อิทธิพลของกิจกรรมการตลาดสื่อสังคมออนไลน์และความไว้วางใจต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • เมฑริกา อิงคเวศน์วานิช หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • ฉัตยาพร เสมอใจ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • พรพิมล สัมพัทธ์พงษ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

กิจกรรมการตลาดสื่อสังคมออนไลน์ , ความไว้วางใจ , เฟซบุ๊กไลฟ์, การตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) ปัจจัยกิจกรรมการตลาดสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ และ 2) ปัจจัยด้านความไว้วางใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ จำนวน 385 คน โดยเลือกสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการตลาดสื่อสังคมออนไลน์ ด้านความเฉพาะเจาะจง ด้านความนิยม ด้านการตลาดแบบปากต่อปาก (e-wom) และด้านปฏิสัมพันธ์ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ของผู้บริโภค โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 76 และ 2) ความไว้วางใจ ด้านการสร้างความประทับใจ ด้านการแก้ไขสถานการณ์ความขัดแย้ง ด้านการให้ความสะดวกสบาย และด้านการก่อให้เกิดข้อผูกมัด ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ของผู้บริโภค โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 83 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จิดาภา ทัดหอม. (2560). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจ และคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระบัณฑิตวิทยาลัย]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/2478

จีรพัฒน์ พิชัยกมลศิลป์. (2563). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์และความไว้วางใจที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊คไลฟ์ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. DSpace at Maejo University. http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/368

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชลติกานต์ ทิศเสถียร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กของผู้บริโภคระหว่างสถานการณ์โควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [การค้นคว้าอิสระบัณฑิตวิทยาลัย]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/5130

ฐานเศรษฐกิจ. (2566). Facebook ยังยืนหนึ่งแพลตฟอร์มที่แม่ค้าไลฟ์ขายของมากที่สุด. https://www.thansettakij.com/business/marketing/553809

ณชัยศักดิ์ จุณณะปิยะ. (2565). การตลาดสื่อสังคมออนไลน์. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 11(1), 64-76.

ธนาพล สมประสงค์. (2561). ปัจจัยการตลาดผ่านสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลตผ่านช่องทางเฟซบุ๊กของผู้บรโภค [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. DSpace at Srinakharinwirot University. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/409

บุญญาพร ศรีประเสริฐ, ฉัตยาพร เสมอใจ และพรพิมล สัมพัทธ์พงษ์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านการแพร่ภาพสดบนแอปพลิเคชัน Facebook ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 62-77.

ปารมี รอดกลิ่น. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจซึ่งทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทอัญมณีและเครื่องประดับผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. PSU Knowledge Bank. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12567?mode=full

มัสลิน ใจคุณ และจุริภาส โพธิ์ทองแสงอรุณ. (2562). การยอมรับเทคโนโลยี ความไว้วางใจ และการตลาดผ่านสังคมออนไลน์ ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ (Facebook LIVE) ของกลุ่มผู้บริโภค Generations X, Y, Z. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(2), 260-275.

เมฑริกา อิงคเวศน์วานิช, ฉัตยาพร เสมอใจ และพรพิมล สัมพัทธ์พงษ์. (2566). กิจกรรมการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์และความไว้วางใจที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ของผู้บริโภค [Paper presentation], การประชุมวิชาการระดับชาติ ราชพฤกษ์วิชาการ ครั้งที่ 2, นนทบุรี, ประเทศไทย.

ศรัณยนันฑ์ ศรีจงใจ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. DSpace at Srinakharinwirot University. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mark/Saranyanan_S.pdf

Agichtein, E., Castillo, C., Donato, D., Gionis, A., & Mishne, G. (2008). Finding high-quality content in social media [Paper presentation], the Proceedings of the 2008 international conference on web search and data mining, Palo Alto, California, United States.

Becker, H., Naaman, M., & Gravano, L. (2011). Beyond trending topics: Real-world event identification on twitter [Paper presentation], the Proceedings of the international AAAI conference on web and social media, Buffalo, New York, United States.

Chandrruangphen, E., Assarut, N., & Sinthupinyo, S. (2022).The effects of live streaming attributes on consumer trust and shopping intentions for fashion clothing. Cogent Business & Management, 9(1), 2034238.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. John Wiley & Sons.

Dahnil, M. I., Marzuki, K. M., Langgat, J., & Fabeil, N. F. (2014). Factors influencing SMEs adoption of social media marketing. Procedia-social and behavioral sciences, 148, 119-126.

Daugherty, T., Eastin, M. S., & Bright, L. (2008). Exploring consumer motivations for creating user-generated content. Journal of interactive advertising, 8(2), 16-25.

El-Masry, A., & Agag, G. (2016). Why do consumers trust online travel websites? Drivers and outcomes of consumer trust towards online travel websites. Journal of Travel Research, 56(3), 1-23.

Godey, B., Manthiou, A., Pederzoli, D., Rokka, J., Aiello, G., Donvito, R., et al. (2016). Social media marketing efforts of luxury brands: Influence on brand equity and consumer behavior. Journal of business research, 69(12), 5833-5841.

Grandison, T., & Sloman, M. (2000). A survey of trust in internet applications. IEEE Communications Surveys & Tutorials, 3(4), 2-16.

Han, W. (2021). Purchasing Decision-Making Process of Online Consumers [Paper presentation], Proceedings of the 2021 International Conference on Public Relations and Social Sciences, Kunming, China.

Jakwatanatham, S., Phayaphrom, B., & Nurittamont, W. (2022). The Impact of Social Media Marketing Activities on Consumer Purchase Intention: Case of Facebook Live Streaming. International Journal of Trend in Scientific Research and Development, 6(3), 659-673.

Kim, A. J., & Ko, E. (2012). Do social media marketing activities enhance customer equity? An empirical study of luxury fashion brand. Journal of Business research, 65(10), 1480-1486.

Kotler, P. & Keller, K. (2012). Marketing Management (14th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P., Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2016). Marketing 4.0: moving from Traditional to Digital. John Wiley & Sons.

Muntinga, D. G., Moorman, M., & Smit, E. G. (2011). Introducing COBRAs: Exploring motivations for brand-related social media use. International Journal of advertising, 30(1), 13-46.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior, Englewood-Cliffs. New Jersey: Prentice Hall.

Shao, G. (2009). Understanding the appeal of user‐generated media: a uses and gratification perspective. Internet research, 19(1), 7-25.

Stern, B. B. (1997). Advertising Intimacy: Relationship Marketing and the Services Consumer. Journal of Advertising, 26(4), 7-19.

Vanichbuncha, K. (2007). Statistical analysis: Statistics for management and research. Chulalongkorn University Printing House.

Yates, E., & Greenberg, S. (2014). Social media, legislation and bringing the public inside. [Paper presentation], the Proceedings of the 15th Annual International Conference on Digital Government Research, Aguascalientes, Mexico.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-28