การสร้างแบบจำลองที่ตั้งศูนย์กลางการเชื่อมโยงของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
แบบจำลองการเลือกทำเลที่ตั้ง, ศูนย์กลางการเชื่อมโยง, การท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้งศูนย์กลางการเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อการท่องเที่ยวที่เหมาะสมสำหรับจังหวัดนครราชสีมา โดยวิธีการดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อการท่องเที่ยว 2) การพัฒนาแบบจำลองที่ตั้งศูนย์กลางการเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อการท่องเที่ยว ตามหลักการการเลือกทำเลที่ตั้ง แบบปัญหาการเลือกตำแหน่งฮับ และ 3) การประยุกต์ใช้แบบจำลองกับจังหวัดนครราชสีมา โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีไม่มีและกรณีมีศูนย์กลางการเชื่อมโยงการขนส่ง เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายโดยรวมในการเดินทาง รวมทั้งหาจำนวนและตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของที่ตั้งศูนย์กลางการเชื่อมโยงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อการท่องเที่ยว
ผลการศึกษาพบว่า การจัดตั้งศูนย์กลางการเชื่อมโยงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 3 แห่ง ในพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา ตำบลคลองม่วง อำเภอปากช่อง และตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง เป็นจำนวนที่เหมาะสมเนื่องจากสามารถลดค่าใช้จ่ายรวมในการเดินทางได้ 241,994 บาทต่อวัน หรือ ลดลงประมาณร้อยละ 27.38 เมื่อเทียบกับกรณีไม่มีศูนย์กลางการเชื่อมโยงการขนส่ง
References
กรมการปกครอง. (2565). ระบบสถิติทางการทะเบียน จำนวนประชากร พ.ศ.2565. https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/file/65/stat_t65.xls
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2566. https://www.mots.go.th/images/v2022_1710742389824cmVwb3J0X0RlYyAyNTY2Ui54bHN4.xlsx
กระทรวงคมนาคม. (2560). โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา. https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/ProjectOTP/2559/Project10/FinalReport.rar
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). นครราชสีมา. https://api.tat.or.th/upload/live/multimedia/9181นครราชสีมา_TH.pdf
การรถไฟแห่งประเทศไทย. (2566). ตารางเวลาเดินรถ สายตะวันออกเฉียงเหนือ. https://www.railway.co.th/Download/Timetable/2566/SRT-Timetable-2023-04-05-NortheasternLine.pdf.
จันท์ศิริ สิงห์เถื่อน. (2554). การเลือกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ให้บริการด้วยวิธีการหาคำตอบที่ดีที่สุด. วารสารวิศวกรรมสาร มก, 24(78), 107-122.
เจษฎา โพธิ์จันทร์, ภูพงษ์ พงษ์เจริญ, ใกล้รุ่ง พรอนันต์, สุนันท์ ธาติ และพณกฤษ อุดมกิตติ. (2565). การยกระดับระบบขนส่งและการเดินทางอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวไทย. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.). กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ณัฐนีภรณ์ น้อยเสงี่ยม, สาทินี วัฒนกิจ และ ทัชชญา สังขะกูล. (2562). กระบวนการค้นหาศักยภาพด้วยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 28(21), 50-64.
นพนันต์ เมืองเหนือ. (2556). ประเทศไทยกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 3(5), 58-65.
ปรัชญา ทารักษ์. (2552). การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานผู้ผลิตบานประตูหน้าต่าง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. DPU Learning Center & Library. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/138088.pdf
พรเพิ่ม แซ่โง้ว. (2553). การวิเคราะห์ที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าของอุตสาหกรรมต้มกลั่นสุราขาว กรณีศึกษา จังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Silpakorn University Repository. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/8374?attempt=2&
วศิน ปัญญาวุธตระกูล (2561). การจัดการชุมชนการท่องเที่ยวบนพื้นที่สูง กรณีศึกษาภูลมโลและพื้นที่เชื่อมโยงอย่างยั่งยืน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14(1), 151-197.
สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา. (2559). ประวัติความเป็นมา. https://nma.dlt.go.th/th/m_page_1654
สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ระยะ 5 ปี(พ.ศ. 2566 - 2570) ฉบับประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. https://www2.nakhonratchasima.go.th/files/com_ebook_strategy/2023-03_e4011bba3ea5719.pdf
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). รายงานสรุปการจัดทำบัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยวฉบับสมบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. https://www.mots.go.th/images/v2022_1681789818500VFNBIDI1NjUucGRm.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ เป็นรายจังหวัด พ.ศ. 2553 - 2562. https://www.nso.go.th/nsoweb/downloadFile/stat_impt/at/file_xls_th
John Walsh Khin Kyi Zin. (2019). Achieving Sustainable Community-Based Tourism in Rural Myanmar: The Case of River Ayeyarwaddy Dolphin Tourism. Zagreb International Review of Economics and Business, Faculty of Economics and Business, University of Zagreb, 22(2), 95-110.
Kantawateera, K., Naipini, A., Na Sakolnakorn, T. P., & Kroeksakul, P. (2015). Tourist Transportation Problems and Guidelines for Developing the Tourism Industry in Khon Kaen, Thailand. Journal of Asian Social Science, 11(2), 89-95.
Organisation for Economic Co-operation and Development. (2016). Intermodal Connectivity for Destinations. https://web-archive.oecd.org/2017-03-14/420822-2016%20-%20Policy%20paper%20on%20Intermodal%20Connectivity%20for%20Destinations.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น