การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน กรณีศึกษา กลุ่มผู้ผลิตน้ำพริกตาแดง ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • มานพ ชุ่มอุ่น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
  • อภิณัฏศ์ ญาณทักษะ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • วาริพิณ มงคลสมัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
  • แวววรรณ ละอองศรี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, น้ำพริกตาแดง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน กำหนดราคาขายและวางแผนกำไรที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์น้ำพริกตาแดงของตำบลป่าตุ้ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ กลุ่มผู้ผลิตน้ำพริกตาแดงตำบลป่าตุ้ม จำนวน 41 ราย เครื่องมือในการวิจัยใช้เชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่มย่อย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนและนโยบายในการประกอบธุรกิจ และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า การผลิตน้ำพริกตาแดงต่อ 15 กิโลกรัม ขนาดบรรจุ 100 กรัม จำนวน 200 กระปุก มีต้นทุนการผลิตรวมเท่ากับ 3,338.00 บาท แบ่งเป็นวัตถุดิบทางตรง 1,574.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 47 ค่าแรงงานทางตรง 900.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 27 และค่าใช้จ่ายในการผลิต 864.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 26 ด้านการกำหนดราคาขาย และการคาดการณ์กำไร ทางกลุ่มพิจารณากำหนดราคาขายเพื่อให้ได้กำไรที่ต้องการคือ 1 เท่าของต้นทุนการผลิต จากการคำนวณเท่ากับ 33.38 บาท ร่วมกับกลยุทธ์ราคาเชิงจิตวิทยาที่กำหนดราคาขายหน่วยละ 39.00 บาท ส่งผลให้กำไรจากการจำหน่ายเท่ากับ 4,421.00 บาทต่อครั้งการผลิต

References

กิ่งกนก รัตนมณี, ณพงศ์ วิวัฒน์สรรพกิจ, ปรัชญศรัณญ์ มรรษนัยน์, ปิยะวัฒน์ โสธารัตน์, และวิชชากร จินดากุล. (2560). การศึกษาการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดตรัง. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 15(1), 75-84.

กุณฑีรา อาษาศรี, กรรณิการ์ ไชยายงค์, และกุลนิดา พ่อสีชา. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนและกำไรจากการผลิตผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา บ้านเหล่าใหญ่ ตำบลเหล่าใหญ่ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), 129-148.

เทศบาลป่าตุ้ม. (2567). ประวัติความเป็นมา เทศบาลป่าตุ้ม. https://www.patum.go.th/view_file.php?id=557

ธัญปวีณ์ รัตน์พงศ์พร. (2562). นโยบายและกลยุทธ์ราคา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2562). การบัญชีต้นทุน 1. แพนด้าเลิร์นนิ่งบุ๊ค.

พรรณนิภา รอดวรรณะ. (2560). การบัญชีต้นทุน : หลักและกระบวนการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ขนมไทยโบราณของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 22(2), 169- 180.

มานพ ชุ่มอุ่น. (2565). หลักการตลาด. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เริ่ม ใสแจ่ม. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจติดตั้ง โซล่าร์รูฟท็อปในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 13(3), 101-114.

หนังสือพิมพ์บ้านข่าว. (2562). เมืองพร้าวเป็นเมืองที่มีความเจริญในพระพุทธศาสนา. http://bankaonews.com/?p=100344

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2565). การบัญชีต้นทุน. ซีเอ็ดยูเคชั่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23

How to Cite

ชุ่มอุ่น ม. . ., ญาณทักษะ อ. ., มงคลสมัย ว. . ., & ละอองศรี แ. . (2024). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน กรณีศึกษา กลุ่มผู้ผลิตน้ำพริกตาแดง ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 6(3), 89–100. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/275282