ทักษะการปรับตัวของนักบัญชียุคดิจิทัล ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • มณีรัตน์ เอียดงามสม คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

ทักษะ, นักบัญชี , ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะการปรับตัวของนักบัญชียุคดิจิทัลในสถานประกอบการอุตสาหกรรม จังหวัดนนทบุรี และ 2) เปรียบเทียบทักษะการปรับตัวของนักบัญชียุคดิจิทัลในสถานประกอบการอุตสาหกรรม จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักบัญชียุคดิจิทัลในสถานประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จำนวน 317 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ ตามวิธีการของ Scheffé  

ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการปรับตัวของนักบัญชียุคดิจิทัลในสถานประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี |ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ทักษะด้านการบริหารจัดการอารมณ์และความคิด มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ทักษะความสามารถในการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ทักษะในการเป็นคู่คิดผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และส่วนค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ทักษะความรู้ด้านธุรกิจมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 2) นักบัญชียุคดิจิทัลในสถานประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีทักษะการปรับตัวแตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

References

เพ็ญนภา เกื้อเกตุ, ภูริชาติ พรหมเต็ม และวิโรจน์ ไพบูลย์เวชสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นมืออาชีพของนักบัญชียุคดิจิทัลและประสิทธิภาพการดำเนินงานของกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัด ในจังหวัดยะลา. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 153-166.

กัญญาพร จันทร์ประสิทธิ์. (2564). ประสิทธิภาพนักบัญชียุคดิจิทัลของสถานประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-9/6214155043.pdf

จิระพร เนตรนุช. (2565). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่มีต่อการพัฒนานักบัญชียุคดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(1), 1-18.

นันทวรรณ บุญช่วย. (2563). ยุคพลิกผันทางเทคโนโลยีกับการพัฒนานักบัญชีนวัตกร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(1), 15-26.

ปิยะพงศ์ ประไพศร และกาญจนา นันทพันธ์. (2563). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 421-435.

ลักษณ์มนล์ สุวรรณแสน. (2561). ทักษะทางวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชีการประปานครหลวง [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิยะดา สุวรรณเพชร. (2563). ผลกระทบของทักษะทางการบัญชีดิจิทัลที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานทางบัญชีของนักบัญชี ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. DSpace at Mahasarakham University. http://202.28.34.124/dspace/handle/123456789/1189

สำนักงานสถิติจังหวัดนนทบุรี. (2564, 31 ธันวาคม). รายงานสถิติจังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2564. https://nontburi.nso.go.th/reports-publications/provincial-statistics-report/nonthaburi-province-statistical-report-2021.html

อนุชา ถาพะยอม. (2563). ผลกระทบของความสามารถในการจัดการความเครียดและทักษะการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชี. วารสารนักบริหาร, 40(1), 31-43.

อริยา สรศักดา. (2562). สมรรถนะของนักบัญชีในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพสำนักงานบัญชี [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Ariya.Sor.pdf

Roy, C. (1999). The Roy adaptation model. Appleton & Lange.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd Ed.) Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

How to Cite

เอียดงามสม ม. (2024). ทักษะการปรับตัวของนักบัญชียุคดิจิทัล ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 6(3), 118–134. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/274435