ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ , ประสิทธิภาพ, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 5) เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ

จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงโดยมีช่วงอายุระหว่าง 30 - 39 ปี สถานภาพโสด การศึกษาส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพลูกจ้างเอกชนมากที่สุด มีรายได้เฉลี่ยต่อปี 150,001 – 300,000 บาท และส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยคำนวณและยื่นแบบภาษีเงินได้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเองมากที่สุด ด้านความรู้พบว่า ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยมีช่วงคะแนน 20-25 คะแนนมากที่สุด ระดับทัศนคติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และระดับประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนที่ในเขตกรุงเทพมหานครในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงเส้น (R) เท่ากับ 0.793 สัมประสิทธิ์สมการทำนายผลการเคราะห์ตัวแปรตาม (R 2) เท่ากับ 0.628 และ สัมประสิทธิ์ตัวกำหนดที่ปราศจากความเบี่ยงเบน (Adjusted R 2) เท่ากับ 0.625 โดยมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 62.50  แสดงว่า ตัวแปรอิสระของความรู้ และทัศนคติของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ส่งผลต่อตัวแปรตามประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05

References

กรมสรรพากร. (2559). การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทางไปรษณีย์. https://www.rd.go.th/7042.html

__________. (2563ก). เงินได้พึงประเมินแต่ละกรณีจะคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้เท่าใด?. https://www.rd.go.th/556.html

__________. (2563ข). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. https://www.rd.go.th/27860.html

__________. (2564ก). ตารางสรุปการหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2560. https://www.rd.go.th/59674.html

__________. (2564ข). อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2560 ที่จะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ.2561 เป็นต้นไป. https://www.rd.go.th/59670.html

กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. (2564). สถิติกรุงเทพมหานคร (ด้านสังคม) หมวดประชากร. https://data.bangkok.go.th/dataset/bmastats

กัมปนาท ปานสุวรรณ. (2558). ทัศนคติ และความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานและการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

จรัสโฉม ชมภูมิ่ง. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประสิทธิผลและผลกระทบของศูนย์โรงเรียน. [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. CUIR at Chulalongkorn University. https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=2051082

ชนิกานต์ จันทร์วิทยานุชิต. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ตในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 29 [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. DSpace at Srinakharinwirot University. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1836

ชวฤทธิ์ โยศรีคุณ. (2561). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามโครงสร้างภาษีใหม่ ปี 2560 ของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(1), 205-214.

ณัฐกานต์ นาคีเภท และ ฉันทิชา บัวศรี. (2563). ศึกษาความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(2), 97-112.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นันทพร ภัสสร. (2562). ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอันมีผลต่อการ จัดเก็บภาษีของประชาชนในอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

นัยน์ปพร ยุทธนาวา. (2554). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานของงานการเงิน วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุณยานุช รวยเงิน, มัลลิกา ชนะภัย และกัลยา บุญหล้า. (2565). ความรู้และทัศนคติต่อการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 31(2), 70-83.

พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา. (2563). ความคาดหวังของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในจังหวัดกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการหักลดหย่อนทางภาษี. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 10 (น.282-289). มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.

ไพจิตร โรจนวานิช, ชุมพร เสนไสย และสาโรช ทองประคำ. (2561). ภาษีสรรพพากร เล่ม 1 : คำอธิบายประมวลรัษฎากร. สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ).

วารีพร ชูศร, จุฑามาศ พรหมมนตรี, บุตรี บุญโรจนพงศ์, นลินี อึ้งคุณากูล และปิยาพัชร สันเจริญ. (2565). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชน ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13 (น. 3220-3234). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วิภาดา สุขสวัสดิ์. (2558). การศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ของผู้เสียภาษีอากรที่มีผลต่อทัศนคติการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 13 (เขตคลองเตย) [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสยาม.

ศิริรัตน์ พ่วงแสงสุข, รณพร พิทักษ์มวลชน, ไพสรณ์ สูงสมบัติ. (2561). ความรู้ความเข้าใจ ในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. https://repository.rmutp.ac.th/handle/123456789/3174?show=full

ศิริรัตน์ มากท้วม และประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของกำลังพลมณฑลทหารบกที่ 12. ใน รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11 (น. 634-644). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, สุพาดา สิริกุตตา, วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์, ปณิศา ลัญชานนท์, พิมพา หิรัญกิตติ และบัณฑิต ผังนิรันดร์ (2548). การวิจัยธุรกิจฉบับ ปรับปรุงใหม่. ธรรมสารการพิมพ์.

สายสมร สังข์เมฆ. (2553). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital "วช.". https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/274914

สิริมา บูรณ์กุศล, ธนาศักดิ์ ข่ายกระโทก, และอัจฉรา ชินนิยมพาณิชย์. (2563). ความรู้ความเข้าใจในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 (น. 252-262). มหาวิทยาลัยราชธานี

สุเมธ ศิริคุณโชติ, กำธร สิริชูติวงศ์, อดิศกัดิ์ สืบประดิษฐ์, และนายภิรัตน์ เจียรนัย. (2561). ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2561 (พิมพ์ครั้งที่ 1). หจก.เรือนแก้วการพิมพ์.

หทัยรัตน์ เหล็กพิมาย. (2564). ทัศนคติของผู้เสียภาษีที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

หทัยรัตน เหล็กพิมาย, ยุทธนาท บุณยะชัย, และ พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา. (2565). ทัศนคติของผู้เสียภาษีที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 16(1), 402-415.

อุไรพรรณ์ แซ่ลี. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของพนักงาน กลุ่มสถาบันการเงินในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. คลังข้อมูลสถาบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม. https://dspace.spu.ac.th/items/a84a180e-c832-4796-9eb1-0d3ccd032a34

Black, K. (2006). Business Statistics: for Contemporary Decision Making (4 th ed.). John Wiley and Son.

Bollen, K. A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. John Wiley and Sons.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). Harper & Row.

Foster, C. R. (1952). Psychology for Life Adjustment. American- Technical Society.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23

How to Cite

สิทธิพัฒนา พ. . (2024). ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 6(3), 45–68. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/277557