สมรรถนะของนักตรวจสอบภาษีและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ในการปฏิบัติงานของนักตรวจสอบภาษีในสำนักงานสรรพากร ภาค 3

ผู้แต่ง

  • พรปวีณ์ ภูมิวงค์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ถิรวุฒิ ยังสุข คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

สมรรถนะของนักตรวจสอบภาษี , แรงจูงในการปฏิบัติงาน , ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะของนักตรวจสอบภาษีและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักตรวจสอบภาษีในสำนักงานสรรพากร ภาค 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักตรวจสอบภาษีในสำนักงานสรรพากร ภาค 3 จำนวน 223 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า 1) สมรรถนะของนักตรวจสอบภาษี คือ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสื่อสาร ด้านการวิเคราะห์แก้ไขปัญหา และด้านประสบการณ์การทำงาน ส่งผลเชิงบวกต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ และพบว่าด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสื่อสาร และด้านการวิเคราะห์แก้ไขปัญหา ส่งผลเชิงบวกต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านความทันเวลาของผลลัพธ์ ในขณะที่ด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสื่อสาร และด้านประสบการณ์การทำงาน ส่งผลเชิงบวกต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านมาตรฐานและความน่าเชื่อถือ 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของนักตรวจสอบภาษี การได้เป็นที่ยอมรับนับถือและสภาพแวดล้อมในการทำงานส่งผลเชิงบวกต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ ด้านความทันเวลาของผลลัพธ์ และด้านมาตรฐานและความน่าเชื่อถือ และพบว่าค่าตอบแทนและสวัสดิการ ส่งผลเชิงบวกต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านความทันเวลาของผลลัพธ์ ในขณะที่ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานส่งผลเชิงบวกต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานด้านความทันเวลาของผลลัพธ์ ด้านมาตรฐานและความน่าเชื่อถือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กมลภู สันทะจักร์ และนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2560). ปัจจัยของนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการม, 17(1), 17-31.

กรมสรรพากร . (2566). ประมวลรัษฎากร. www.rd.go.th/315.html

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). หลักสถิติ. ธรรมสาร.

จามจุรี ใจแก้ว และเบญจพร โมกขะเวส. (2564). อิทธิพลของทักษะผู้ตรวจสอบยุคดิจิทัลที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 19(2), 30-41.

จิตติมา ขำดำ, สุพิศ ฤทธิ์แก้ว และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2562). ความรู้ความสามารถของนักบัญชีและความเข้าใจในมาตรฐานการ จัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพงานบัญชีของสำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารนักบริหาร, 39(2), 52-65.

จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2557, 19 มีนาคม). ทักษะ. https://d.dailynews.co.th/article/223844/

ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของ สำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. คลังข้อมูลสถาบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม. https://dspace.spu.ac.th/items/09da8b5d-8fdf-4ab7-a0bd-0c0db2c33b2c

พีระพัฒน์ สมศรี และธัญนันท์ บุญอยู่. (2564). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการของกรมชลประทานปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 172-183.

ภัทราพร อุระวงษ์ . (2563). ทักษะการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานทางบัญชีของนักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. คลังข้อมูลสถาบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม. https://dspace.spu.ac.th/items/1a8b9c62-18ab-46fd-a2f5-e54ef5b23bec

ยุพาพร จันทร, ธีรวัตร์ ภูระธีรานรัชต์ และอุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ . (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 5(2), 16-30.

รังสิยา พิทักษ์คีรี และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานด้านการบัญชี ของกรมการเงินกลาโหม. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 17(2), 42-55.

รัตติยา เปรื่องประยูร และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2566). ทักษะการตรวจสอบภาษีและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพปฏิบัติงานของนักตรวจสอบภาษีสรรพากรภาค 1. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 4(2), 107-120.

ฤทัย อะโน. (2563). อิทธิพลของทักษะผู้ตรวจสอบแห่งอนาคตที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน [วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต]. คลังข้อมูลสถาบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม. http://dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789/8126/1/63502805%20

วสันต์ ครองมี, ปุณยวีร์ ยังดี, และพุฒิสรรค์ เกตุมรรค. (2020). ผลกระทบของทักษะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงานของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบริการด้านบัญชี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2(1), 67-86.

สกุณา มาอู๋ . (2562). ทักษะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต]. คลังข้อมูลสถาบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม. https://www.dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7109

สงกรานต์ ไกยวงษ์. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะความเป็นมืออาชีพของนักวิชาชีพบัญชีไทยในบริบทของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้สอบภาษีอากร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 23(72), 33-54.

สุภารักษ์ สุจารี และ พรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2565). อิทธิพลของทักษะนักตรวจสอบภาษีที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักตรวจสอบภาษีในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1529-1545.

สุรศักดิ์ ยืนยง. (2565). ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานบนระบบสารสนเทศของนายทหารสัญญาบัตร ในสังกัดกองทัพบก [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. คลังข้อมูลสถาบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม. https://dspace.spu.ac.th/items/0c03f4db-7b60-412d-bb7c-0a47f33dc0b1

Awotomilusi, N. S. D., Bako, L., & Ogunleye, A. W. (2022). Intellectual Capital and Financial Performance of Selected Consumer Goods Manufacturing Firms in Nigeria. International Journal of Economics, Business and Management Research, 6(11), 195-210.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. John Wiley & Sons.

Nugrahanto, A., & Alhadi, I . (2021). A tax audit quality: an empirical analysis of the use of information technology, competence, task complexity and time pressure. Info artha, 5(2), 75-92.

Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). Harper and Row.

Zaenal, M. E., Priyono, Rahayu, P. S., and Teddy, Chandra. (2015). Effect of Leadership Style, Motivation, and Giving Incentive on the Performance of EmployeesPT. Kurnia Wijaya Various Industries. Internation Education Studies, 8(10), 183-192.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-28