ความสัมพันธ์ของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน กระแสเงินสด และการบริหารหนี้ ส่งผลต่อการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนี SET 100
คำสำคัญ:
การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน, กระแสเงินสด , การบริหารหนี้บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน กระแสเงินสดและการบริหารหนี้ที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนี SET 100 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 89 บริษัท รวมทั้งสิ้น 267 ข้อมูล ศึกษาระหว่างปี พ.ศ.2563-พ.ศ.2565 ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้
ผลการศึกษาพบว่า 1) การลงทุนอย่างยั่งยืน (ESG) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่การกำกับดูแลกิจการ (CGR) ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) กิจกรรมดำเนินงาน (CFO) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) แต่กิจกรรมจัดหาเงิน (CFF) ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (DA) ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) การลงทุนอย่างยั่งยืน (ESG) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่การกำกับดูแลกิจการ (CGR) ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) กิจกรรมดำเนินงาน (CFO) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) แต่กิจกรรมจัดหาเงิน (CFF) ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 6) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (DA) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (DE) และอัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (TIE) ไม่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 7) การลงทุนอย่างยั่งยืน (ESG) ดัชนีชี้วัดความยั่งยืน (DJSI) และการกำกับดูแลกิจการ (CGR) ไม่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตรากำไรสุทธิ (NPM) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 8) กิจกรรมดำเนินงาน (CFO) และกิจกรรมจัดหาเงิน (CFF) ไม่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตรากำไรสุทธิ (NPM) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 9) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (DA) ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตรากำไรสุทธิ (NPM) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (TIE) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตรากำไรสุทธิ (NPM) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
References
ไทยรัฐมันนี่. (2565). DJSI คืออะไร? พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยไปกับ ปตท. https://www.thairath.co.th/money/business_marketing/marketing/2587183
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). ผลกระทบวิกฤติโควิด 19 กับเศรษฐกิจโลก This Time is Different. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-magazine/256302TheKnowledge_ThisTimeisDifferent.html
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). มาตรการฟื้นฟูฯ พระรองที่พึ่งได้ในยุคโควิด. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/Article_Jun2021.html
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). ส่องเศรษฐกิจปี 2565 ก้าวแรกหลังมรสุมโควิด 19. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-magazine/Phrasiam-64-6/The-Knowledge-64-6-1.html
พจณี สีลาคำ. (2561). การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มูลค่าขององค์กรและผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. https://searchlib.utcc.ac.th/library/onlinethesis/305296.pdf
ยุพาภรณ์ โมห้างหว้า. (2565). การวิเคราะห์งบการเงิน. https://www2.spu.ac.th/award/34998/academic
ศูนย์พัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). การสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน Corporate Governance Report of Thai LISTED COMPANIES (CGR). https://setsustainability.com/page/cgr-corporate-governance-report
สมาร์ทฟินน์. (2565). ESG คืออะไร? ทำไมนักลงทุนถึงให้ความสำคัญ. https://www.smartfinn.co.th/article/what-is-esg
Lusy, Y. Hermanto, B., Panjaitan, T., & Widyastuti, M. (2018). Effects of current ratio and debt-to-equity ratio on return on asset and return on equity. International Journal of Business and Management Invention, 7(12), 31-39.
Todorov, K., & Marinova, D. (2009). Models of Sustainability. In The 18th World IMACS Congress and MODSIM09 International Congress on Modelling and Simulation (pp.1216-1222). Cairns, Australia.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น