การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีของธนาคารแยกขยะประกันชีวิต ชุมชนคุณธรรม วัดโคนอนมหาสวัสดิ์ จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • เรวดี ศักดิ์ดุลยธรรม คณะเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี , ธนาคารแยกขยะ , ประกันชีวิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีของธนาคารแยกขยะประกันชีวิต ชุมชนคุณธรรม วัดโคนอนมหาสวัสดิ์ จังหวัดนนทบุรี ให้แก่คณะกรรมการโครงการฯ ที่สามารถจัดการข้อมูลสมาชิก ข้อมูลคลังขยะ ทำรายการรับซื้อและขายขยะของโครงการ รวมถึงเรียกดูรายงานรายรับรายจ่ายของโครงการได้อย่างถูกต้อง เริ่มจากศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานจากเอกสารการทำงานเดิมและสัมภาษณ์คณะกรรมการโครงการ เพื่อกำหนดความต้องการของระบบงานใหม่และจัดทำเป็นข้อกำหนดความต้องการด้านความสามารถของด้านซอฟต์แวร์ (SRS) ขึ้น โดยนำความต้องการดังกล่าวมาวิเคราะห์และออกแบบระบบงานใหม่ด้วยแผนภาพบริบท แผนภาพกระแสข้อมูล และออกแบบฐานข้อมูลด้วยแบบจำลองความสัมพันธ์ของเอนทีตี หลังจากนั้นนำสิ่งที่วิเคราะห์และออกแบบไว้มาพัฒนาเป็นระบบสารสนเทศทางการบัญชีของธนาคารแยกขยะประกันชีวิตโดยใช้โปรแกรม MS Access ซึ่งระบบดังกล่าวผ่านการประเมินความสามารถของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าระบบมีความสามารถที่เป็นไปตามข้อกำหนดความต้องการของระบบครบถ้วน และให้คณะกรรมการโครงการฯ จำนวน 3 คน ทดลองใช้ระบบสารสนเทศพร้อมประเมินความพึงพอใจ พบว่า มีความพึงพอใจในการใช้งานโดยรวม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 ซึ่งมีประเด็นด้านการนำไปใช้จริงที่มีผลการประเมินน้อยที่สุด เนื่องจากการออกแบบของหน้าจอที่รวมเมนูและข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในหน้าเดียวกันมากเกินไป ส่งผลให้ผู้ใช้เกิดการใช้งานยาก รวมถึงการพิสูจน์ตัวตนด้วยรหัสผ่านที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ดังนั้นในอนาคตควรออกแบบหน้าจอของระบบให้เอื้อต่อการเข้าใจขั้นตอนการดำเนินงาน และเพิ่มฟังก์ชันการเปลี่ยนรหัสผ่านและกำหนดรหัสผ่านให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น

References

กฤตย์ ใจน้อย. (2562). ออกแบบ UI (User Interface) ให้ใช้งานง่ายด้วย 10 Usability Heuristics. https://medium.com/upskill-ux/ออกแบบ-ui-ให้ใช้งานง่าย-ด้วย-10-usability-heuristics-upskill-ux-41d50c525f32

ณัฐที ปิ่นทอง. (2560). การพัฒนาระบบบริหารจัดการธนาคารขยะออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(6), 113-124.

นัฐพงศ์ ส่งเนียม.(2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการขยะสำหรับศูนย์เรียนรู้ การจัดการขยะแบบครบวงจร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 12(3), 506-521.

ปราศิยฉัตร บุญจวง. (2562). กองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิตกับการให้สวัสดิการชุมชนกรณีศึกษา : หมู่บ้านบะแค ที่ได้รับรางวัลซีโร่เวส (Zero Waste) อันดับที่ 1 ในเขตเทศบาลตำบลแวงใหญ่ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(2), 129-147.

ปิยะรักษ์ ประดับเพชรรัตน์, สุชาติ นวกวงษ์, สยาม อรุณศรีมรกต และ ไกรชาติ ตันตระการอาภา. (2553). ศักยภาพในการลดปริมาณขยะชุมชน จากโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 6(2), 54-66.

พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพของรายงานทางการเงินและประสิทธิภาพการตัดสินใจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทางเลือกเพื่อการลงทุน (เอ็ม เอ ไอ). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 59-74.

พัชราภรณ์ หงส์สิบสอง, ภัทธีรา ธุระยศ และ พสิษฐ์ กันละนนท์. (2564). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการข้อมูลธนาคารขยะ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนมหาโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน.วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(1), 73-86.

พิมลพรรณ ลีลาภัทรพันธุ์, อับดุลเลาะ บากา, ซันวานี จิใจ, แพรวศรี เดิมราช และสุลัยมาน เภอโส๊ะ. (2566). ระบบบริหารจัดการขยะออนไลน์. https://profile.yru.ac.th/storage/journals/ae7300caf5a9c797bd53c412f1862bc9.pdf

ไพลิน ตรงเมธีรัตน์. (2561). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี หลักการเบื้องต้นและกระบวนการธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มริษา สุดอุดม และภัทรา สวนโสกเชือก,(2566).ศึกษาเรื่องการพัฒนาแอปพลิเคชันธนาคารขยะเพื่อจัดการขยะชุมชน. PBRU Science Journal, 20(1), 34-47.

ศรีนวล ฟองมณี. (2557). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. เชียงราย: สำนักวิชาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2562). ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 34/2562 เรื่องมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ. https://www.tfac.or.th/upload/9414/ejsqUfCjZT.pdf

อภิญญา ดวงภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากร : กรณีศึกษาบริษัทผลิตไม้ยางพาราแปรรูปในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ACIS Professional Center. (2566). แนวคิดการระบุตัวตน การพิสูจน์ตัวตน และการให้สิทธิ์. https://www.acisonline.net/?p=9723

Isaias, P. & Issa, T. (2015). High level models and methodologies for information systems. Springer.

Nielsen, J. (2020). 10 Usability Heuristics for User Interface Design. https://www.nngroup.com/articles/ten-usability-heuristics/

Krishna, S. T., & Sreekanth, S. (2016). Confident Software Development Process Model. International Journal of Pharmacy & Technology, 8(3), 15939-15948.

Moores, K., & Yuen, S. (2001). Management accounting systems and organizational configuration: a life-cycle perspective. Accounting, Organizations and Society, 26(4), 351-389.

Phomlaphatrachakom, K. (2020). Accounting control system, accounting information quality, value creation and firm success: an empirical investigation of auto parts businesses in Thailand. International Journal of Business, 25(2), 159-177.

Radack, S. (2009). The System Development Life Cycle (SDLC), ITL Bulletin, National Institute of Standards and Technology, Gaithersburg, MD. https://tsapps.nist.gov/publication/get_pdf.cfm?pub_id=902622

Yodrach, W. (2015). Effectiveness of an Accounting Information System Affecting the Performance of Listed Companies in The Stock Exchange Thailand. Research Methodology & Cognitive Science, 12(2), 58-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27