Quality of Life According to Philosophy of Sufficiency Economy of Teachers and Educational Personnel in Yasothon Province

Authors

  • Pol.Sub.Lt. Dr. Sanook Singmatr อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
  • Pikul Meemana อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
  • Theeraphat Thinseandee อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตตามวิถีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดยโสธร และ (2) เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Study) ประชากร ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สังกัดในจังหวัดยโสธร ประกอบไปด้วย 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยโสธร เขต 1, (2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยโสธร เขต 2, และ 3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 (ยโสธร) รวมจำนวน 4,902 คน และ กลุ่มตัวอย่าง ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตตามวิถีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดยโสธร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยที่ระดับ 3.46 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อทั้ง 32 ข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้งจำนวน 21 ข้อ อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 12 ข้อ เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย จำนวน 3 ลำดับ ได้แก่ ข้อ 6. ท่านและครอบครัวได้ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิต เช่น การไม่นอกใจสามี ภรรยา เป็นต้น มีค่าเฉลี่ยที่ระดับ 3.69 รองลงมาคือ ข้อ 5. ท่านและครอบครัวยึดมั่นในหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย มีค่าเฉลี่ยที่ระดับ 3.68 ต่อมาคือ ข้อ 17. ท่านและครอบครัว มีวิธีการออมหลายรูปแบบในครัวเรือน เช่น กะปุกออมสิน ออมผ่านสถาบันการเงิน ออมผ่านกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น มีค่าเฉลี่ยที่ระดับ 3.68 ส่วนที่ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ 29. ท่านและครอบครัวของท่านมีการใช้พลังงานทดแทนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เช่น โซล่าเซล พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานก๊าซชีวภาพ เป็นต้น มีค่าเฉลี่ยที่ระดับ 2.71 ตามลำดับ

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. นนทบุรี : ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ

ณรงค์ ภูเยี่ยมจิตร. (2560). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธเนศน์ นุ่นมัน. (2558). หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ออนไลน์. ฉบับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2560.

บุญโชติ เกตุแก้ว. (2556) คุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรฝ่ายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้จัดการออนไลน์ (27 มิถุนายน 2556). บทความครูไทยมีหนี้เฉลี่ยคนละล้านบาท ศธ.ไฟเขียวเงินกู้ช่วยรายละ 2 แสน. [Online]https://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9560000078341. [26 มีนาคม 2560]

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2549). เศรษฐกิจพอเพียง. [Online] https://www.sufficencyeconomy.org. [26 มีนาคม 2560]

รังสรรค์ สิงห์เลิศ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ คณะมนุษศาสตร์. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาวสารคาม.

วิสูตร ธนชัยวิวัฒน์. (2550). รัฐธรรมนญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ู 2550. กรุงเทพฯ.

วีระวัฒน์ ประทีปรัตน์. (2542). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการทหารอากาศกองป้องกันทางอากาศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

สำราญ มีแจ้ง. (2557). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัย : ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทิน สายสงวน. (2533). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการ: ศึกษากรณีข้าราชการในสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรที่ประจําสำนักงานเกษตรอําเภอในภาคใต้. วิทยานิพนธ์

สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Yamane, Taro. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 2nd ed. ToKyo : John Weatherhill, Inc.

Downloads

Published

2017-12-31

How to Cite

Singmatr, P. D. S., Meemana, P., & Thinseandee, T. (2017). Quality of Life According to Philosophy of Sufficiency Economy of Teachers and Educational Personnel in Yasothon Province. Journal for Developing the Social and Community, 4(2), 147–160. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/209747

Issue

Section

Research Articles