ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร ของโรงเรียนรัฐบาลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • จิรัชยา ดิษเจริญ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ปิยภรณ์ ชูชีพ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา , ประสิทธิภาพการทำงาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของบุคลากรของโรงเรียนรัฐบาลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่แตกต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกัน และ 2) ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรของโรงเรียนรัฐบาลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคลากรของโรงเรียนรัฐบาลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 203 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการทางสถิติ F -Test สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และสถิติการถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูลประชากรศาสตร์ในด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน รายได้ต่อเดือนและสังกัดโรงเรียนในปัจจุบันที่แตกต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรของโรงเรียนรัฐบาลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 2) ภาวะผู้นำด้านวิชาการในด้านการมองการณ์ไกล มีหลักการ หลักในการทำงาน หลักการปกครอง ความมุ่งประสงค์ การวางแผน ความยืนหยัด การบริหารคน และความรักองค์การ มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรของโรงเรียนรัฐบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และในด้านความจำเป็นพื้นฐานไม่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรของโรงเรียนรัฐบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

References

กษิดิ์เดช คำพุช. (2566). ‘ครูกระจุก โรงเรียนกระจาย’ ปัญหาการจัดสรรครูไทยที่ต้องแก้ไขก่อนจะสายเกิน. https://www.the101.world/teacher-shortage-problem/

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรัชญา ชัยชุมขุน. (2564). ภาระงานล้น แต่เงินน้อย สรุปปัญหา #ทำไมครูไทยอยากลาออก เมื่อครูถูกผลักให้เป็นผู้เสียสละ. https://thematter.co/social/education/why-thai-teachers-wanna-quit/160415

เจะฮานี สือแม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการปฏิบัติงานตามภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดของครูผู้สอนในอำเภอตากใบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ชลธิชา แย้มอุทัย. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู ในกลุ่มเครือข่ายของโรงเรียนอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกริก.

ทัตเทพ ทวีไทย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเทศบาลนครปฐม. วารสารการบริหารปกครอง, 10(2), 73-87.

บุญทรง สัปปุริสสกุล. (2549). ภาวะผู้นำที่มีคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอพนมทวน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2 [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Silpakorn University Repository. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/6839?attempt=2&

พรทิพย์ เพ็ชรนพรัตน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พักตร์สร สิรบุณยภัค. (2548). คุณภาพภาวะผู้นำที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลจังหวัดนนทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Silpakorn University Repository. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/6951

วิภาวรรณ เส็งสาย. (2561). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Silpakorn University Repository. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2042?mode=full

ศรีประไพร พลเยี่ยม และสมใจ ภูมิพันธุ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(3), 48-55.

ศักดา จักขุจันทร์. (2545). การใช้ภาวะผู้นำที่มีคุณภาพของผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคและวิทยาลัยอาชีวศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Silpakorn University Repository. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/6858?attempt=2&&locale-attribute=th

สกุลศักดิ์ ทิพย์ไชย. (2546). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สันทัด เสริมศรี. (2541). ประชากรศาสตร์ทางสังคม. มหาวิทยาลัยมหิดล.

สาธิต สุทธิยะรักษ์. (2546). ศึกษาภาวะผู้นำที่มีคุณภาพของผู้อำนวยการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital "วช.". https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/SU.the.2004.418

สำนักงานนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). รายชื่อ ร.ร.สังกัด สพฐ. ปี 2566. http://www.bopp.go.th/?page_id=878.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. https://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2565). รายงานสรุปภาพรวมการบริหารกำลังคนของส่วนราชการในฝ่ายพลเรือนและแนวโน้มค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ. https://resolution.soc.go.th/PDF_UPLOAD/2565/P_406668_1.pdf

อรรถชัย ณ ภิบาล. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Hutyai University E-Library. https://elibrary.hu.ac.th/book-detail/48427

Kotler, P. & Armstrong, G. (2013). Principle of Marketing (15th Ed.). Prentice Hall.

LearnEducation. (2023). ทำไมครูถึงอยากลาออก ? เมื่อครูลาออกช่วง Covid-19 กลายเป็นปัญหาใหญ่. https://www.learneducation.co.th/ทำไมครูถึงอยากลาออก-เม/

MacCallum, R. C., Widaman, K. F., Zhang, S., & Hong, S. (1999). Sample size in factor analysis. Psychological Methods, 4(1), 84–99. https://doi.org/10.1037/1082-989X.4.1.84

Peterson, E. & Plowman, E.G. (1953). Business organization and management. Richard D. Irwin.

Salkind, N. J. (2000). Exploring research. Prentice-Hall,Inc.

Sergiovanni, T. J. (1982). Ten Principles of Quality Leadership. Educational Leadership, 39(5), 330-336.

Steeves, P. (2020). How education is important?. https://autismnwaf.org/การศึกษาสำคัญอย่างไร/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23

How to Cite

ดิษเจริญ จ. ., & ชูชีพ ป. . (2024). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร ของโรงเรียนรัฐบาลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 6(3), 101–117. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/277938