การบริหารจัดการคิวแบบเรียลไทม์บนหลักความเสมอภาค เพื่อลดระยะเวลาการรอคอยโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ จันทิมา คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • เจษฎา โพธิ์จันทร์ คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

Time Management, Reduction of Waiting time, Mathematical Model

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์การบริหารจัดการคิวแบบเรียลไทม์บนหลักความเสมอภาคในการลดระยะเวลาการรอคอยของผู้ใช้บริการ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการคิวแบบเรียลไทม์บนหลักความเสมอภาคในการลดระยะเวลาการรอคอยของผู้ใช้บริการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีเดิม (จับบัตรคิวใหม่ในวันใช้บริการ/กรณีแบบมาก่อนได้ก่อน) และกรณีใหม่ (ตามบัตรคิวนัด/กรณีแบบเรียลไทม์บนหลักความเสมอภาค) ซึ่งทางผู้วิจัยได้นำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์ระยะเวลาการรอคอยของทั้งสองกรณีด้วยเครื่องมือ VBA ใน Microsoft  Excel

ผลการศึกษาพบว่า การจัดคิวตารางนัดหมายตามบัตรคิวนัด หรือกรณีแบบเรียลไทม์บนหลักความเสมอภาค (กรณีใหม่) จะมีระยะเวลาในการรอคอยที่น้อยที่สุด ซึ่งสามารถช่วยลดระยะเวลาการรอคอยได้มากถึงร้อยละ 95.3 จึงทำให้ผู้ที่เข้ามารับการบริการไม่ต้องรอคิวนาน อีกทั้งยังสามารถลดการแออัดในพื้นที่จากการรอคิวที่ยาวนานได้อีกด้วย นอกจากนี้การบริหารจัดคิวยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายงาน เช่น การบริหารจัดการคิวในร้านอาหาร การจัดตารางการเดินทาง การจัดตารางคิวตรวจล่วงหน้า เป็นต้น รวมถึงยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาต่อยอดเป็นรูปแบบแอปพลิเคชัน เพื่อช่วยอำนวย
ความสะดวก และความรวดเร็วในการดำเนินงานในอนาคตอีกด้วย

References

ธัญกร เอี้ยวซิโป และวิไลลักษณ์ เลิศเมธากุล. (2560). การพัฒนาระบบคิว งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทุ่งหว้า. สืบค้นจาก http://km.stno.moph.go.th/media/r2r/การพัฒนาระบบคิว%20งานผู้ป่วยนอก%20โรงพยาบาลทุ่งหว้า%20ธัญกร%20เอี้ยวซิโป_2017_12_19/R2Rการพัฒนาระบบคิว%20งานผู้ป่วยนอก%20โรงพยาบาลทุ่งหว้า.pdf

สมจิตต์ ลิขิตถาวร. (2550). โครงสร้างข้อมูลและการวิเคราะห์อัลกอริทึมด้วยซี Data structures and algorithm analysis in C. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สฬุดี กิตติวรเวช, สมใจ พทุธาพิทักษ์ผล และเพชรมณี วิริยะสืบพงศ์. (2555). การพัฒนาระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้างานผู้ป่วยนอกศูนย์สุขภาพ สังกัดวิทยาลัยแพทย์และการสาธารณสุขมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14(1), 1-9.

Bartsch, T., Drexl, A., & Kroger, S. (2006). Scheduling the professional soccer leagues of Austria and Germany. Computers & Operations Research, 33(7), 1907-1937.

Blum, C., & Roli, A. (2003). Metaheuristics in combinatorial optimization: Overview and conceptual comparison. ACM Computing Surveys, 35(3), 268-308.

Cacchiani, V., & Toth, P. (2012). Nominal and robust train timetabling problems. European Journal of Operational Research, 219(3), 727-737.

Daskalaki, S., Birbas, T., & Housos, E. (2004). An integer programming formulation for a case study in university timetabling. European Journal of Operational Research, 153(1), 117-135.

Hicks, C., & Pongcharoen, P. (2006). Dispatching rules for production scheduling in the capital goods industry. International Journal of Production Economics, 104(1), 154-163.

Lewis, R. (2008). A survey of metaheuristic-based techniques for University Timetabling problems. OR Spectrum, 30(1), 167-190.

Meisels, A., & Schaerf, A. (2003). Modelling and solving employee timetabling problems. Annals of Mathematics and Artificial Intelligence, 39(1-2), 41-59.

Meyers, C., & Orlin, J. B. (2007). Very Large-Scale Neighborhood Search Techniques in Timetabling Problems. In Burke, E.K., Rudová, H. (eds) Practice and Theory of Automated Timetabling VI. PATAT 2006. Lecture Notes in Computer Science, 3867. Berlin, Heidelberg: Springer.

Pongcharoen, P., Promtet, W., Yenradee, P., & Hicks, C. (2008). Stochastic optimization timetabling tool for university course scheduling. International Journal of Production Economics, 112(2), 903-918.

Rossi-Doria, O., Sampels, M., Birattari, M., Chiarandini, M., Dorigo, M., Gambardella, L. M., Knowles, J., Manfrin, M., Mastrolilli, M., Paechter, B., Paquete, L., & Stützle, T. (2003). A Comparison of the Performance of Different Metaheuristics on the Timetabling Problem. In Burke, E., De Causmaecker, P. (eds) Practice and Theory of Automated Timetabling IV. PATAT 2002. Lecture Notes in Computer Science, 2740, Berlin, Heidelberg: Springer.

Socha, K., Sampels, M., & Manfrin, M. (2003). Ant Algorithms for the University Course Timetabling Problem with Regard to the State-of-the-Art. In Cagnoni, S., et al. Applications of Evolutionary Computing. EvoWorkshops 2003. Lecture Notes in Computer Science, 2611, Berlin, Heidelberg: Springer.

Talbi, E.G. (2009). Metaheuristics: From Design to Implementation. New York: Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31

How to Cite

จันทิมา ส., & โพธิ์จันทร์ เ. (2023). การบริหารจัดการคิวแบบเรียลไทม์บนหลักความเสมอภาค เพื่อลดระยะเวลาการรอคอยโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 5(2), 84–98. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/prn/article/view/267615