ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันส่งอาหารเดลิเวอรี่ ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเขตหนองจอก

ผู้แต่ง

  • ทรงศักดิ์ วิจัยธรรมฤทธิ์ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
  • ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
  • ศศิธร ง้วนพันธ์ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
  • วรางคณา ตันสกุล คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมการตลาด , ความพึงพอใจ , ผู้ใช้บริการ, แอปพลิเคชันส่งอาหารเดลิเวอรี่่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันส่งอาหารเดลิเวอรี่ของผู้ใช้บริการเขตหนองจอก การวิจัยมีรูปแบบเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด จากการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธี Cochran ที่ระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 0.05 และใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 285 คน คิดเป็นร้อยละ 71.25 อายุระหว่าง 18 – 25 ปี จำนวน 310 คน คิดเป็นร้อยละ 77.50 และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันส่งอาหารเดลิเวอรี่ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เขตหนองจอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 – .034

References

กรวรรณ กฤตวรกาญจน์ และเสาวลักษณ์ ด้วงอิน. (2564). การเปรียบเทียบทัศนคติความพึงพอใจและที่ปัจจัย ที่มีผลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพบริการส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ระหว่าง Grab Food และ Food panda ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 9(2), 247-277.

จิราภรณ์ ชนัญชนะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าจากการใช้บริการขนส่งสินค้าในรูปแบบเดลิเวอรี่. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 3(3), 158-166.

ณัฐพล มอญเพชร์. (2565). การเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจต่อ บริษัท ขนส่งพัสดุแห่ง และเทศไทยของกลุ่มผู้ใช้บริการเจเนอร์เรชั่นวาย. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 6(1), 24-39.

ปุณณดา จิตรักญาติ และชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการการ ตระหนักรู้ในตราสินค้ากับความพึงพอใจด้านราคาขนส่งพัสดุบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส จำกัด ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia, 26(3), 35-55.

ปุณยวีร์ วีระพงษ์. (2565). คุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ และ ความภัคดีของผู้ใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันกรณีศึกษา Grab Food. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4581

วัชรี โทสาลี. (2564). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อการให้บริการ สั่งซื้อสินค้า อุปโภค บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ เดลิเวอรี่ [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4082

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 7). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฮูดา แวหะยี. (2563). การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการ สาธารณสุขชุมชน, 6(4), 158-168.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. John Wiley & Sons, Inc.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control (9th Ed.). Prentice Hall.

Kolter, Phillip. (2003). Marketing Management (11th ed.). Prentice-Hall.

Magrath. (1986). When marketing services, 4Ps are not enough. Business Horizons, 29(3),

-55.

Miles, J., & Shevlin, M. (2001). Applying Regression and Correlation: A Guide for Students and Researchers. Sage.

Zeithaml, V. A., Berry, L. L., & Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequences of servicequality. Journal of Marketing, 60, 31-46. http://dx.doi.org/10.2307/1251929

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30