ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น, บุคลากรสายสนับสนุนบทคัดย่อ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคามการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่
ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัย ที่
ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามกลุ่ม
ตัวอย่างได้แก่ บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 200 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่ม
ตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใน
การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 64 ข้อ สถิติในการวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง
เดี่ยว F-test (One Way ANOVA) และMultiple Linear Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า
1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามดังนี้
(1) เจตคติต่อวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.65) (2)
ความผู้กพันต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.61)
(3) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ
บุคลากรสายสนับสนุน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X =4.57)
(4) การพัฒนาตนเองของบุคลากรสาย
สนับสนุนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.35)
(5) นโยบายของมหาวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับ
มากที่สุด ( X =4.32)
(6) การส่งเสริมและสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X
=4.19)
(7) ปัจจัยกดดันจากสังคมรอบข้างโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.29)
2. การเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน
200 คน ส่วนใหญ่อยู่ระหวางรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำผลงาน เพื่อเตรียม เข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น (เช่น
คู่มือการปฏิบัติงานงานวิจัยในงานประจำผลงานเชิงวิเคราะห์ หรือผลงานเชิงสังเคราะห์ ) จำนวน 123
คน คิดเป็นร้อยละ 61.50 มีผลงานเพื่อเตรียมเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อเตรียมเข้าสู่
ตำแหน่งที่สูงขึ้นแล้ว (เช่น คู่มือการปฏิบัติงานงานวิจัยในงานประจำผลงานเชิงวิเคราะห์ หรือผลงาน
เชิงสังเคราะห์ ) จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 19 สนใจตำแหน่งที่สูงขึ้น แต่ยังไม่ได้ทำอะไรเลยจำนวน
30 คน คิดเป็นร้อยละ 15 และอยู่ระหวางการยื่นขอรับการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นจำนวน 5 คน
คิดเป็นร้อยละ 2.50 ตามลำดับส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่แรงจูงใจใฝ่อำนาจและ
ประเภทของบุคลากรโดยตัวแปรดังกล่าวสามารถพยากรณ์ความแปรปรวนของการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
ได้ร้อยละ 13.90 (R2=0.139, F=14.900) อธิบายได้ว่า แรงจูงใจใฝ่อำนาจจะเป็นตัวผลักดันให้บุคลากร
สายสนับสนุนสร้างโอกาสในการเข้าสู่ตำแหน่งสูงขึ้น และประเภทของบุคลากรก็มีโอกาสที่เข้าสู่ตำแหน่ง
สูงขึ้นมากขึ้น
References
Bureau of Vector Borne Diseases, Department of Disease Control. (2016). Human Development Plan of Bureau of Vector Borne Diseases 2011-2013. Bangkok :Department of Disease Control, Ministry of Public Health.
Government Gazette. (2003). “Royal Decree on Criteria and Procedures for Good Governance, B.E. 2546 (2003),” Government Gazette No. 120 part 00A, 5 October2003.
Jiraprapha Akkaraboworn. (2009). Preparation of the Operation Manual. Bangkok: Management System Development Group, Office of The Public Sector Development Commission.
Rungsan Singhalert. (2009). Research Methods in Social Science. Mahasarakham :Rajabhat Mahasarakham University
Sanook Singmatr, Pikul Meemana and Theeraphat Thinseandee. (2017). “Quality of Life According to Philosophy of Sufficiency Economy of Teachers and Educational
Personnel in Yasothon Province”. Journal of Research and Development Institute,Rajabhat Maha Sarakham University, 4 (2) : July–December 2017, p. 147-158
Somnuek Phatthiyathanee. (2001). Educational Measurement. Kanlasin : Prosarn Printing.
Somporn Silsuwan. (2007). HR and Corporate Development to High Performance Organization. Documentation of academic seminars and lectures on 15-16
November 2007 at Miracle Grand Convention Hotel, Bangkok : Personnel Management Association of Thailand.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd.New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ