แนวทางการจัดการกองทุนหมู่บ้านของประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ มะณีรัตน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ณกมล จันทร์สม อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การบริหารงานกองทุนหมู่บ้าน , วงจรบริหารงานคุณภาพ , กองทุนหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการกองทุนหมู่บ้านของประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรี และเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการกองทุนหมู่บ้านของประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วงจรบริหารงานคุณภาพมาใช้ในการสร้างเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำหมู่บ้าน และกรรมการกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 15 คน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ข้อมูลจากเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ออกมาในรูปแบบการพรรณนา

ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ปัญหาสำคัญในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ประกอบด้วย 6 ประเด็น คือ 1) สมาชิกของกองทุนได้รับข่าวสารของกองทุนหมู่บ้านไม่ทั่วถึง 2) การจัดทำบัญชี และเอกสารเกิดความผิดพลาด 3) สมาชิกและคณะกรรมการขาดการเข้าร่วมประชุม 4) คณะกรรมการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการกองทุนหมู่บ้าน 5) คณะกรรมการของกองทุนมีตำแหน่งอื่น ๆ ในหมู่บ้าน ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน และ 6) คณะกรรมการได้รับความกดดันจากสมาชิกผู้เป็นเครือญาติในการขอรับสิทธิพิเศษในการกู้มากกว่าสมาชิกทั่วไป 

แนวทางการจัดการกองทุนหมู่บ้าน คือ 1) คณะกรรมการควรประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้วยสื่อสังคมออนไลน์ 2) คณะกรรมการควรได้รับการอบรมจากกองทุนหมู่บ้านของระดับจังหวัด เช่น การทำบัญชี และทักษะคอมพิวเตอร์ 3) คณะกรรมการควรพยายามเข้าร่วมการประชุม และทำความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านให้ตรงกัน 4) คณะกรรมการควรสื่อสารกันมากยิ่งขึ้น 5) คณะกรรมการที่มีตำแหน่งอื่น ๆ ในชุมชน
ควรให้ความสำคัญกับการแบ่งเวลาให้สามารถดำเนินการกองทุนหมู่บ้านได้อย่างเต็มศักยภาพมากยิ่งขึ้น และ 6) คณะกรรมการควรปฏิบัติต่อสมาชิกของกองทุนหมู่บ้านอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

References

ชนะพงษ์ กล้ากสิกิจ. (2562). ประสิทธิผลการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 786-802.

ทองดี มิ่งขวัญ. (2551). ผลของการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ยินดี ชาญณรงค์, วราภรณ์ เทพสมัฤทธิ์พร และสมบูรณ์ สุขสำราญ. (2561). แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 4(2), 42-70.

ยุวดี ไชยเศรษฐ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กรณีศึกษา : กองทุนหมู่บ้านสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านท้องคุ้ง หมู่ที่ 4 ตำบลปากจั่น อำเภอนครหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วิชา อินทร์จันทร์. (2564). ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 150-70.

วิชุดา สร้อยสุด, เมธินี อินทร์บัว, จีรภา มิ่งเชื้อ, ยุวดี เคน้ำอ่าง, และโชติ บดีรัฐ. (2564). การจัดการทรัพยากรมนุษย์หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรยุคปัจจุบัน. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 340-350.

ศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ. (2558) .รายงานการศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2551). รู้จักกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. http://www.villagefund.or.th/

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสุพรรณบุรี. (2564). กองทุนหมู่บ้านคืออะไร?. https://district.cdd.go.th/muang-suphan/services

Deming, E. W. (1995). Out of the Crisis. USA: The Massachusetts Institute of Technology Center Advanced Engineering Study.

Dwitayanti, Y. (2019). The Impact of Village Fund Program Implementation Toward Society Welfare in Indonesia. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, 3(431), 114-119.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29