ผลกระทบกระแสเงินสดกับอัตราส่วนทางการเงินต่อผลการดำเนินงานของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่ม SET 100
คำสำคัญ:
กระแสเงินสด , อัตราส่วนทางการเงิน , ผลการดำเนินงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่าผลกระทบกระแสเงินสดกับอัตราส่วนทางการเงินต่อผลการดำเนินงาน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่ม SET 100 โดยนำข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิซึ่งเก็บรวบรวมจากงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี ระหว่างปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2565 รวมระยะเวลา 3 ปี ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่ม SET 100 ที่มีฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน จำนวน 71 บริษัท รวม 219 ตัวอย่าง วิธีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า กระแสเงินสดส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ได้แก่ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ส่งผลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานด้านอัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น ในขณที่กระแสเงินสดจากกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนสินทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ และอัตราส่วนทางการเงินส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ได้แก่ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น และความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตรากำไรสุทธิ
References
ดารินทร์ แซ่จัง และ ดารณี เอื้อชนะจิต. (2566). ประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ สภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้สินที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรและผลตอบแทนจากเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 4(2), 92-106.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2545). ก้าวแรกของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). ส่วนสิ่งพิมพ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). ปี 2564 คนไทยสนใจลงทุนในตลาดหุ้นไทย ทำสถิติสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง. https://www.set.or.th/th/about/setsource/insights/article/17-setnote-volume2
ทิพาพร ยอดดำเนิน. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสด ผลตอบแทนของสินทรัพย์ และผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทยในกลุ่ม เอ็ม เอ ไอ กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค [การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต]. Sripatum University Institutional Repository. https://dspace.spu.ac.th/items/e6fcf684-59fa-40af-ac24-5212731ad435
ธีรกานต์ สวัสดิ์กุลสิริ (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนกลุ่ม SET50 ใน ตลาดหลักทรัพ์ย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าบัญชีมหาบัณฑิต]. Sripatum University Institutional Repository. https://dspace.spu.ac.th/items/bf4bab3a-601f-4f59-9c5b-7f870cf3f458
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี. (2562, 24 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 238 ง หน้า 3. https://www.tfac.or.th/upload/9414/OTtYqnyEg8.pdf
ประสิทธิชัย ดอกไม้หอม. (2563). ผลกระทบกระแสเงินสดต่อความสามารถในการทำกำไรและประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ [การค้นคว้าบัญชีมหาบัณฑิต]. Sripatum University Institutional Repository. https://dspace.spu.ac.th/items/f2e801ac-78b6-4df6-be81-7a9c248bd5fb
ภูมิศักดิ์ สินจรูญศักดิ์. (2564). ผลกระทบของกระแสเงินสดที่มีต่อกำไรสุทธิและกำไรในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ [การค้นคว้าบัญชีมหาบัณฑิต]. Sripatum University Institutional Repository. https://dspace.spu.ac.th/items/b570167c-5314-403d-9b38-9437b5c08ee4
สายชล มูลจิต. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำกําไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรม ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์. http://www.mbafin-abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/4
สุเมธ ธุวดาราตระกูล. (2566). การเปรียบเทียบระหว่างอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์กับอัตราส่วนกําไรสุทธิและอัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมในการทํานายอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของของบริษัทจดทะเบียนไทย. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 19(1), 81-96.
Eksandy, A., & Abbas, D. (2020). Relevansi Nilai Earning per Share, Price Book Value, Cash Flow, Current Ratio dan Harga Saham: Return on Asset Sebagai Pemoderasi. Journal Akuntansi, 12(2), 187-202. https://doi.org/10.28932/jam.v12i2.2152
Nasution, T. P. B., & Banani, A., Shaferi, I. (2022). The Influence of Financial Ratio and Dividend Policy on Profit Growth in Consumer Goods Industry Sector Companies Listed on the Indonesia Stock Exchange 2016-2020. International Conference on Sustainable Competitive Advantage, 3, 109-118.
Susilawati, D., Agusetiawan Shavab, F. A., & Mustika, M. (2022). The effect of debt to equity ratio and current ratio on return on assets. Journal of Applied Business, Taxation and Economics Research, 1(4), 325-337. https://doi.org/10.54408/jabter.v1i4.61
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น