บทบาทเยาวชนในประเพณีแห่เทียนพรรษา : บทสะท้อนช่องว่าง ของกระบวนการเรียนรู้และสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
บทบาทเยาวชน, ประเพณีแห่เทียนพรรษา, กระบวนการเรียนรู, สืบสานวัฒนธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพิ่ิื่อศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ
วัฒนธรรมของท้องถิ่นที่มีต่อวิถีชีวิตและการถ่ายทอดค่านิยมดั้งเดิมเกี่ยวกับประเพณีแห่เทียนพรรษา
ของชุมชนอุบลราชธานี และศึกษากระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของประเพณีแห่เทียนพรรษา ใน
กลุ่มเยาวชนอุบลราชธานี
1. บทบาทของเยาวชน ด้วยความสำนึกในอดีตจึงถือเสมือนว่าเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตใน
สังคมทุกคนในสภาวะที่คนในสังคมเก่า สร้างความเป็นผู้มีจิตสำนึกต่อส่วนรวมในชุมชนลูกหลาน
เยาวชนมีความหนักแน่น และมีพลังมากกว่า จากการพิจารณาความสัมพันธ์ของคนในชุมชนนั้นกับอดีต
ดังจะเห็นได้จากประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ถูกประสาน ร้อยรัด เชื่อมโยงคนในรุ่นอดีตักบ
สังคมที่ในอดีตที่ฝานมายาวนาน แต่ไม่ได้ ผ่านเลยไป จิตวิญญาณของบรรพบุรุษนั้นได้รับการสืบทอด
ด้วยความเคารพยาเกรง ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟน จนกลายเป็นเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดี่ยวกันอดีตักบ
ปัจจุบันกลายเป็นเพียงเสี้ยวส่วนหนึ่งของนิรันดรกาลซึ่งจะหวนกลับคืนมาทุกครั้งที่เริ่มประเพณีใหม่ นั้น
คือการหวนกลับคืนมาของอดีต เป็นปัจจุบันอีกครั้งหนึ่ง ความเก่าแก่ของงานประเพณีในชุมชนท้องถิ่น
ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ของจังหวัดอุบลราชธานี้ไม่ได้ถูกทำให้เลือนหายไปจากความสำนึกของคน
ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่า หรือคนรุ่นใหม่ เพราะเท่าที่ผ่านประสบการณ์มายาวนานสำนึกในอดีต
ยังตราตรึงแน่นอย่างลึกซึ่งกับ วิถีชีวิตและแนวความคิดของคนในชุมชน
2. ด้านประเพณีการแห่เทียนพรรษา ประเพณีแห่เทียนพรรษา เกิดจาก ” ภูมิปัญญาชาวบ้าน “ สืบ
สานเป็น ” ภูมิปัญญาท้องถิ่น “ ก่อให้เกิด ” ภูมิพลังเมือง“ สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ประชาคมเป็นปึกแผ่น
มั่นคง แก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้ในการร่วมเป็น ” ภูมิพลังแผ่นดิน “ ประเพณีแห่เทียนพรรษา
อุบลราชธานีจึงเชิดชูเทิดทูน 3 สถาบันสำคัญสูงสุด คือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดำรงจิรัฐติกาล
หลอมใจถวายเทียนพรรษา น้อมบูชาพระรัตนตรัย ศรัทธาธรรมนำชาติไทย ถวายไท้มหาราชัน ชาว
อุบลราชธานี้ต่องนึกคิดไว้ว่า ” ประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นทุนทางสังคม ที่บรรพบุรุษสั่งสมนับร้อยปี มีจิต
วิญญาณและเป็นเอกลักษณ์ของอุบลราชธานี การนำงานประเพณีแห่เทียนพรรษาสู่สากลเพื่อส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวันั้น จำเป็นต้องยึดมั่นแก่นแท้ของเทียนพรรษาเป็นสิ่งสำคัญ แล้วผสมผสานภูมิปัญญาดั้งเดิมให้
กลมกลืนกันอย่างลงตัว ไม่ขัดเขินในลักษณะ ” อนุรักษ์ของเดิม ก่อนส่งเสริมของใหม่ “ จึงเป็นหน้าที่ี่ของ
ลูกหลานชาวเมืองอุบลที่ตองอูนุรักษ์และสืบสานให้ประเพณีเทียนพรรษายืนยงคงอยู่คู่อุบลราชธานีตลอดไป
3. ด้านการให้ความรู้และการเผยแพร่ประเพณี การจัดงานแห่ประเพณีเทียนพรรษาแต่ละปีของ
จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาและมีส่วนในการอนุรักษ์ประเพณีแห่เทียนพรรษาของ
จังหวัดอุบลราชธานี เพราะว่าคุ้มวัดและชุมชนเป็นแหลงศูนย์รวมสร้างต้นเทียนพรรษาและให้ความรู้ใน
ด้านประเพณีแห่เทียนพรรษาอยู่แล้ว เยาวชนต้องจะอยากจะทำ เพราะเยาวชนให้ความสำคัญ การสืบ
ทอดจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีศรัทธาอยากที่จะทำมีภูมิภาคใจ ทำอย่างไรจะให้เยาวชนลูกหลานได้เห็น
ความสำคัญของจุดนี้ แล้วการสืบทอดก็จะเกิดขึ้นเองเพราะว่ารักและห่วงแหนจึงจะเกิดความร่วมมือขึ้น
ในของเยาวชนกับวัดและชุมชนได้ในที่สุดนโยบายของรัฐต้องสอดคล้องและสนับสนุนกิจกรรมประเพณี
แห่เทียนพรรษา จึงจะสามารถสืบทอดภูมิปัญญาการทำเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้
เยาวชน เข้าวัดทำเทียนร่วมมีบทบาทอย่างมากในการเป็นศูนย์รวมในการให้ความรู้ในด้านประเพณีแห่
เทียนพรรษาประเภทต่าง ๆ ให้มีการถ่ายทอดวิชาการในการติดพิมพ์และการแกะสลักเทียนทุกขั้นตอน
ให้เด็กได้เรียนรู้ และมีการถ่ายทอดต่อ ๆ ไป ตลอดจนหาวิธีการทำให้เทียนพรรษาอยู่ได้นานใน
สภาพการณ์ปัจจุบัน และอยากให้หน่วยงานของรัฐหรือข้าราชการผู้ใหญ่เข้ามาส่งเสริมอย่างยั่งยืน
4. ด้านการแก้ปัญหาในการอนุรักษ์พลังแห่งความทันสมัยและผลกระทบต่อค่านิยมงาน
ประเพณีแห่เทียนพรรษางานประเพณีแห่เทียนพรรษามีมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการประกวด
ประชั้นแข่งขันกันจนเกินงาม ควรแข่งขันอย่างสร้างสรรค์ ,สมานฉันท์ ,กัลยาณมิตร โดยแบ่งประเภทการ
ประกวดกระจายออกไปให้ผู้เริ่มพัฒนาฝีมือมีโอกาสชนะ,ชื่นชมร่วมกัน วิธีการแก้ไขปัญหาด้าน
งบประมาณดำเนินงานนี้ แต่ละปีมีปัญหามาตลอดต้องหาทางแก้ไขเป็นปี ๆ ไป ควรมีการจัดตั้งกองทุน
เพื่อพัฒนางานประเพณีแห่เทียนพรรษา อย่างเป็นรูปธรรมที่มั่นคง ตัวอย่างเช่น ” กองทุนชาวอุบลฯ คน
ละบาทอนุรักษ์เทียนนักปราชญ์เมืองอุบลฯ “ เป็นต้น จงนึกคิดอยู่เสมอว่า ” ประเพณีแห่เทียนพรรษา
เป็นทุนทางสังคมที่สะสมนับ 100 ปี มีจิต วิญญาณและเป็นเอกลักษณ์ของอุบลราชธานี ที่ตองอูนุรักษ์ไว้
ให้ยืนยงคงอยู่คู่เมืองอุบลราชธานีการพัฒน่าจะสามารถทำให้คนได้รับความสุข ความสบายมากกว่า จึง
มองไม่เห็นใน ความสำคัญที่จะอนุรักษ์ในงานประเพณีวัฒนธรรมของหมู่บ้านได้อีกต่อไป จิตสำนึกในการ
สร้าง บุญกุศลการสืบทอด อนุรักษ์งานประเพณีจึงเป็นเพียงการรื้อฟื้นอดีตที่ผ่านมาให้กลับมาใหม่ โดย
ไม่ได้ใส่ความรู้สึก การสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในงานประเพณีเช่นดังเดิมงานประเพณีจึงเป็นเพียงการ
จัดกิจกรรมการร่วมกันของคนในหมู่บ้านที่สมาชิกทุกกลุ่มสามารถเข้าร่วมได้ โดยไม่มีการแบ่งชนชั้น
วรรณะ เป็นการเฉลิมฉลองที่บุคคลภายนอกและทุกคน ก็จะสามารถเข้าร่วมในงาน ได้โดยไม่รู้สึก
แตกต่างไปจากคนอื่นในงานประเพณี นอกจากนี้การเช้ามามีอำนาจของฝ่ายปกครองท้องถิ่นยังได้ฟ้าให้
ชุมชนสูญเสียอำนาจในการต่อรอง การตัดสินใจของตนเองไปการจัด ประเพณี เพื่อตอบสนองชื่อเสียง
สาระความบันเทิง การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนเท่าทีันระบบการคิดของคนในชุมชนเปลี่ยนไป
มีการคิดในรูปแบบเดี่ยวกัน ประเพณีไม่ได้ตอบสนอง ความรู้สึกร่วมกันของชุมชนเป็นเพียงวัฒนธรรม
ความบันเทิง ที่เผยแพร่ออกไปสู่สังคมอื่นที่สามารถจัดสร้างรูปแบบขึ้นมาใหม่ได้ ความสนุกสนาน ความ
ครึกครื้นอาจกลายเป็นแบบอย่างเป็นด้นแบบที่สร้างความเข้าใจให้แก่กลุ่มชาวบ้านกุลมีหนุ่ม-สาว กลุ่ม
วัยรุ่นเอาอย่างที่เหมาะสม ถูกต้องูฟาให้ความเป็นท้องถิ่นับนได้สูญหายไป
References
Chayaporn Sukprasert. (2017). “Sema : History, Value and Conservation Management of Buddhist Organization in Buriram Province” Journal of Research and
Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University, 4 (1) : January–June 2017 p. 135-150
Jurairat Janthamrong. (2007). Thai Social and Cultural. Bangkok : Faculty of Sociologyand Anthropology : Thammasat University.
Karnjana Keawthep, (2011). Heritage and Religion: Creative Power in the Community. 2nd ed. Bangkok : Alphabet Media 2011.
Keaw Ardharn. (2015). Interview : Candle maker-Print Version of Big Stick, Mueang District, Ubon Ratchathani Province (January 2015).
Pradub Khornkeaw. (2015). Interviews : Participants in the candlelight festival on the aspect of Candle Contest, Ubon Ratchathani (February 2015).
Wipaphan Upanisakorn and Natnalin Upanisakorn. (2017). “The Approach for Developing Community’s Morality Based Philosophy of Sufficiency” Journal of
Research and Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University, 4 (1): January–June 2017 p. 79-96
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ