทั้งมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น และรัฐควรมีการส่งเสริมการอบรม การผลิต แปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อให้ขายนอกฤดูกาล พัฒนารายได้ ให้มีอาชีพเสริม นอกเหนือจากการทำเกษตร อีกทั้งควรมีการให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐในการทำเกษตรให้มากกว่านี้ และทำเป็นตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรม แต่มีผู้ให้สัมภาษณ์บางส่วนกำลังหาสถานที่เพื่อย้ายถิ่นฐานไปีที่ใหม่
References
Department of Disaster Prevention and Mitigation. (2013). Information on Flood and Mudslide Areas 2013. Bangkok : Department of Disaster Prevention and Mitigation. [In Thai].
Department of Public Works and Town & Country Planning. (2010). The Study Project of Principles of Feasibility Study and Design Flood Protection System in Community Area, Mahasarakham Province. Bangkok : Department of Public Works and Town & Country Planning. [In Thai].
Manat Suwan. (2005). The Response to the Natural Hazards' People : The Analysis Event's Thailand. Chiang Mai : Department of Geography, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University. [In Thai].
Office of Disaster Prevention and Mitigation, Mahasakham Province. (2014). Information of Flood Risk Areas. Mahasakham : Office of Disaster Prevention and Mitigation, Mahasakham Province. [In Thai].
Sitthisak Thoathuree. (2003). Perception and Adaptation to Relieve from Floods Hazard of Ban Namkho’s People 2001. Master of Arts Independent Study (Human and Environment Management), Chiang Mai University. [In Thai].
Srisuporn Srisuparb. (2001). Flood Mitigation of Hat Yai Municipality, Songkla Provine on 21 -25 November 2000. Bangkok : Office of Water Management and Hydrology. [In Thai]. Supang Chantavanich. (2005). Qualitative Research Methodology. 13th Edition. Bangkok : University. [In Thai].
Suraphon Promgun. (2011). Research Methods in Political Science. Bangkok : Odeon Store. [In Thai].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ